ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล
ท.ม., ต.ช., ต.จ.
ประสูติ11 ตุลาคม พ.ศ. 2478
สิ้นชีพตักษัย27 สิงหาคม พ.ศ. 2538 (59 ปี)
หม่อมภรณ์พัชร ธรรมเสน
วาสนา ฐวลางกุล
ชลาศัย ขวัญฐิติ
พระบุตรหม่อมราชวงศ์นิภานพดารา ยุคล
หม่อมราชวงศ์จุลรังษี ยุคล
หม่อมราชวงศ์สุทธิพัฒน์ ยุคล
ราชสกุลยุคล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
พระมารดาหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล (11 ตุลาคม พ.ศ. 2478 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2538) หรือ ท่านชายกบ เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

พระประวัติ

[แก้]

หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล ประสูติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2478 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) มีโสทรภคินีสององค์ คือ ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (ประสูติ 24 กันยายน พ.ศ. 2476) และคุณหญิงรังษีนภดล ยุคล (2 ตุลาคม พ.ศ. 2480 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)

หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ เสกสมรสกับภรณ์พัชร ธรรมเสน (นามเดิม อุ่นเรือน), วาสนา ฐวลางกุล (สกุลเดิม ไฝเครือ) และชลาศัย ขวัญฐิติ (นามเดิม นิภาพร รอดอ่อน) มีโอรสและธิดา คือ

ในปี พ.ศ. 2537 ได้เสกสมรสกับหม่อมชลาศัย ยุคล ณ อยุธยา หรือหม่อมลูกปลา และกลายมาเป็นที่รู้จักโดยทั่วของสังคม ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการพลิกชีวิตของหม่อมชลาศัย จนได้เธอถูกเปรียบเทียบว่าเป็น "ซินเดอเรลลาเมืองไทย" แต่สาเหตุแห่งการแต่งงานครั้งนี้ชลาศัยได้ออกมาพูดว่า "ท่านกบต้องการเอาชนะตนโดยไม่ให้ตนหนีเที่ยวอีก ส่วนตนก็เพื่อต้องการเอาชนะหม่อมคนอื่น ๆ ที่คอยว่าตน และการแต่งงานครั้งนี้ก็ไม่ได้มาจากความรักเลย" ท่ามกลางความรู้สึกไม่รักมาแต่เดิม[1]

หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล สิ้นชีพตักษัย ขณะทรงวิทยุสื่อสาร (ทรงเป็นนักวิทยุสมัครเล่น) เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2538 โดยทรงถูกวางยาพิษในกาแฟ[2] โดยที่หม่อมชลาศัยถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นผู้วางยาพิษในกาแฟ สังหารร่วมกับอุเทศ ชุปวา จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่าหม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ได้เสวยกาแฟที่มีการผสมยาฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บอเมท โดยวันนั้นชลาศัยอยู่ในที่เกิดเหตุ แต่ได้ปฏิเสธการรู้เห็นในเรื่องนี้ และอุเทศถูกจับในข้อหาบุกรุกเคหะสถานในยามวิกาล ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ให้หม่อมชลาศัยจำคุก 7 ปี แต่ลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 4 ปี 8 เดือน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กระปุก.คอม. 17 ปี หม่อมลูกปลา ในคดีฆ่าท่านกบ หม่อมเจ้าฐิติพันธ์. เรียกดูเมื่อ 20 สิงหาคม 2555
  2. หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล สิ้นชีพิตักษัย[ลิงก์เสีย]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย สำนักพระราชวัง เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗), เล่ม ๑๑๑, ตอน ๒๑ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗, หน้า ๑๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน่วยงานอิสระ สำนักพระราชวัง) , เล่ม ๑๐๖, ตอน ๒๑๔ ข , ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒, หน้า ๑
  5. เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)