พระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
พระเจ้าอีริคที่ 2 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก | |||||
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก | |||||
ครองราชย์ | 1134 – 1137[1] | ||||
ก่อนหน้า | นีลส์ | ||||
ถัดไป | อีริคที่ 3 | ||||
คู่อภิเษก | มาล์มเฟรดแห่งเคียฟ | ||||
พระราชบุตร | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | แอสตริดเซน | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าอีริคที่ 1 แห่งเดนมาร์ก | ||||
พระราชมารดา | ไม่ปรากฎนาม | ||||
ประสูติ | ราว ค.ศ. 1090 | ||||
สวรรคต | 18 กันยายน ค.ศ. 1137 อูร์เนอโฮเว็ด, เดนมาร์ก | (47 ปี)||||
ฝังพระศพ | มหาวิหารรีเบ | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
พระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งเดนมาร์ก หรือ อีริค ผู้น่าจดจำ (เดนมาร์ก: Erik II Emune; ราวค.ศ. 1090 – 18 กันยายน ค.ศ. 1137) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กในช่วงปีค.ศ. 1134 ถึง 1137 กษัตริย์อีริคที่ 2 เป็นพระโอรสนอกสมรสในพระเจ้าอีริคที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ซึ่งครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1095 ถึงค.ศ. 1103 พระเจ้าอีริคที่ 2 ทรงก่อกบฏต่อต้านพระเจ้านีลส์แห่งเดนมาร์ก ผู้เป็นสมเด็จอา และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ในปีค.ศ. 1134 พระองค์ลงโทษศัตรูของพระองค์อย่างโหดร้าย และตอบแทนผู้สนับสนุนด้วยรางวัลอย่างงาม พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์โดยข้าราชบริพารในปีค.ศ. 1137 ราชบัลลังก์ส่งผ่านไปยังพระราชนัดดาคือ พระเจ้าอีริคที่ 3 แห่งเดนมาร์ก
ช่วงต้นพระชนม์ชีพ[แก้]
อีริคประสูติราวค.ศ. 1090 เป็นโอรสนอกสมรสของพระเจ้าอีริคที่ 1 แห่งเดนมาร์กกับพระสนมไม่ปรากฏนาม[2] อีริคทรงได้รับสิทธิมรดกสืบทอดจากพระอนุชาต่างมารดาคือ เจ้าชายคนุต ลาวาร์ด[3] ซึ่งทรงเป็นยาร์ลแห่งเกาะเมิน ลอลันด์และฟาลสเตอร์[4] เมื่อเจ้าชายลาวาร์ดถูกปลงพระชนม์ในปีค.ศ. 1131 อีริคทรงร่วมกับพระเชษฐาต่างมารดาอีกองค์หนึ่งคือ ฮารัลด์ เคสจา โดยทำการกบฏต่อพระเจ้านีลส์แห่งเดนมาร์ก ผู้เป็นสมเด็จอา[5] อีริคสถาปนาตนเป็นผู้อ้างตนเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กในสคาเนีย เดือนเมษายน ค.ศ. 1131 ซึ่งกระตุ้นให้เคสจา เชษฐาหันไปสนับสนุนกษัตริย์นีลส์เนื่องจากอิจฉาอนุชา[2]
กองทัพของกษัตริย์อีริคพ่ายแพ้ในการรบหลายครั้งต่อกองทัพของกษัตริย์นีลส์และพระเจ้ามักนุส ผู้แข็งแกร่ง[5] พระราชโอรสของกษัตริย์นีลส์ ทรงพ่ายแพ้ที่เยลลิงในคาบสมุทรจัตแลนด์ในปีค.ศ. 1131 และแวร์โบในเกาะเชลลันด์ พระองค์จึงหลบหนีไปยังสคาเนีย การหลบหนีของพระองค์ทำให้ทรงได้รับสมัญญาว่า "แฮร์ฟุต" ซึ่งแปลว่าเท้ากระต่าย หมายถึงทรงหลบหนีรวดเร็วดังกระต่าย[3] กษัตริย์อีริคประสบความล้มเหลวในการเกลี้ยกล่อมจักรพรรดิโลทาร์ที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในการสนับสนุนพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์[5] และทรงล้มเหลวในการขอการสนับสนุนจากพระเจ้ามักนุสที่ 4 แห่งนอร์เวย์[3] พระองค์เสด็จกลับสคาเนียในปีค.ศ. 1134 เมื่ออาร์กบิชอปอัสเชอร์ ธอร์คิลส์สันแห่งลุนด์ได้สนับสนุนพระองค์ และจักรพรรดิโลทาร์ตัดสินใจสนับสนุนพระองค์ในที่สุด[2] ในปีค.ศ. 1134 พระองค์สามารถรบชนะเหนือกองทัพกษัตริย์นีลส์ในยุทธการฟอเตอวิคในสคาเนีย ด้วยการช่วยเหลือของทหารรับจ้างชาวเยอรมัน[4] และกษัตริย์นีลส์สวรรคตภายในปีนั้น[6]
