สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ
สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ (กรีก: Άννα-Μαρία Βασίλισσα των Ελλήνων อันนา มาเรีย, พระราชสมภพ: 30 สิงหาคม พ.ศ. 2489-) พระนามเมื่อแรกประสูติ เจ้าหญิงอันเนอ-มารี ดักมาร์ อิงกริดแห่งเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Princess Anne-Marie Dagmar Ingrid of Denmark) พระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ (หรือ สมเด็จพระราชินีแห่งเฮลเลนส์) ในช่วง 6 มีนาคม ค.ศ. 1964 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1973
ภายหลังได้มีการลงประชามติล้มเลิกการปกครองระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ[1] (เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองของกรีซ เรียกว่า Σύνταγμα Sýntagma) แต่ไรก็ตามแม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่พระองค์ยังสามารถดำรงพระอิสริยยศได้ตลอดพระชนม์ชีพ แต่ในพาสปอร์ตของพระองค์ พระองค์ได้ใช้พระนามเป็นสามัญชน ชื่อ นางอันนา-มาเรีย เด เกรเซีย (Anna-Maria de Grecia)
พระราชประวัติ[แก้]
สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ มีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงอันเนอ-มารี ดักมาร์ อิงกริดแห่งเดนมาร์ก พระราชสมภพเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1946 ณ พระราชวังอมาเลียนเบิร์ก กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก และสมเด็จพระราชินีอิงกริดแห่งเดนมาร์ก พระองค์มีพ่อและแม่ทูนหัว คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก, สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน, เจ้าชายเบร์ติล ดยุกแห่งฮัลลันด์, สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ และฝ่ายพระอัยยิกาได้แก่ อะเล็กซานดรินแห่งเมคเลินบวร์ค-เชควริน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงมาร์ธา มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์, มาเรียแห่งเท็ค, สมเด็จพระราชินีนาถจูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงดักมาร์แห่งเดนมาร์ก
พระองค์เป็นพระราชขนิษฐาในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระกษัตรีย์องค์ปัจจุบันแห่งเดนมาร์ก[2] และพระองค์ยังเป็นพระญาติวงศ์ในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสวีเดนองค์ปัจจุบัน
พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนซาห์เลส์ (Zahle's School) ประเทศเดนมาร์ก ช่วงปี ค.ศ. 1952 ถึง ค.ศ. 1963 และทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนสตรีชาร์เตอราร์ด (Chatelard School for Girls) ซึ่งเป็นโรงเรียนภาษาอังกฤษในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1962 และต่อมาในปี ค.ศ. 1963-1964 พระองค์ได้ทรงเข้าศึกษาต่อในเลอเมส์นิล โรงเรียนฟินิชชิง (Finishing school) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
อภิเษกสมรส[แก้]
ในปี ค.ศ. 1959 พระองค์ทรงพบกับเจ้าชายคอนสแตนตินแห่งกรีซและเดนมาร์ก ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีปอลที่ 1 แห่งกรีซ และสมเด็จพระราชินีเฟรเดอริกาแห่งกรีซ เมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศเดนมาร์ก และทั้งสองพระองค์ก็ทรงพบกันครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1961 ที่ประเทศเดนมาร์ก โดยเจ้าชายคอนสแตนตินได้ทรงทูลพระราชบิดาและพระราชมารดาเพื่อทรงขออภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเดนมาร์ก ต่อมาทั้งสองพระองค์ก็ทรงพบกันอีกครั้งที่กรุงเอเธนส์ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 เมื่อครั้งงานอภิเษกสมรสของ เจ้าหญิงโซเฟียแห่งกรีซและเดนมาร์ก และเจ้าชายควน การ์โลสแห่งสเปน และทรงพบกันอีกครั้งในปี ค.ศ. 1963 ในงานครบรอบหนึ่งศตวรรษของพระราชวงศ์กรีซ
