เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี
เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก | |||||
![]() | |||||
พระอัครมเหสี | สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก | ||||
| |||||
พระบุตร | เจ้าฟ้าชายเฟรเดริค มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก เจ้าฟ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก | ||||
ราชวงศ์ | กลึคสบวร์ก ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา | ||||
พระบิดา | เคานต์อังเดร เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา | ||||
พระมารดา | เรอเน ดูร์เซโน | ||||
พระราชสมภพ | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ตาลงส์, แคว้นกีรงด์, ประเทศฝรั่งเศส | ||||
สวรรคต | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (83 ปี) โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก |
เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี[1] ในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (พระนามเต็ม: อ็องรี มารี ฌ็อง อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา; 11 มิถุนายน พ.ศ. 2477 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก พระองค์ประสูติที่เมืองตาลงซ์ แคว้นกีรงด์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นโอรสในเคาต์อังเดร เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา และ เรอเน ดูร์เซโน อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1967 ในขณะที่มีพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงผู้เป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก
เนื้อหา
ต้นพระชนม์ชีพ[แก้]
เจ้าชายเฮนริกเสด็จพระราชสมภพที่เมืองตาลงซ์ แคว้นกีรงด์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส พระองค์เป็นโอรสในเคาต์อังเดร เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา กับ เรอเน ดูร์เซโน พระองค์ทรงเข้ารีตคริสตจักรโรมันคาทอลิก
พระองค์ทรงใช้ชีวิตช่วงต้น 5 ปีในอินโดจีนของฝรั่งเศสซึ่งขณะนี้คือประเทศเวียดนามที่ซึ่งพระบิดาของพระองค์ถูกกล่าวหาเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ ทรงกลับมายังฮานอยในปี พ.ศ. 2493 ทรงศึกษาที่นั่นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2495 ในระหว่างปี พ.ศ. 2495 ถึง พ.ศ. 2500 พระองค์ทรงศึกษาด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์พร้อมกันที่มหาวิทยาลัยปารีสในกรุงปารีสและศึกษาภาษาจีนและเวียดนามที่ แองสติตู นาซิองนาล เด ล้องก์ เอ ซิวิซาซิอง ออคเคียงตาล (Institut national des langues et civilisations orientales) พระองค์ยังทรงศึกษาที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2500 และไซ่ง่อนในปี พ.ศ. 2501
หลังจากทรงเข้าร่วมกองทัพฝรั่งเศส ในสงครามแอลจีเรียระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2505 ในปี พ.ศ. 2505 ทรงเข้าร่วมกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศสและทรงเป็นเลขาธิการทูตในกรุงลอนดอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ถึง พ.ศ. 2510
อภิเษกสมรส[แก้]
ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2510 พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์เกรเธอ ผู้เป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก ที่โบสถ์แห่งโคเปนเฮเกน พระนามของพระองค์จึงต้องเปลี่ยนเป็นภาษาเดนมาร์กคือ เฮนริก
ความสนพระราชหฤทัย[แก้]
เช่นเดียวกับพระมเหสี พระองค์ ทรงสนพระราชหฤทัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมอย่างมาก ทรงเป็นคนที่รักตัวเลขไม้และหยก ทรงสร้างคอลเลกชันที่ทรงแสดงในปี 2560 ในพิพิธภัณฑ์คอดิงฮูลด์ แต่ถึงอย่านั้ พระองค์ไม่ประสบความสำเร็จในการเล่นเปียโน ในปี พ.ศ. 2556 ทรงร่วมกับวงดนตรีป๊อปไมเคิล เรเนส โดยทรงบันถึงบันทึกเพลง "Echo" และบทเพลงนี้พระองค์ได้มีพระราชประสงค์ทูลเกล้าทุลกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แห่งราชอาณาจักรไทย
