ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กและชาวเวนด์
ครองราชย์1202 – 1241
ก่อนหน้าคนุดที่ 6
ถัดไปอีริคที่ 4
พระมหากษัตริย์พระองค์น้อยวัลเดมาร์ยุวกษัตริย์ 1218-1231
อีริคที่ 4 1231-1241
พระราชสมภพ9 พฤษภาคม ค.ศ. 1170(1170-05-09)
รีเบ, คาบสมุทรจัตแลนด์, เดนมาร์ก
สวรรคต28 มีนาคม ค.ศ. 1241(1241-03-28) (70 ปี)
ปราสาทวอร์ดิงบอร์ก, วอร์ดิงบอร์ก, เดนมาร์ก
ฝังพระศพโบสถ์นักบุญเบ็นท์, ริงสเต็ด, เดนมาร์ก
คู่อภิเษกดักมาร์แห่งโบฮีเมีย
เบเรนกาเรียแห่งโปรตุเกส
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
วัลเดมาร์ แอสตริดเซน
ราชวงศ์แอสตริดเซน
พระราชบิดาพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาเจ้าหญิงโซเฟียแห่งมินสก์
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (9 เมษายน ค.ศ. 1170 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1241) มักทรงถูกเรียกว่า วัลเดมาร์ผู้ชนะ หรือ วัลเดมาร์ผู้พิชิต (Valdemar Sejr) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ตั้งแต่ค.ศ. 1202 จนกระทั่งสวรรคตในปีค.ศ. 1241 พระนามลำลองว่า "Sejr" (เซิร์จ) เป็นพระนามที่ถูกเรียกในภายหลังจากพระองค์สวรรคตไปแล้ว ซึ่ง Sejr ในภาษาเดนมาร์แปลว่า "ชัยชนะ"

ภูมิหลัง

[แก้]
พระราชลัญจกรกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2

พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์กและโซเฟียแห่งมินสก์ ซึ่งเป็นพระธิดาในเจ้าหญิงริเชซาแห่งโปแลนด์ สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งสวีเดนและโวโลดาร์ เกล็บโบวิช เจ้าชายแห่งมินสก์ เมื่อพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 พระราชบิดาสวรรคต เจ้าชายวัลเดมาร์ทรงมีพระชนมายุเพียง 12 พรรษา พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นดยุกแห่งจัตแลนด์ใต้ (ละติน: dux slesvicensis, ซึ่งก็คือ ดยุกแห่งดัชชีชเลสวิช[1]) โดยมีผู้สำเร็จราชการแทนองค์ดยุกคือ บิชอปวัลเดมาร์แห่งชเลสวิช โอรสนอกสมรสของพระเจ้าคนุตที่ 5 แห่งเดนมาร์ก

บิชอปวัลเดมาร์เป็นผู้ที่มีความทะเยอทะยานและทรงซ่อนเร้นความทะเยอทะยานโดยแสร้งกระทำการในฐานะดยุกวัลเดมาร์วัยเยาว์ เมื่อบิชอปวัลเดมาร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าชายมุขนายกแห่งเบรเมินในปีค.ศ. 1192 เขาวางแผนจะโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าคนุดที่ 6 แห่งเดนมาร์ก (พระเชษฐาของดยุกวัลเดมาร์) ด้วยความช่วยเหลือของขุนนางเยอรมัน เพื่อให้เขาเองขึ้นนั่งบัลลังก์เดนมาร์ก แต่แผนการถูกเปิดโปง

ดยุกวัลเดมาร์ทรงตระหนักถึงภัยอันตรายที่บิชอปวัลเดมาร์กระทำในนามพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงเชิญอาร์กบิชอปมาเข้าเฝ้าที่เมืองอาเบนรา ในปีค.ศ. 1192 แต่บิชอปได้หลบหนีไปยังนอร์เวย์เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม บิชอปวัลเดมาร์ได้จัดตั้งกองทัพและได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน ด้วยเรือ 35 ลำ และเข้าจู่โจมชายฝั่งเดนมาร์ก เพื่อทวงสิทธิในราชบัลลังก์เดนมาร์ก โดยในฐานะพระโอรสของพระเจ้าคนุดที่ 5 ในปีค.ศ. 1193 ฝ่ายเดนมาร์กชนะ พระเจ้าคนุดที่ 6 สามารถจับกุมเขาได้ บิชอปวัลเดมาร์ถูกคุมขังในนอร์ดบอร์ก ช่วงปีค.ศ. 1193-1198 และจากนั้นย้ายไปที่หอคอยของปราสาทซอบอร์กบนเกาะเชลลันด์ จนถึงค.ศ. 1206 ภายหลังเขาถูกปล่อยตัวจากคำขอร้องของดักมาร์แห่งโบฮีเมีย (พระชายาในดยุกวัลเดมาร์) และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 หลังจากเขาสาบานว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการของเดนมาร์กอีก[2]