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1964 มีการประกาศเรื่องการหมั้น แม้จะมีเสียงคัดค้านอย่างสุภาพของกลุ่มฝ่ายซ้ายในประเทศเดนมาร์ก[3] ต่อมาทั้งสองพระองค์ได้ทรงจัดงานอภิเษกสมรสกัน เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1964 (สองสัปดาห์หลังพระองค์มีพระชนมายุครบ 18 พรรษา) โดยในพิธีอภิเษกสมรสของทั้งสองพระองค์ได้จัดขึ้นในอาสนวิหารเมโทรโพลิสกรีกออร์โธดอกซ์ในกรุงเอเธนส์ ซึ่งในงานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อเข้าร่วมในพิธีมงคลสมรสครั้งนี้ด้วย[4][5][6]
เสด็จลี้ภัย[แก้]
สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ และพระราชสวามีถูกทำการรัฐประหารอีกครั้งโดยกลุ่มนายทหารยศพันเอกในเดือนเมษายน ต่อมาสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซได้ทรงประกาศสละราชสมบัติ และเสด็จลี้ภัยพร้อมด้วย สมเด็จพระราชินีอันเนอ, เจ้าหญิงอเล็กเซีย และเจ้าชายปาวลอส โดยเสด็จประทับเครื่องบินออกไปในกลางดึกของวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1967[7] โดยขั้นต้นพระองค์และครองครัวได้เสด็จไปพำนักในประเทศอิตาลี ผลที่ตามมาก็คือพระองค์ทรงแท้งพระครรภ์[8] โดยพระองค์และครอบครัวทรงประทับลี้ภัยในสถานทูตกรีซประจำประเทศอิตาลีนาน 2 เดือน ก่อนที่จะเสด็จไปประทับ ณ กรุงโรม เป็นเวลาถึง 5 ปี
สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ พร้อมด้วยพระราชินีอันเนอ และครอบครัว ได้เสด็จไปประทับยังสหราชอาณาจักร โดยประทับ ณ หมู่บ้านโชบฮาม (Chobham) มณฑลเซอร์รีย์ เป็นแห่งแรก ก่อนที่จะย้ายไปประทับที่ฮัมสตีด (Hampstead) กรุงลอนดอน ส่วนรัฐบาลกรีซเองก็ยึดพระราชวังโตตอย แต่ภายหลังก็มีนักสิทธิมนุษยชนเข้ามาเรียกร้องให้ชดเชยค่าเสียหายเกี่ยวกับการครอบครองวังของพระราชวงศ์กรีซ โดยสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซได้นำเงินที่ได้รับดังกล่าว มาจัดตั้งองค์กรอันนา-มารีขึ้น
เหตุการณ์หลังปี ค.ศ. 1973[แก้]

สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ และสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ จะเสด็จลี้ภัยออกจากกรีซในปี ค.ศ. 1967 ด้วยเหตุที่ประเทศกรีซมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาหลายร้อยปี จึงมีการแต่งตั้งพลตรีจอร์จิออส โซอิตากีส (Georgios Zoitakis) เป็นผู้สำเร็จราชการ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1973 ได้แต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งกรีซ พันเอกจอร์จ ปาปาโดเปาลอส (George Papadopoulos) ก็ได้ปลดกษัตริย์คอนสแตนตินที่ 2 ออกจากตำแหน่งและเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1973 พันเอกจอร์จ ปาปาโดเปาลอส ได้ถูกปลดออกตำแหน่ง โดยดิมิทริออส ไอโออันนิเดส (Dimitrios Ioannides) เนื่องจากรัฐบาลทหารเข้ามาปกครองและเกิดความล้มเหลวจากการที่ตุรกีเข้าบุกรุกดินแดนไซปรัส ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1974 โดยมการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ นายคอนสแตนติน คารามานลิส (Constantine Karamanlis) โดยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974 ได้มีการลงประชามติให้ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งประชาชนร้อยละ 68.8 โหวตให้มีการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์[9] โดยหลายคนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมติเห็นชอบครั้งนี้ จะทำให้เหล่าพระราชวงศ์ไม่สามารถเสด็จกลับมากรีซได้อีก[10]
หลังมีการก่อตั้งสาธารณรัฐใหม่เมื่อผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1975 เกี่ยวกับคำนำหน้าพระนามและพระอิสริยยศจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการของบุคคลสัญชาติกรีก แต่ก็มีชาวกรีกบางส่วนที่ยังขานพระนามของพระองค์ว่า "อันเนอ-มารีแห่งกรีซ" (Anne-Marie of Greece) หรือบางครั้งก็เรียกพระนามแล้วตามด้วยพระนามพระราชวงศ์เป็น "อันนา-มาเรีย กลึคสบวร์ก" (Anna-Maria Glücksburg) แต่พระนามดังกล่าวนี้ พระองค์ไม่ทรงใช้