พระองค์ทรงเขียนบทกวีหลายภาษาพื้นเมืองของพระองค์เป็นภาษา (ฝรั่งเศส) บางส่วนที่ได้รับการเผยแพร่ในคอลเลกชัน เชอร์มิน เฟสตัน (1982), Cantabile (2000), Les escargots de Marie Lanceline (2003), Murmures de vent (2005), Frihjul ( Roue-Libre , 2010), Fabula (2011), La part des Anges (2013) และDans mes nuits sereines (2014) The Symphonic Suite Cantabileโดย เฟรเดอริก ไมเกล พระราชนิพนธ์ของพระองค์ได้รับรางวัลจาก เดนิส นอชัน ซิมโพนี ออร์เคสตรา ในคอนเสิร์ตทั้ง 2 ครั้ง ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 70 พรรษา และ 75 พรรษา ของ พระองค์ ในปี 2547 และ 255 พระองค์ทรงแปลบทพระราชนิพนธ์ (แปลจากภาษาเดนมาร์ก ) ว่า "ฉันเขียนบทกวี มีทั้งข้อเสียและข้อดี แสดงความจริงด้วยข่าวและความบันเทิงที่ทำให้เรามีเหตุผลและความกระวนกระวาย บทกวีของเรานั้นจะพยายามเข้าใกล้ธรรมชาติที่แท้จริงของโลก ในบทกวีที่เราสามารถเข้าถึงคำถามนิรันดร์เช่นความรักความเหงาและความตาย "
พระองค์ทรงเป็นพ่อครัวที่ยอดเยี่ยมซึ่งได้แรงบันดาลใจจากประเพณีการทำอาหารฝรั่งเศส ทรงมักจะวางแผน ทรงปรุงอาหารของครอบครัว มักจะมีพ่อครัวหลวงช่วยเสมอ รวมถึงเครื่องเทศของพระองค์นั้นส่วนหนึ่งมาจากการอุดหนุนจากสถานรับเลี้ยงเด็กในเอเชีย นอกเหนือจากตำราของเขาพระองค์นั้น พระองค์มักจะทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้สำนักข่าวได้เข้าไปถ่ายทำรายการอาหาร ซึ่งพระองค์ทรงปรุงเองและทำเอง ณ พระราชวังเฟรเดนส์โบร์ก
โดยพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ ได้ออกมาให้ความคิดเห็นเรื่องนี้ ในปี 2552 ดังนี้
|
||
– สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระมเหสี |
|
||
– เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี พระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก |
|
||
– เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ |
|
||
– เจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก พระราชโอรสพระองค์เล็ก |
หรือแม้แต่ ลาร์ส เลิกเกอ รัสมุสเซิน นายกรัฐมนตรีของเดนมาร์ก ก็เคยได้รับพระราชทานจากเจ้าชายเฮนริก พระราขสวามี
|
||
– ลาร์ส เลิกเกอ รัสมุสเซิน นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก |
เจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก[แก้]
เมื่อทรงได้พระอิสริยยศเป็นเจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก ซึ่งก่อนการอภิเษกสมรสพระองค์ทรงเปลี่ยนไปนับถือนิกายโปรเตสแตนต์จากการอนุญาตของสันตะสำนัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก พระราชบิดาในพระมเหสีของพระองค์ เสด็จสวรรคต พระมเหสีจึงเสด็จครองราชย์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก พระองค์จึงได้รับการสถาปนาที่ เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี
พระราชโอรส[แก้]
สมเด็จพระราชินีนาถและเจ้าฟ้าชายมีพระโอรส 2 พระองค์ดังนี้
ภาษาของเจ้าชายเฮนริกคือภาษาฝรั่งเศส ทำให้พระองค์ต้องเรียนรู้ภาษาเดนมาร์กหลังการอภิเษกสมรส แต่พระองค์สามารถพูดภาษาจีน เวียดนาม อังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว
ในปี พ.ศ. 2549 นิตยสารของเดนมาร์กชื่อ Ud&Se ได้ลงบทสัมภาษณ์ของเจ้าชายเฮนริก ที่ซึ่งทรงเล่าเกี่ยวกับสุนัขทรงเลี้ยง อาหาร พระชนม์ชีพวัยเยาว์ในเวียดนามและเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย บางครั้งพระองค์ทรงกล่าวถึงการเคยเสวยเนื้อสุนัขที่นั่น ทำให้หนังสือพิมพ์ต่าง ๆ พาดหัวข่าวไว้ว่า "เจ้าชายเฮนริกเสวยสุนัข" และทำให้การบริโภคเนื้อสุนัขเป็นที่นิยม[ต้องการอ้างอิง]
พระราชกรณียกิจ[แก้]