ดยุกวัลเดมาร์ทรงเผชิญภัยคุกคามจากอดอล์ฟที่ 3 เคานท์แห่งชอนบวร์กและฮ็อลชไตน์ เคานท์คนนี้พยายามกระตุ้นให้เคานท์ชาวเยอรมันคนอื่นๆยึดครองจัตแลนด์ใต้จากเดนมาร์ก เพื่อช่วยเหลือแผนการของบิชอปวัลเดมาร์ในการยึดราชบัลลังก์เดนมาร์ก บิชอปวัลเดมาร์จึงถูกจับคุมขังอีกครั้ง ดยุกวัลเดมาร์จึงพยายามจัดการกับเคานท์อดอล์ฟ ด้วยกองทัพของพระองค์ พระองค์เคลื่อนพลไปทางใต้และยึดป้อมทหารของอดอล์ฟที่เรนส์บวร์ก พระองค์ได้รับชัยชนะและจับกุมเคานท์อดอล์ฟได้ในยุทธการที่สเตลเลา ในปีค.ศ. 1201 และขังคุกเขาข้างคุกของบิชอปวัลเดมาร์ เขาป่วยในสองปีต่อมา จึงพยายามหาทางออกจากคุกโดยยกดินแดนดัชชีชเลสวิชทางตอนเหนือของแม่น้ำเอ็ลเบอให้แก่ดยุกวัลเดมาร์ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1202 พระเชษฐาของดยุกวัลเดมาร์ พระเจ้าคนุดที่ 6 สวรรคตอย่างไม่คาดคิดด้วยพระชนมายุ 40 พรรษา โดยไร้ทายาท

รัชกาล

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHans Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
ราชอาณาจักรเดนมาร์กในรัชสมัยกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2

ดยุกวัลเดมาร์ได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์โดยสภาจัตแลนด์ ในช่วงนั้นเพื่อนบ้านอย่างจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตกอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง ระหว่างผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์สองคน คือ จักรพรรดิอ็อทโทที่ 4 จากตระกูลเวล์ฟ และกษัตริย์ฟิลิปแห่งชวาเบินจากราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 นั้นเป็นพันธมิตรกับจักรพรรดิอ็อทโทและต่อต้านฟิลิป

ในปีค.ศ. 1203 กษัตริย์วัลเดมาร์ยกทัพยึดครองมุขมณฑลลือแบร์กและดัชชีฮ็อลชไตน์ ให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก ในปีค.ศ. 1204 พระองค์พยายามเข้าไปมีอิทธิพลในการสืบราชบัลลังก์นอร์เวย์โดยการส่งกองทัพเรือและกองทัพบกไปยังวีเกินในนอร์เวย์เพื่อสนับสนุนเออร์ลิง สไตน์เว็ก ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์นอร์เวย์ ทำให้เกิดสงครามบาเกอร์ครั้งที่สองซึ่งจะสิ้นสุดในปีค.ศ. 1208 แต่ปัญหาการสืบราชบัลลังก์นอร์เวย์ได้ยุติลงชั่วคราวเนื่องจากพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ยินยอมจะถวายการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก

ในปีค.ศ. 1207 คณะบาทหลวงส่วนใหญ่ของเบรเมิน ได้เลือกบิชอปวัลเดมาร์เป็นเจ้าชายมุขนายกอีกครั้ง ในขณะที่พระคณะส่วนน้อยที่นำโดยพระครูบรูก์ฮาร์ด เคานท์แห่งสตัมเปนเฮาเซน ได้หลบหนีไปยังฮัมบูร์ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตมุขมณฑลของเบรเมินและมีการเลือกตั้งแข่งขันกันว่าใครจะเป็นผู้นำหลักของเบรเมิน กษัตริย์ฟิลิปแห่งชวาเบินรับรองให้บิชอปวัลเดมาร์เป็นเจ้าชายมุขนายกแห่งเบรเมิน เนื่องจากเขาเป็นศัตรูกับกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2

กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 และเหล่าคณะบาทหลวงเบรเมินเสียงข้างน้อยที่หลบหนีได้ยื่นจดหมายประท้วงไปยังสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ซึ่งพระองค์ได้สั่งการให้ตรวจสอบเรื่องนี้ เมื่อบิชอปวัลเดมาร์เดินทางออกจากโรมกลับไปยังเบรเมินเป็นการขัดขืนคำสั่งของสมเด็จพระสันตะปาปาที่ทรงให้เขาอยู่รอคำสั่ง พระองค์จึงขับไล่เขาออกจากศาสนา ถึงที่สุดในปีค.ศ. 1208 ทรงโปรดให้ปลดเขาออกจากตำแหน่งบิชอปแห่งชเลสวิก ในปีค.ศ. 1208 บรูก์ฮาร์ด เคานท์แห่งสตัมเปนเฮาเซน ได้รับการแต่งตั้งโดยเหล่าพระครูเบรเมินเสียงข้างน้อยที่หลบหนีให้ดำรงเป็นผู้อ้างสิทธิในเจ้าชายมุขนายกและกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงละเมิดสิทธิของจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยแต่งตั้งบรูก์ฮาร์ดแทนและให้เขาทรงเครื่องกกุธภัณฑ์ แต่ก็มีผลการปกครองมุขมณฑลเพัยงแค่ทางตอนเหนือของแม่น้ำเอลเบเท่านั้น ในปีค.ศ. 1209 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงยินยอมให้มีการแต่งตั้งนิโคลัสที่ 1 ให้เป็นบิชอปแห่งชเลสวิกแทนบิชอปวัลเดมาร์ นิโคลัสเป็นคนสนิทและเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์วัลเดมาร์ ในปีค.ศ. 1214 กษัตริย์วัลเดมาร์จึงทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งบิชอปนิโคลัสที่ 1 เป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งเดนมาร์ก สืบต่อจากเปเดร ซูเนอเซน บิชอปแห่งรอสคิลด์

ในปีเดียวกัน กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 พร้อมกองทัพเดนมาร์กบุกโจมตีมุขมณฑลทางตอนใต้ของแม้น้ำเอลเบ และยึดเมืองสเตด ในเดือนสิงหาคม เจ้าชายมุขนายกวัลเดมาร์ได้ยึดเมืองนี้คืนอีกครั้งหลังจากเสียเมืองไปไม่นาน กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงก่อสร้างสะพานเอลเบขึ้นมาและเพื่อมุ่งหน้าเข้าโจมตีฮาร์บูร์ก ในปีค.ศ. 1209 จักรพรรดิอ็อทโทที่ 4 ทรงเกลี้ยกล่อมให้กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ถอยทัพกลับไปยังตอนเหนือของแม่น้ำเอลเบ จากนั้นกระตุ้นให้บูร์กฮาร์ดลาออกจากตำแหน่ง พร้อมขับไล่เจ้าชายมุขนายกวัลเดมาร์

ในปีค.ศ. 1210 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงแต่งตั้งเกอร์ฮาร์ดที่ 1 เคานท์แห่งอ็อลเดนบูร์ก-ไวล์ดเชาเซน ให้ดำรงเป็นเจ้าชายมุขนายกแห่งเบรเมินคนใหม่ ในปีค.ศ. 1211 ดยุกแแบร์นฮาร์ดที่ 3 แห่งดัชชีซัคเซิน ได้ติดตามบิชอปวัลเดมาร์ พี่เขยของพระองค์ ซึ่งถูกพระสันตะปาปาปลด กลับเข้าไปยังเมืองเบรเมิน ยึดอำนาจโดยพฤตินัยจากสมเด็จพระสันตะปาปา และพวกเขาหันไปสนับสนุนจักรพรรดิอ็อทโทที่ 4 ทันทีทันใด เนื่องจากพระองค์กำลังมีเรื่องมีราวกับสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ในกรณีซิชิลี ด้วยเหตุนี้กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 จึงยึดครองเมืองเตดอีกครั้ง ในขณะที่ปีค.ศ. 1213 ไฮน์ริชที่ 5 เคานต์พาลาไทน์แห่งไรน์ ได้ยึดครองเมืองนี้คืนให้เจ้าชายมุขนายกวัลเดมาร์