ส่วนพระองค์เอง พระองค์จะเรียกพระองค์เองว่า สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ (Queen Anne-Marie of Greece) หรือสมเด็จพระราชินีแห่งเฮลเลนส์ (Queen of the Hellenes) โดยพระนามดังกล่าวนี้ยังใช้ขานพระนามในกลุ่มประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่าง สหราชอาณาจักร[11], สเปน[12], ลักเซมเบิร์ก[13] และจอร์แดน พระองค์ยังพระนามอีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารี (Queen Anne-Marie) โดยพระนามนี้ถูกใช้ใน ประเทศเดนมาร์ก[14] และสวีเดน[15] และพระนาม อดีตสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ (former Queen Anne-Marie of Greece) ถูกใช้ในประเทศเนเธอร์แลนด์[16]
ครั้นเมื่อพระองค์จะเสด็จประพาสยังต่างประเทศ พระองค์ก็จะใช้พาสปอร์ตของสถานทูตเดนมาร์ก โดยใช้พระนามแทนพระองค์เองว่า อันเนอ-มารี เด เกรเซีย (Anne-Marie de Grecia) ซึ่งคำว่า de Grecia เป็นภาษาสเปนที่มีความหมายว่า "แห่งกรีซ" (of Greece)
พระราชกรณียกิจในปัจจุบัน[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ครอบครัว[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ และสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ ทรงประสูติกาลพระราชโอรสและพระราชธิดา 5 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 3 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์ นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นพระอัยยิกาในพระนัดดาทั้ง 9 พระองค์ ได้แก่
- เจ้าหญิงอเล็กเซียแห่งกรีซและเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 ณ มอน เรปอส (Mon Repos) คอร์ฟู ประเทศกรีซ พระองค์เสกสมรสกับนายการ์โลส โมราเลส ควินตานา (Carlos Morales Quintana) เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 มีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 4 พระองค์ได้แก่
- อาร์เรียตตา โมราเลส อี เด เกรเซีย เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 ณ เมืองบาร์เซโลนา
- อันนา มาเรีย โมราเลส อี เด เกรเซีย เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ณ เมืองบาร์เซโลนา
- การ์โลส โมราเลส อี เด เกรเซีย เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 ณ เมืองบาร์เซโลนา
- อาเมเลีย โมราเลส อี เด เกรเซีย เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ณ เมืองบาร์เซโลนา
- เจ้าชายปาวลอส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซและเจ้าชายแห่งเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1967 ณ พระราชวังโตตอย พระองค์เสกสมรสกับนางสาวมารี-แทนชัล มิลเลอร์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 มีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 5 พระองค์ ได้แก่
- เจ้าหญิงมาเรีย-โอลิมเปียแห่งกรีซและเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 ณ นิวยอร์ก
- เจ้าชายคอนสแตนติน อเล็กซิออสแห่งกรีซและเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1998 ณ นิวยอร์ก
- เจ้าชายอาร์ชีลิส-อันเดรียสแห่งกรีซและเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2000 ณ นิวยอร์ก
- เจ้าชายโอดีสซีส-คีโมนแห่งกรีซและเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2004 ณ กรุงลอนดอน
- เจ้าชายอริสทิเดส-สตาวรอสแห่งกรีซและเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ณ ลอสแอนเจลิส
- เจ้าชายนิโกเลาส์แห่งกรีซและเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1969 ณ กรุงโรม
- เจ้าหญิงเธโอโดราแห่งกรีซและเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1983 ณ กรุงลอนดอน
- เจ้าชายฟิลิปปอสแห่งกรีซและเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ณ กรุงลอนดอน
พระอิสริยยศ[แก้]
- เจ้าหญิงอันเนอ-มารีแห่งเดนมาร์ก (ค.ศ. 1946–1964)
- สมเด็จพระราชินีแห่งเฮลเลนส์ (ค.ศ. 1964–1973)
