หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 5 | |
![]() | |
ชายา | หม่อมเจ้าทรงอัปสร รพีพัฒน์ |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ |
พระมารดา | หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา |
ประสูติ | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2449 |
สิ้นชีพิตักษัย | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 (78 ปี) |
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2449 – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
พระประวัติ[แก้]
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา (ธิดาของพระยาสุพรรณพิจิตร (โต) กับหม่อมราชวงศ์สำอาง (ธิดาหม่อมเจ้าหนู เสนีวงศ์)) มีโสทรภราดาและโสทรภคินี 10 องค์ และมีขนิษฐาต่างพระมารดา 2 องค์
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทรงอัปสร รพีพัฒน์ ท.จ.ว. (ราชสกุลเดิม กิติยากร; พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร) มีโอรสเพียงคนเดียว คือ หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ (22 มกราคม พ.ศ. 2476 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561)
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 สิริชันษา 78 ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1]
ราชตระกูล[แก้]
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ |
พระบิดา: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ |
พระอัยกา: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระปัยกา: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระปัยยิกา: สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี | |||
พระอัยยิกา: เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5 |
พระปัยกา: พระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต) | ||
พระปัยยิกา: อิ่ม | |||
พระมารดา: หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา |
พระอัยกา: พระยาสุพรรณพิจิตร (โต) |
พระปัยกา: ไม่มีข้อมูล | |
พระปัยยิกา: ไม่มีข้อมูล | |||
พระอัยยิกา: หม่อมราชวงศ์สำอาง |
พระปัยกา: หม่อมเจ้าหนู เสนีวงศ์ | ||
พระปัยยิกา: ไม่มีข้อมูล |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2510 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)[2]
- พ.ศ. 2498 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2505 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ เล่ม 102 ตอนที่ 118 วันที่ 3 พฤษภาคม 2528
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 84 ตอนที่ 41 วันที่ 10 พฤษภาคม 2510