ในปีค.ศ. 1213 กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงเรียกเก็บภาษีสงครามในนอร์เวย์ และเกิดเรื่องราวที่ชาวนอร์เวย์สังหารเจ้าหน้าที่เก็บภาษีของกษัตริย์วัลเดมาร์ที่สภาเทรินเดลากและก่อการกบฏ การลุกฮือขยายตัวไปทั่วนอร์เวย์

ในปีค.ศ. 1216 กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 และกองทัพเดนมาร์ทำลายล้างแคว้นสเตดและเข้ายึดครองฮัมบูร์ก สองปีถัดมากษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 และเกอร์ฮาร์ที่ 1 เป็นพันธมิตรกันเข้าขับไล่ไฮน์ริชที่ 5 กับจักรพรรดิอ็อทโทที่ 4 จากดินแดนมุขมณฑล ในที่สุดเจ้าชายมุขนายกวัลเดมาร์ก็ประกาศลาออกและเข้าสู่อาราม กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 สนับสนุนจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และทรงได้รับรางวัลจากจักรพรรดิ โดยการยอมรับสิทธิของเดนมาร์กในการปกครองชเลสวิกและฮ็อลชไตน์ ดินแดนทั้งหมดของชาวเวนด์และดัชชีพอเมอเรเนีย

ยุทธการลินดานีส

[แก้]
ธงแดนเนอบรอกล่องลอยลงมาจากท้องฟ้าในยุทธการลินดานีส
วาดโดยคริสเตียน ออกุสต์ ลอเร็นท์เซน วาดปีค.ศ. 1809

อัศวินทิวทอนิกซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนให้ผู้คนแถบทะเลบอลติกฝั่งตะวันออกให้มานับถือศาสนาคริสต์ ในปีค.ศ. 1219 พวกเขาดำเนินการอย่างยากลำบากและกดดัน จึงทูลขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงยกระดับสงครามของกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ให้เป็นสงครามครูเสด กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงระดมกองทัพและรวมกองเรือทั้งหมดเพื่อส่งกองทัพไปสู้รบทางตะวันออก มีเรือรวมกันถึง 1,500 ลำ

เมื่อกองทัพขึ้นฝั่งที่เอสโตเนียบริเวณใกล้เมืองทาลลินน์ในปัจจุบัน หัวหน้าเผ่าเอสโตเนียยอมสยบต่อกองทัพเดนมาร์กและยอมรับกษัตริย์เดนมาร์กเป็นผู้นำสูงสุด มีชนต่างศาสนาบางคนยอมรับการบัพติศมาในศาสนาใหม่ซึ่งเป็นสัญญาณอันดี 3 วันถัดมาคือวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1219 ในขณะที่ชาวเดนส์ทำพิธีมิสซา ชาวเอสโตเนียหลายพันคนบุกเข้ามาในค่ายของชาวเดนส์ ความสับสนนี้การเป็นสิ่งที่เลวร้ายสำหรับกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 โชคดีที่ วิตสลาฟที่ 1 เจ้าชายแห่งรือเงิน นำทหารของเขาในค่ายที่สองเข้าโจมตีชาวเอสโตเนียจากข้างหลัง