- พ.ศ. 2522 เสด็จพระราชดำเนินเยือน เนเธอร์แลนด์ โดยทรงเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และยังทรงพบ เจ้าชายรัชทายาทวิลเลิม อีกทั้งยังทรงพระราชทานพระราชวโรกาสให้ เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าหญิงมาร์ครีตแห่งเนเธอร์แลนด์ เฝ้าทูลละอองพระบาท ณ พระราชวังหลวงเฮก ในการนี้ เจ้าหญิงคริสตีนาแห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงนำเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก เยือนสถานที่สำคัญของประเทศ และในเย็นวันนั้น ทรงมีการเลี้ยงพระกระยาหารค่ำเป็นการส่วนพระองค์ระหว่างเจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก และพระบรมวงศานุวงศ์ของเนเธอร์แลนด์
- พ.ศ. 2532 เสด็จพระราชดำเนินเยือน สหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จพระราชดำเนินทรงรับเจ้าชายเฮนริกถึงสนามบินลอนดอน และประทับรถยนต์พระที่นั้งถึง พระราชวังบักกิงแฮม โดยมี เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เฝ้ารับเสด็จ และ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก ซาราห์ ดัชเชสแห่งยอร์ก เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซกซ์ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์ แคทเธอรีน ดัชเชสแห่งเคนต์ และพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์อังกฤษ เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ จากนั้น เจ้าชายริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ และ บริจิตต์ ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์ ทรงพาเจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก เยีย่มชมความงามในพระราชวัง โดยเจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก ทรงมีความสนิทสนมกับดัชเชสแห่งกลอสเตอร์มาก เนื่องด้วยดัชเชสทรงเป็นคนเดนมาร์ก
- พ.ศ. 2536 เสด็จพระราชดำเนินเยือน เคนยา โมร็อกโก ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเป็นกานส่วนพระองค์ในการแปรพระราชฐาน เจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี ทรงประทับในเคนยาเพียง 16 ชั่วโมง เนื่องจากพระอาการป่วยทรงดำเริบ ทางข้าราชบริพารจึงกราบบังคบทูลให้เสด็จพระราชดำเนินเยือนโมร็อกโกทันที เนื่องจากนวัตกรรมทางการแพทย์เจริญแล้วในแถวแอฟริกา เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงแล้ว ความทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระราขินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงมีพระราชดำรัสด้วยความห่วงใยในพระราสวามี ทรงมีพระราชดำรัสให้เจ้าชายเฮนริก พระราชสวามีเสด็จพระราชดำเนินกลับเดนมาร์กในวันรุ่งขึ้น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงเดนมาร์กแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์เดนมาร์กเสด็จพระราชดำเนิน/เสด็จไปทรงเยี่ยมพระอาการเจ้าชายพระราชสวามีทันที ซึ่ง เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก ปฏิบัติพระราชกรณียากิจในออสเตรเลีย ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับอย่างกระทันหันทันที ในขณะที่ เจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์กกำลังปฏิบัติพระกรณียากิจในนอร์เวย์ ก็เสด็จกลับทันทีเช่นกัน
- พ.ศ. 2542 เสด็จพระราชดำเนินเยือน ราชอาณาจักรไทย เป็นการส่วนพระองค์ โดยทอดพระเนตรอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง โดยทรงมีพระราชดำรัสชมอุทยานแห่งนี้ว่า นี่มันสวยงามจริงๆ สวยจนมิน่าเชื่อเลย
- พ.ศ. 2549 สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มายังราชอาณาจักรไทย เพื่อเข้าร่วม พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- พ.ศ. 2556 เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี เสด็จพระราชดำเนินเยือนฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถานที่เสด็จพระราชสมภพของพระองค์ ทรงแปรพระราชฐานอีกครั้งเป็นเวลา 2 เดือน พระราชโอรส พระราชนัดดา พระสุณิษา เสด็จพระราชดำเนิน/เสด็จมาเยี่ยมเป็นครั้งคราว ในขณะที่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 พระมเหสีนั้น เสด็จพระราชดำเนินมาประทับกับพระราชสวามีถึง 2 อาทิตย์
- พ.ศ. 2557