รัชกาล[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าอีริคที่ 2 | |
---|---|
![]() ตราประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | Hans Majestæt (ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท) |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | Deres Majestæt (พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ) |
พระเจ้าอีริคที่ 2 สถาปนาพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่สคาเนียต่อหน้าสภาขุนนางที่เลอแบ็คชือเงินในคืฟลิงเงอวือเงิน ใกล้เมืองลุนด์ พระองค์ทรงให้เมืองลุนด์เป็นราชธานี[7] ด้วยชัยชนะอันโด่งดังที่ฟอเตอวิค จึงมีการขานสมัญญาของพระองค์ใหม่จาก แฮร์ฟุต เป็น ผู้น่าจดจำ[3] เคสจากลับมายังเดนมาร์กและสถาปนาตนเป็นพระมหากษัตริย์ที่อูร์เนอโฮเว็ดในชเลสวิช กษัตริย์อีริคทรงตามไล่ล่าฮารัลด์ เคสจาและทรงสังหารพระเชษฐา พร้อมโอรสของพระองค์ มีเพียงโอลาฟ ฮารัลด์เซนที่สามารถหลบหนีการสั่งประหารของสมเด็จอาได้[5] [8]
กษัตริย์อีริคทรงพยายามกระชับอำนาจและสร้างความชอบธรรมในการปกครอง พระองค์ได้พระราชทานตำแหน่งและสิทธิพิเศษแก่ผู้สนับสนุนพระองค์ และทรงแต่งตั้งหลานชายของอาร์กบิชอปอัสเชอร์ คือ เอสคิลแห่งลุนด์ (ราวค.ศ. 1100 - 1181) ให้เป็นบิชอปแห่งรอสคิลด์[9]
พระองค์ทรงริเริ่มกระบวนการเสนอให้พระอนุชาต่างมารดาที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วคือ เจ้าชายคนุด ลาวาร์ด ให้ได้รับการประกาศเป็นนักบุญและทรงตั้งอารามที่ริงสเต็ดซึ่งมีการเก็บเอกสารรายงานถึงปาฏิหาริย์ของหลุมฝังพระศพของเจ้าชายคนุด[5] กษัตริย์อีริคที่ 2 ทรงต้องการสถาปนาเทวสิทธิราชย์ และการทำให้เจ้าชายคนุดได้เป็นนักบุญจะช่วยให้พระองค์มีสิทธิในราชบัลลังก์อย่างกล้าแข็งขึ้น[2] ในที่สุดเจ้าชายคนุดได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญในปีค.ศ. 1170[10]
กษัตริย์อีริคทรงเป็นที่จดจำในฐานะกษัตริย์ที่โหดร้ายในสายตาของศัตรู[2] ในฤดูร้อน ปีค.ศ. 1136 กษัตริย์อีริคทรงทำสงครามครูเสดต่อต้านผู้นับถือลัทธิเพแกนบนเกาะในทะเลบอลติกอย่างรือเกิน ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่แหลมอาร์โคนา[3] พระองค์ทรงมีพระบัญชาให้ทหารขุดคลองระหว่างเมืองนี้กับส่วนอื่นๆ ของเกาะ ซึ่งคลองจะเหือดแห้งในช่วงฤดูใบไม้ผลิทำให้เมืองอาร์โคนาขาดแคลนน้ำดื่ม อาร์โคนาจึงต้องยอมจำนน[11] แต่ในปีค.ศ. 1135 ก่อนที่จะประสบความสำเร็จที่อาร์โคนา กษัตริย์อีริคทรงพ่ายแพ้ในการต่อสู้ทางทะเลที่ชายฝั่งเดนมาร์กโดยกองทัพชนเผ่าลีชิ ชาวสลาฟตะวันตกภายใต้ดัชชีพอเมอเรเนียของดยุกราติบอร์ที่ 1 ได้เข้าปล้นเมืองรอสคิลด์ และในปีต่อมาหลังจากสมรภูมิคุงกาฮืลลา (ตอนนี้คือเมืองคุงอืลฟ์ในสวีเดน) ก็ได้ถูกปล้นสะดมเช่นกัน[12] พระองค์ทรงร่วมกับกษัตริย์มักนุสแห่งสวีเดน ในการบุกโจมตีนอร์เวย์ที่ไม่สำเร็จ[3] ซึ่งพระองค์ได้ทำการเผาเมืองออสโล[2] เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าเอสคิลพยายามปลุกระดมขุนนางเกาะเชลลันด์ให้ลุกฮือต่อต้านพระองค์ กษัตริย์อีริคทรงยกทัพบุกไปทางเหนือเพื่อปราบปรามกบฏที่แพร่ขยายไปทั่วเกาะฟึนและจัตแลนด์ พระองค์ทรงปรับโทษเอสคิลอย่างหนัก[2]
สวรรคต[แก้]