ตามตำนานในระหว่างยุทธการลินดานีสว่ากันว่าบิชอปซูเนเซนยกแขนของเขาขึ้นมาข้างหน้าเพื่อให้ชาวเดนส์ยกทัพไปข้างหน้า แต่เมื่อเขาเริ่มเมื่อยล้าและแขนตกลงมาพวกชาวเอสโตเนียเข้าตีชาวเดนส์จากข้างหลัง เมื่อผู้เข้าร่วมเคลื่อนไปข้างหน้าและบิชอปยกมืออีกครั้ง ชาวเดนส์ก็บุกไปข้างหน้าต่อ ในช่วงที่การต่อสู้ดุเดือดนั้นบิชอปซูเนเซนสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้าและปรากฏผ้าผืนแดงที่มีกากบาทสีขาวล่องลอยลงมาจากท้องฟ้าในช่วงที่ชาวเดนส์กำลังจะถอยทัพ มีเสียงพูดเข้ามาว่า "ถ้าธงผืนนี้ถูกชูขึ้น พวกเจ้าจักได้รับชัยชนะ!"[3] ชาวเดนส์ลุกขึ้นสู้และได้รับชัยชนะในสมรภูมิ เมื่อสิ้นสุดวันนั้น ชาวเอสโตเนียนอนตายเกลื่อนทุ่งสนามรบ และจากนั้นเอสโตเนียก็ถูกรวมเข้าในอาณาจักรเดนมาร์ก เอสโตเนียถูกบังคับให้เข้ารีตเป็นชาวคริสต์ แต่จากงานศึกษาเชิงลึกในลีเบอร์ เซนซัส ดาแนร์ ของนักประวัติศาสตร์ เอ็ดการ์ ซัคส์ ระบุว่า ชาวเอสโตเนียสมัครใจที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์

กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงให้สร้างป้อมปราการใหญ่ที่รีวัลบริเวณใกล้สมรภูมิ[4] ในที่สุดเมืองก็เติบโตรอบปราสาทและกลายเป็นเมืองทาลลินน์ ภาษาเอสโตเนียแปลว่า "เมือง/ปราสาทเดนมาร์ก" ธงแดงกากบาทขาว (ธงแดนเนอบรอก) กลายเป็นธงชาติตั้งแต่ค.ศ. 1219 และกลายเป็นธงชาติที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปที่ยังใช้มาจนปัจจุบัน

ยุทธการบอร์นเฮอเว็ด

[แก้]

ในปีค.ศ. 1223 กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 และพระราชโอรสองค์โต คือ เจ้าชายวัลเดมาร์ ทรงถูกลักพาตัวโดยไฮน์ริชที่ 1 เคานท์แห่งชเวรีน ขณะทรงล่าสัตว์อยู่ที่เกาะเลิร์ท ใกล้เกาะฟึน[5] เคานท์ไฮน์ริชเรียกร้องให้ยอมคืนดินแดนฮ็อลชไตน์ที่ยึดครองมากว่า 20 ปี และให้ยอมเป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ คณะผู้แทนเดนมาร์กปฏิเสธข้อเรียกร้องนี้และประกาศสงคราม ในช่วงที่กษัตริย์วัลเดมาร์ถูกคุมขัง ดินแดนเยอรมันทั้งหลายก็แยกตัวออกจากเดนมาร์ก กองทัพเดนมาร์กต้องถูกส่งไปยึดดินแดนคืน สงครามสิ้นสุดด้วยความพ่ายแพ้ของเดนมาร์กซึ่งพ่ายแพ้ต่อกองทัพที่บัญชาการโดยอัลแบร์ชที่ 2 แห่งออร์ลามุนด์ ซึ่งพ่ายแพ้ที่เมืองมืนล์ในปีค.ศ. 1225[5] เพื่อให้ได้ปล่อยตัวกษัตริย์วัลเดมาร์ เดนมาร์กต้องยอมรับให้ดินแดนที่แยกตัวให้เข้ากับเยอรมัน และต้องจ่ายเงิน 44,000 มาร์ก รวมถึงลงนามสัญญาว่าจะไม่แก้แค้นเคานท์ไฮน์ริชที่ลักพาตัวพระองค์ไป

กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงยื่นอุทธรณ์ไปยังสมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 เพื่อให้พระองค์อนุญาตให้คำสัญญาเป็นโมฆะ สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงยอมให้คำสัญญาเป็นโมฆะ และกษัตริย์ทรงพยายาามเรียกร้องดินแดนเยอรมันคืนในทันที[5] กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงทำสนธิสัญญากับพระนัดดาคือ อ็อทโทที่ 1 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คและมุ่งหน้าไปทางใต้เพื่อยึดดินแดนที่ทรงมองว่าเป็นสิทธิของพระองค์ แต่พระองค์ก็ไม่ทรงโชคดีเท่าไร กองทัพเดนมาร์กพ่ายแพ้ในยุทธการบอร์นเฮอเว็ดในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1227 เป็นตัวปิดฉากการเรียกร้องดินแดนทางภาคเหนือของเยอรมัน[5] กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงหลบหนีมาได้ด้วยการกระทำอย่างวิถีอัศวินของอัศวินเยอรมันซึ่งนำพากษัตริย์หลบหนีโดยม้าอย่างปลอดภัย