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนอุรุกวัย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของสมาชิกพระราชวงศ์เดนมาร์ก ที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนอุรุกวัย ทรงทอดพระเนตรการดำเนินงานคืนช้างสู่ป่า ซึ่งเป็นโครงการเดียวกับที่ประเทศไทย ทรงพระราชทานชื่อช้างเชือกหนึ่ง นามว่า เบทอล โดยทรงให้เหตุผลว่า เป็นชื่อของพระสหายสนิทท่านหนึ่งในโรงเรียนประถม จากนั้นทอดพระเนตรการแสดงของชนพื้นเมืองที่ทำการแสดงถวาย หลังจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศกาลของอุรุกวัย และเสด็จพระราชดำเนินกลับในอีก 3 วัน ถัดมา
- เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชรัฐลิกเตนสไตน์ ตามคำกราบทูลเชิญของ เจ้าชายฮันส์-อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์ โดยมี เจ้าชายอาโลอิส รัชทายาทแห่งลิกเตนสไตน์ และ เจ้าหญิงโซฟี เจ้าหญิงรัชทายาทแห่งลิกเตนสไตน์ เฝ้ารับเสด็จ โดยมีพระราชวงศ์ลิกเตนสไตน์ โดยทรงหารือในเรื่องไวน์ เนื่องจากลิกเตนสไตน์ประกอบกิจการส่งออกไวน์เป็นหลัก ทางเจ้าชายพระประมุขแห่งลิกเตนสไตน์ และรัฐบาลต่างอยากขอความรู้จากเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี เนื่องจากพระองค์เองก็ทรงทำไวน์เสวยเองในเดนมาร์กและยังส่งออกอีกด้วย
พระราชกรณียากิจในต่างประเทศของพระองค์ ส่วนมากแล้วจะเสด็จพระราชดำเนินเพียงพระองค์เดียว ในขณะที่ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก จะเสด็จพระราชดำเนินด้วยก็ต่อเมื่อเป็นหมายกำหนดการที่สำนักพระราชวังเดนมาร์กจัดทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเท่านั้น ในขณะที่พระองค์จะทรงเป็นส่วนพระองค์เสียมากกว่าพระมเหสี
พระอาการประชวร[แก้]
สำนักพระราชวังของเดนมาร์กได้แถลงการณ์เรื่อง เจ้าชายเฮนริค พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธ่ที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลรีย์ส มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน โดยคณะแพทย์ได้รายงานว่า ทรงมีการตอบสนองลดลง อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางพระราชจริยาวัตร (พฤติกรรม) ด้านการตัดสินพระราชหฤทัย และพระราชปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบพระองค์ คณะแพทย์จึงได้ว่า ทรงประชวรด้วยโรคพระสมองเสื่อม จึงได้กราบบังคมทูลเชิญให้งดพระราชกรณียกิจลง อีกทั้งจะมีการพิจารณาการดำเนินงานขององค์กรต่างๆในพระราชูปถัมภ์
สวรรคต[แก้]
สำนักพระราชวังของเดนมาร์ก ได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการว่า เจ้าชายเฮนริก เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 23.18 น. ณ พระราชวังเฟรเดนส์โบร์ก เมืองเฟรเดนส์โบร์ก สิริพระชนมายุ 83 พรรษา โดยก่อนหน้านี้สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์ว่าทรงมีพระราชประสงค์ไม่ฝังพระบรมศพกับพระมเหสีซึ่งเกิดจากความน้อยพระราชหฤทัยที่ไม่ได้รับการถวายพระเกียรติที่เหมาะสม และมีพระราชประสงค์ให้จัดงานส่วนพระองค์ซึ่งในงานนั้นไม่มีพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศเสด็จพระราชดำเนิน เสด็จ หรือเดินทางร่วมงานเลย
พระราชอิสริยยศ[แก้]
- พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2510: เคานต์เฮนรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา
- พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2515: เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก
- พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2561: เจ้าชายพระราชสวามี
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี |
- Biography of HRH The Prince Consort Official website of the Danish Monarchy
- Royal House of Denmark and Royal House of Iceland
- The Ancestry of Henri de Laborde de Monpezat
ก่อนหน้า | เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก |
![]() |
![]() เจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก (14 มกราคม พ.ศ. 2515 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) |
![]() |
ว่าง (เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารี) |
|