พระเจ้าอีริคที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1137 การสวรรคตของกษัตริย์อีริคมีการเขียนโดยบันทึกประวัติศาสตร์ของอาริลด์ ฮุทเฟลท์ บันทึกว่า พระประมุขผู้โหดร้ายและไม่เป็นที่นิยม กษัตริย์อีริคสวรรคตที่สภาอูร์เนอโฮเว็ดในปีค.ศ. 1137 กษัตริย์อีริคทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยขุนนางท้องถิ่น ซอร์เต พลอฟ[13] ตามตำนานบันทึกว่า ซอร์เต พลอฟขอพระบรมราชานุญาตให้การเข้าใกล้พระมหากษัตริย์ โดยเขาถือหอกไว้ในมือโดยมีท่อนไม้เสียบปิดบังส่วนปลายไว้ เมื่อเขาเห็นว่ากษัตริย์อีริคไม่ได้ทรงสวมเกราะเหล็กใต้ฉลองพระองค์คลุม ซอร์เตจึงเอาท่อนไม้ออกและเสียบหอกเข้าร่างของกษัตริย์ พระนัดดาของกษัตริย์อีริคคือ อีริค โฮกุนเซนพยายามก้าวไปข้างหน้าด้วยดาบในมือ แต่ขุนนางหยุดพระองค์และทูลให้พระองค์ให้ใจเย็นๆ เนื่องจากเห็นว่า อีริค เป็นผู้สืบราชบัลลังก์พระองค์ต่อไป และเป็นทายาทชายเพียงพระองค์เดียวของราชวงศ์ ขุนนางตะโกนว่า "วางกระบองของท่านลงซะ! ท่านอีริคหนุ่ม ตอนนี้ชิ้นเนื้อชุ่มฉ่ำตกอยู่หน้าจานอาหารของท่านแล้ว!" ตามตำนานระบุว่า ซอร์เตหลบหนีไปเพื่อรักษาชีวิต พระบรมศพของกษัตริย์อีริคถูกฝังที่มหาวิหารรีเบ อีริค โฮกุนสัน ได้ครองราชย์เป็น พระเจ้าอีริคที่ 3 แห่งเดนมาร์ก
ทายาท[แก้]
ก่อนปีค.ศ. 1130 อีริคได้เสกสมรสกับมาล์มเฟรดแห่งเคียฟ พระธิดาในมิสทิสลาฟที่ 1 แห่งเคียฟและเจ้าหญิงคริสตินา อิงเงอสด็อทเทอร์แห่งสวีเดน[2] มาล์มเฟรดเคยเป็นอดีตสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ จากการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าซิกวาร์ดที่ 1 แห่งนอร์เวย์ กษัตริย์อีริคทรงมีพระสนมชื่อ ทุนนา และมีโอรสนอกสมรสชื่อ สเวน ซึ่งต่อมาทรงได้เป็นพระเจ้าสเวนที่ 3 แห่งเดนมาร์ก[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Monarkiet i Danmark – Kongerækken เก็บถาวร พฤศจิกายน 18, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในราชาธิปไตยเดนมาร์ก
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Stefan Pajung, Erik Emune ca. 1090–1137, danmarkshistorien.dk, Aarhus University, 20 January 2010
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Bricka, Carl Frederik, Dansk Biografisk Lexikon, vol. IV [Clemens – Eynden], 1890, pp.540–542.
- ↑ 4.0 4.1 Palle Birk Hansen, Forside > Jubilæumslogo > Logohistorier > Peder Bodilsen เก็บถาวร 2011-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Næstved Municipality
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Erik 2. Emune at Gyldendals Åbne Encyklopædi
- ↑ "Asser, –1137, Ærkebiskop". Dansk biografisk Lexikon. สืบค้นเมื่อ September 1, 2018.
- ↑ 1050–1250 – Konge og Kirke at Oresundstid.dk
- ↑ "Urnehoved". Den Store Danske, Gyldendal. สืบค้นเมื่อ September 1, 2018.
- ↑ "Eskil". Catholic Encyclopedia (1913). สืบค้นเมื่อ September 1, 2018.
- ↑ "Knud Lavard, ca. 1096-1131". Danmarks Historien. สืบค้นเมื่อ September 1, 2018.
- ↑ Erik Emune [1134–1137 เก็บถาวร 2011-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Mogwai.dk
- ↑ Olga Baranowska, Pomorze Zachodnie, moja mała ojczyzna, Szczecin 2001, wyd. "Ines", K.Kozłowski, J.Podralski Gryfici Książęta Pomorza Zachodniego, KAW Szczecin 1985
- ↑ "Kongemorderen Sorte Plov". kongeaastien.dk. สืบค้นเมื่อ September 1, 2018.
ก่อนหน้า | พระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งเดนมาร์ก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้านีลส์ | ![]() |
![]() พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก (ค.ศ. 1134 - ค.ศ. 1137) |
![]() |
พระเจ้าอีริคที่ 3 |