ประมวลกฎหมายจัตแลนด์

[แก้]
ก่อนการรับรองประมวลกฎหมายเดนมาร์ก แต่ละดินแดนของเดนมาร์กมีกฎหมายของตัวเอง ยกเวนแถบอูทลันเดอ (สีม่วง) ที่ใช้ประมวลกฎหมายฟรีเชีย

หลังจากนั้นเป็นต้นมากษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงมุ่งเน้นกิจการภายในประเทศ หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสมัยพระองค์คือระบบศักดินา ซึ่งพระองค์ทรงมอบทรัพย์สินแก่ผู้คนโดยความเข้าใจว่าคนเหล่านั้นต้องรับใช้พระองค์ตอบแทน สิ่งนี้เป็นการเพิ่มอำนาจของตระกูลขุนนาง (เฮอจาเดเลน) และก่อให้เกิดขุนนางชั้นผู้น้อย (ลาวาเดเลน) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเดนมาร์กเกือบทั้งหมด ชาวนาอิสระสูญเสียสิทธิดั้งเดิมและสิทธิพิเศษที่พวกเขาได้รับมาตั้งแต่สมัยไวกิง[6]

กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงใช้เวลาที่เหลือในการรวมประมวลกฎหมายของคาบสมุทรจัตแลนด์ เกาะเชลลันด์และสกัวเนอ ประมวลกฎหมายนี้ถูกบังคับใช้จนถึงปีค.ศ. 1683 นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของกฎหมายท้องถิ่นซึ่งเกิดจากสภาของแคว้น ซึ่งใช้เป็นประเพณีมาอย่างยาวนาน หลายวิธีที่ใช้ตัดสินว่าใครเป็นผู้กระทำผิดหรือผู้บริสุทธิ์นั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เช่น การพิจารณาคดีด้วยความเจ็บปวดหรือการพิจารณาคดีด้วยการต่อสู้ ประมวลกฎหมายจัตแลนด์ได้รับการรับรองจากการประชุมขุนนางที่ปราสาทวอร์ดิงบอร์ก ในปีค.ศ. 1241 ซึ่งก่อนการสวรรคตของพระองค์

กษัตริย์วัลเดมาร์สวรรคตในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1241 สิริพระชนมายุ 70 พรรษา พระองค์ถูกฝังพระบรมศพเคียงข้างพระมเหสีพระองค์แรก คือ สมเด็จพระราชินีดักมาร์ที่เมืองริงสเต็ด ในเชลลันด์

การอภิเษกสมรส

[แก้]

ก่อนการอภิเษกสมรส วัลเดมาร์ทรงหมั้นกับรีเชซาแห่งบาวาเรีย ธิดาในดยุกแห่งแซกโซนี เมื่อการแต่งงานไม่เกิดขึ้น พระองค์ได้อภิเษกสมรสครั้งแรกกับเจ้าหญิงดักมาร์แห่งโบฮีเมีย หรือทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม มาร์เคตาแห่งโบฮีเมีย ในปีค.ศ. 1205 พระนางเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 1 แห่งโบฮีเมียที่ประสูติแต่พระมเหสีองค์แรกคือ อเดเลดแห่งเมสเซน และพระนางดักมาร์ก็เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนชาวเดนส์ การอภิเษกสมรสครั้งนี้ทรงมีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์คือ วัลเดมาร์ยุวกษัตริย์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ร่วมที่ชเลสวิกในปีค.ศ. 1218 ยุวกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงถูกยิงธนูใส่โดยอุบัติเหตุขณะล่าสัตว์ที่จัตแลนด์เหนือในปีค.ศ. 1231 สมเด็จพระราชินีดักมาร์สิ้นพระชนม์ขณะมีพระประสูติกาลพระโอรสองค์ที่สองในปีค.ศ. 1212 ตามเพลงบัลเลต์ของเพลงโบราณระบุว่า เมื่อพระนางกำลังจะสิ้นพระชนม์ พระนางทรงขอให้กษัตริย์วัลเดมาร์เสกสมรสกับเคิร์ชเทน บุตรีของคาร์ล ฟอน รีซ และไม่ให้เสกสมรสกับ "ดอกไม้งาม" อย่างเบเรนกาเรียแห่งโปรตุเกส (เบ็นเกิร์ด) เพราะพระนางทรงทำนายว่าเหล่าโอรสที่เกิดกับบาเรนกาเรียแห่งโปรตุเกสจะต่อสู้แย่งชิงบัลลังก์กัน