- สมเด็จพระบรมราชินีแห่งเฮลเลนส์ (อ้างสิทธิ์ในตำแหน่ง ค.ศ. 1973–ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1[17]
ราชตระกูล[แก้]
สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ | พระชนก: สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดริคที่ 9 แห่งเดนมาร์ก |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดริคที่ 8 แห่งเดนมาร์ก |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจ้าหญิงโลวิซาแห่งสวีเดน | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจ้าหญิงอเล็กซานดรีนแห่งเม็คเล็นบูร์ก-ชเวรีน |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: แกรนด์ดยุคฟรันซ์ ฟรีดริชที่ 3 แห่งเม็คเล็นบูร์ก-ชเวรีน | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย มิคาอิลอฟนาแห่งรัสเซีย | |||
พระชนนี: เจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งบาเดิน | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: อาร์เธอร์ ดยุคแห่งคอนน็อตและสแตรเธิร์น | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าหญิงหลุยส์ มาร์กาเร็ต ดัชเชสแห่งคอนน็อต |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ในมาตราที่ 4, ข้อที่ 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งรัฐระบุไว้ว่า "Titles of nobility or distinction are neither conferred upon nor recognized in Greek citizens พระอิสริยยศนำหน้าพระนามจะไม่ได้รับเกียรติอย่างเป็นทางการของประชาชนกรีซ" ดูเพิ่มได้ที่ the full text.
- ↑ มานพ ถนอมศรี. ราชา-ราชินีที่โลกไม่ลืม. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์,2552. หน้า 261
- ↑ Situationist International, issue No 9, The Longest Months, August 1964
- ↑ สาธารณรัฐเฮลเลนิก กระทรวงการต่างประเทศ
- ↑ ประเทศสาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ)
- ↑ สาธารณรัฐเฮลเลนิก
- ↑ มานพ ถนอมศรี. ราชา-ราชินีที่โลกไม่ลืม. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์,2552. หน้า 264
- ↑ CNN.com Transcripts - Larry King Live Interview With King Constantine of Greece
- ↑ The actual vote as reported in the New York Times, 9 December 1974, was 2,899,282 votes (68.8%) in favour of establishing a republic, and 1,318,827 votes (31.2%) in favour of re-establishing a monarchy.
- ↑ Greek Royal Family Website
- ↑ Guests at the funeral of Queen Elizabeth the Queen Mother
- ↑ Guests at the wedding of the Prince and Princess of Asturias
- ↑ Guests at the funeral of Grand Duchess Josephine-Charlotte
- ↑ Biography of Queen Anne-Marie. Official website of the Danish monarchy
- ↑ Familjeträff på Sofiero slott torsdag den 2 juni 2005 Official website of the Swedish monarchy]
- ↑ Guests at the wedding of the Prince of Orange
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๘, ตอน ๑๗ง, ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๔, หน้า ๔๕๐
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
คอนสตันติน โจฮันน์สมันน์ | ![]() |
![]() ลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ (ลำดับที่ 231) |
![]() |
เจ้าชายเปาโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ |
เฟรเดอริกาแห่งฮาโนเวอร์ | ![]() |
![]() สมเด็จพระราชินีแห่งเฮลเลนส์ (ราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก) (18 กันยายน ค.ศ. 1964 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1973) |
![]() |
ยกเลิกระบอบกษัตริย์ |
ตำแหน่งถูกยกเลิก | ![]() |
![]() ผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งเฮลเลนส์ (ราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก) (1 มิถุนายน ค.ศ. 1973-ปัจจุบัน) |
![]() |
ยังอยู่ในตำแหน่ง เจ้าหญิงมารี-แชนทัล มกุฎราชกุมารีแห่งกรีซ |
|
|