เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก
| ||||||||||||||||||||
|
เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก (กรีก: Πριγκίπισσα Ειρήνη της Ελλάδας και Δανίας, ประสูติ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2485) พระราชธิดาองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ กับสมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ เป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน และสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ
พระประวัติ[แก้]
พระองค์ประสูติ ณ เคปทาวน์ แอฟริกาใต้ เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กใน สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ และ สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ ทรงมีพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแห่งกรีซและเดนมาร์ก ตั้งแต่แรกประสูติ ทรงมีพระเชษฐาและพระภคินี 2 พระองค์คือ
โดยพระองค์เป็นลูกศิษย์ของ กีนา บัคเกอร์ นักเปียโดนชื่อดัง และเมื่อปี พ.ศ. 2505 พระอค์ได้เป็นเพื่อนเจ้าสาวในงานสมรสของพระภคินัคือ สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน กับ สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน ทั้งนี้ในด้านชีวิตส่วนพระองค์ ทรงเคยคบหากับ เจ้าชายมิเชล เคานต์แห่งเอเวรอ และ เจ้าชายคริสเตียนแห่งชัมเบิร์ก-ลิพเพอ แต่ไมได้เสกสมรสกัน
การยกเลิกระบอบกษัตริย์แห่งกรีซ[แก้]
ภายหลังการถูกยึดพระราชทรัพย์และราชบัลลังก์ของพระเชษฐา สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ พระองค์และพระเชษฐาต้องเสด็จไปประทับ ณ ประเทศอินเดีย และภายหลังการสวรรคตของพระราชมาดา พระองค์ก็ได้เสด็จไปประทับ ณ พระตำหนัก กรุงมาดริด ซึ่งพระภคินีได้พระราชทานให้ประทับเป็นการส่วนพระองค์ โดยมีข้าราชบริพารถวายการรับใช้ 20 คน และทหารรักษาพระองค์ 30 คน ทหารรอบพระตำหนักอีก 20 คน
องค์กรในพระอุปถัมภ์[แก้]
แม้กรีซจะยกเลิกระบอบกษัตริย์แล้ว เจ้าหญิงไอรีนและพระราชวงศ์ยังสามารถใช้พระอิสริยยศได้ตลอดพระชนม์ชีพ โดยพระองค์ทรงเป็นองค์ประธาน องค์กรความดีในเจ้าหญิงแห่งกรีซ ซึ่งมีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 5 แสนคน ทั้งนี้พระองค์ยังคงปฏิบัติพระกรณียากิจอีกหลายๆด้านเช่น โครงการตามพระดำริเรื่อง การอยู่อาศัยของคนจน เป็นต้น
พระนามไอรีนของพระองค์ ยังไปใช้ตั้งชื่อพระธิดาใน อินฟันตากริสตีนา เฟเดรีกาแห่งสเปน พระภาคิไนยของพระองค์ และพระองค์ยังเป็นพระมารดาทูลหัวใน ไซเมียน ฮาสซัน มูนอส พระโอรสเพียงคนเดียวในเจ้าหญิงคาลินาแห่งบัลแกเรีย ดัชเชสแห่งแซกโซนี
พระอิสริยยศ[แก้]
- 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 - ปัจจุบัน = เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก (Her Royal Highness Princess Irene of Greece and Denmark)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
กรีซ: Dame Grand Cross of the Order of Saints Olga and Sophia.[1]
กรีซ: Dame Grand Cross of the Order of the Redeemer.[2]
House of Bourbon-Two Sicilies: Dame Grand Cross of Justice of the Sacred Military Constantinian Order of Saint George.[3]
ไทย: Dame Grand Cross of the Order of Chula Chom Klao.[4]
ก่อนหน้า | เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าหญิงเธโอโดราแห่งกรีซและเดนมาร์ก | ![]() |
![]() ลำดับการสืบราชบัลลังก์แห่งกรีซ (อันดับที่ 14) |
![]() |
อันดับสุดท้าย |
สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ | ![]() |
![]() ลำดับการสืบราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักร (ลำดับที่ 444) |
![]() |
เจ้าชายอัลเฟรดแห่งปรัสเซีย |
สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ | ![]() |
![]() มกุฎราชกุมารีแห่งกรีซ (ราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก) (6 มีนาคม ค.ศ. 1964 - 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1965) |
![]() |
เจ้าหญิงอเล็กเซียแห่งกรีซและเดนมาร์ก |
- ↑ Flickr, Photo of Princess Irene and Princess Sofia, Queen of Spain
- ↑ Royalty
- ↑ Membership of the Constantinian Order
- ↑ Royal State Visits