หลังจากพระราชินีดักมาร์สิ้นพระชนม์ เดนมาร์กต้องการสร้างสัมพันธ์อันดีกับแฟลนเดอส์ กษัตริย์วัลเดมาร์จึงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเบเรนกาเรียแห่งโปรตุเกสในปีค.ศ. 1214 พระนางทรงเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าซังชูที่ 1 แห่งโปรตุเกสกับด็อลซาแห่งอารากอน พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระนางสวรรคตตั้งแต่เจ้าหญิงยังทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงเบเรนเกเรียทรงเป็นพระขนิษฐาในเฟอร์ดินานด์ เคานท์แห่งแฟลนเดอส์ ซึ่งเจ้าหญิงไปประทับอยู่กับพระเชษฐาพระองค์นี้จนกระทั่งอภิเษกสมรส สมเด็จพระราชินีเบเรนกาเรียทรงพระสิริโฉมแต่ทรงเป็นคนพระทัยแข็ง จนทำให้เป็นที่เกลียดชังของชาวเดนมาร์กโดยทั่วไปจนกระทั่งพระนางสิ้นพระชนม์ขณะมีพระประสูติกาลในปีค.ศ. 1221 พระมเหสีทั้งสองของกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงเป็นตัวละครหลักในบัลลาดและคตินิยมของชาวเดนมาร์กที่ว่า ดักมาร์เป็นคนอ่อนโยน เคร่งศาสนาและเป็นภรรยาในอุดมคติ ส่วนเบเรนกาเรียนั้นงดงามแต่เป็นสตรีที่หยิ่งทระนง

พระโอรสธิดา

[แก้]

พระโอรสที่ประสูติแต่ดักมาร์แห่งโบฮีเมียมีดังนี้

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
วัลเดมาร์ยุวกษัตริย์ ค.ศ. 1209 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1231 อภิเษกสมรส 24 มิถุนายน ค.ศ. 1229 กับ
ลียูโนร์แห่งโปรตุเกส
ไม่มีพระโอรสธิดา
- พระโอรสตายคลอด ค.ศ. 1212 ค.ศ. 1212 สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ

พระโอรสธิดาที่ประสูติแต่เบเรนกาเรียแห่งโปรตุเกสมีดังนี้

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
พระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก ราว ค.ศ. 1216 10 สิงหาคม ค.ศ. 1250[7] อภิเษกสมรส 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1239 กับ
จัตตาแห่งแซกโซนี
มีพระโอรสธิดา 6 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงโซเฟีย สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
เจ้าชายคนุด
เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
เจ้าหญิงจัตตา
เจ้าชายคริสตอฟ
เจ้าหญิงอักเนส
- เจ้าหญิงโซฟี มาร์เกรฟวีนแห่งบรันเดนบูร์ก ค.ศ. 1217 ค.ศ. 1247[7] อภิเษกสมรส ค.ศ. 1230 กับ
โยฮันที่ 1 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก
มีพระโอรสธิดา 6 พระองค์ ได้แก่
โยฮันที่ 2 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก-สเตนดัล
อ็อทโทที่ 4 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก-สเตนดัล
ค็อนราด มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก-สเตนดัล
อีริคแห่งบรันเดนบูร์ก
เฮเลนเนอแห่งบรันเดนบูร์ก
เฮอร์มานน์แห่งบรันเดนบูร์ก
พระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์ก ค.ศ. 1218 29 มิถุนายน ค.ศ. 1252[7] อภิเษกสมรส 25 เมษายน ค.ศ. 1237 กับ
เมิร์ชทิลด์แห่งฮ็อลชไตน์
มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ ได้แก่
วัลเดมาร์ที่ 3 ดยุกแห่งชเลสวิก
เจ้าหญิงโซฟี
อีริคที่ 1 ดยุกแห่งชเลสวิก
อเบล ลอร์ดแห่งลังก์เอลันด์
พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ค.ศ. 1219 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1259[7] อภิเษกสมรส ค.ศ. 1248 กับ
มาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย
มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงเมิร์ชทิลด์
เจ้าหญิงมาร์เกรเธอ
พระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
- บุตรตายคลอด ค.ศ. 1221 ค.ศ. 1221 สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ

ทรงมีพระโอรสที่ประสูติแต่พระสนม เฮเลนา กุททอร์มสต็อทเทอร์ (สตรีตระกูลขุนนางชาวสวีเดนและเป็นภริยาของขุนนางเดนมาร์ก)[8] ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
- คนุต ดยุกแห่งเอสโตเนีย[8] ค.ศ. 1207 ค.ศ. 1260 มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
อีริค ดยุกแห่งฮัลลันด์
สวันเทโปล์กแห่งวีบี
ธิดาไม่ปรากฏนาม

ทรงมีพระโอรสที่ประสูติแต่พระสนมไม่ทราบนาม

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
- นีลส์ เคานท์แห่งฮัลลันด์ ไม่ปรากฏหลักฐาน ค.ศ. 1218 เสกสมรสกับโอดาแห่งชเวรีน
มีพระโอรส 1 พระองค์ ได้แก่
นีลส์ เคานท์แห่งฮัลลันด์เหนือ

พงศาวลี

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าอีริคที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. เจ้าชายคนุด ลาวาร์ด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9. บอเอดิล ธูร์ก็อตสแด็ทเทอร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10. มิสทิสลาฟที่ 1 แห่งเคียฟ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเคียฟ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงคริสตินา อิงเงอร์สด็อทเทอร์แห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
12. เกล็บ วเซสลาฟวิชแห่งมินสก์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. โวโลดาร์ เกล็บโบวิช เจ้าชายแห่งมินสก์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
13. อนาสตาเซีย ยาโรโปลคอฟนาแห่งทูรอฟและลุทส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. โซเฟียแห่งมินสก์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
14. บอเลสลอว์ที่ 3 วีร์มอนท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7. ริเชซาแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
15. ซาโลเมียแห่งเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]
  1. Esben Albrectsen, "Das Abel-Geschlecht und die Schauenburger als Herzöge von Schleswig", Marion Hartwig and Frauke Witte (trls.), in: Die Fürsten des Landes: Herzöge und Grafen von Schleswig, Holstein und Lauenburg [De slevigske hertuger; German], Carsten Porskrog Rasmussen (ed.) on behalf of the Gesellschaft für Schleswig-Holsteinische Geschichte, Neumünster: Wachholtz, 2008, pp. 52-71, here p. 52. ISBN 978-3-529-02606-5
  2. Hans Olrik, "Valdemar (Knudsen), 1158-1236, Biskop af Slesvig", in: Dansk biografisk leksikon, vol. XVIII: Ubbe - Wimpffen, pp. 193–197, here p. 195.
  3. Olsen, Peder.Slaget ved Lyndanise
  4. Huitfeldt, Arild. Danmarks Riges Krønike
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Petersen 2010, p. 160.
  6. Danmark Historie IIperbenny.dk
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Line 2007, p. 581.
  8. 8.0 8.1 Line 2007, p. 594.

แหล่งข้อมูล

[แก้]
  • Line, Philip (2007). Kingship and State Formation in Sweden: 1130 – 1290. Brill.
  • Hundahl, Kerstin (2014). "Placing Blame and Creating Legitimacy: The Implications of Rugish Involvement in the Struggle over the Succession amidst the Danish Church Strife c.1258–1260". ใน Hundahl, Kerstin; Kjær, Lars; Lund, Niels (บ.ก.). Denmark and Europe in the Middle Ages, c.1000–1525: Essays in Honour of Professor Michael H. Gelting. Ashgate Publishing.
  • Petersen, Leif Inge Ree (2010). "Battle of Bornhöved". ใน Rogers, Clifford J. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Medieval Warfare and Military Technology. Vol. 1. Oxford University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
พระเจ้าคนุดที่ 6
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ร่วมกับ
ยุวกษัตริย์วัลเดมาร์
(1218-1231)
พระเจ้าอีริคที่ 4
(1232-1241)

(ค.ศ. 1202 - ค.ศ. 1241)
พระเจ้าอีริคที่ 4