ข้ามไปเนื้อหา

วิลนีอัส

พิกัด: 54°41′N 25°17′E / 54.683°N 25.283°E / 54.683; 25.283
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิลนีอุส)
วิลนีอัส
ตามเข็มนาฬิกาจากขวาบน: หอคอยของเกดิมินัส, ย่านธุรกิจวิลนีอัส, ทำเนียบประธานาธิบดี, ถนนปิเลียส, ประตูรุ่งอรุณ, อาสนวิหารวิลนีอัสและหอระฆัง
ธงของวิลนีอัส
ธง
ตราราชการของวิลนีอัส
ตราอาร์ม
สมญา: 
เยรูซาเลมแห่งลิทัวเนีย,[1] โรมทางเหนือ, เอเธนส์ทางเหนือ, บาบิโลนใหม่, นคร/เมืองหลวงของปาเลมอน
คำขวัญ: 
"เอกภาพ ยุติธรรม ความหวัง"
(ละติน: Unitas, Justitia, Spes)
วิลนีอัสตั้งอยู่ในลิทัวเนีย
วิลนีอัส
วิลนีอัส
ที่ตั้งกรุงวิลนีอัสในประเทศลิทัวเนีย
พิกัด: 54°41′N 25°17′E / 54.683°N 25.283°E / 54.683; 25.283
ประเทศ ลิทัวเนีย
เทศบาลเทศบาลนครวิลนีอัส
กล่าวถึงครั้งแรกค.ศ. 1323
ได้รับสิทธิ์ของนครค.ศ. 1387
การปกครอง
 • ประเภทสภานคร
 • นายกเทศมนตรีRemigijus Šimašius
พื้นที่
 • เมืองหลวง401 ตร.กม. (155 ตร.ไมล์)
ความสูง112 เมตร (367 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2021)[4]
 • เมืองหลวง592,389[2] คน
 • อันดับ(อันดับที่ 31 ในสหภาพยุโรป)
 • ความหนาแน่น1,392 คน/ตร.กม. (3,610 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง706,832[3] คน
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
รหัสไปรษณีย์01001–14191
รหัสพื้นที่(+370) 5
จีเอ็มพี (ในนาม)[5]ค.ศ. 2020
 – ทั้งหมด21,100 ล้านยูโร
 – ต่อหัว25,600 ยูโร
งบประมาณนคร~1.0 พันล้านยูโร[6]
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)0.920[7]สูงมาก
เว็บไซต์vilnius.lt

วิลนีอัส[8] (อังกฤษ: Vilnius, ออกเสียง: /ˈvɪlniəs/; ลิทัวเนีย: Vilnius, ออกเสียง [ˈvʲɪlʲnʲʊs] ( ฟังเสียง)) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศลิทัวเนีย มีประชากร 592,389 (ณ ค.ศ. 2022)[4] ประชากรในเขตมหานคร (ซึ่งขยายตัวออกไปเกินขอบเขตของเมือง) มีประมาณ 706,832 คน (ณ ค.ศ. 2019)[3] ในขณะที่ข้อมูลจากกองทุนประกันสุขภาพวิลนีอัสระบุว่ามีผู้อยู่อาศัยถาวร 732,421 คนในเขตเทศบาลนครวิลนีอัสและเขตเทศบาลเขตวิลนีอัสรวมกัน (ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2020)[9] วิลนีอัสตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของลิทัวเนีย เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สองในบรรดารัฐบอลติก และเป็นที่ตั้งของรัฐบาลลิทัวเนียและเทศบาลเขตวิลนีอัส

วิลนีอัสจัดเป็นนครโลกระดับแกมมาจากผลการศึกษาของเครือข่ายวิจัยโลกาภิวัตน์และนครโลก[10] และเป็นที่รู้จักจากสถาปัตยกรรมในย่านเมืองเก่าซึ่งยูเนสโกได้ประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกใน ค.ศ. 1994 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง วิลนีอัสเป็นหนึ่งในศูนย์กลางชาวยิวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป อิทธิพลยิวที่มีต่อเมืองนี้ทำให้เกิดชื่อเล่นว่า "เยรูซาเลมแห่งลิทัวเนีย" นโปเลียนเรียกเมืองนี้ว่า "เยรูซาเลมทางเหนือ"[11] ในขณะที่เดินทัพผ่านลิทัวเนียใน ค.ศ. 1812 ใน ค.ศ. 2009 วิลนีอัสเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปร่วมกับลินทซ์ในประเทศออสเตรีย[12] ใน ค.ศ. 2021 นิตยสาร เอฟดีไอ ได้จัดให้วิลนีอัสเป็นหนึ่งในเมืองแห่งอนาคตระดับโลก ซึ่งหมายความว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีความคิดก้าวหน้ามากที่สุดและมีศักยภาพสูงที่สุดในโลก[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Vilnius: In Search of the Jerusalem of Lithuania – Lithuanian Jewish Community". lzb.lt. 18 November 2016. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  2. "Gyventoju skaicius pagal savivaldybes" (PDF). Registrucentras.lt. 2022-01-05. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
  3. 3.0 3.1 "Population on 1 January by age groups and sex - functional urban areas". appsso.eurostat.ec.europa.eu. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  4. 4.0 4.1 "Statistinės suvestinės: Gyventojų skaičius pagal savivaldybes 2022 m. sausio 1 d." [Statistical summaries: number of inhabitants in municipalities as of 1 January 2021]. Vilnius (ภาษาลิทัวเนีย). Valstybės įmonė Registrų centras [State Enterprise Center of Registers of Lithuania]. 1 January 2021. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.
  5. "Statistinių rodiklių analizė". Statistics Lithuania.
  6. "Vilniaus biudţeto planas 2022-iesiems – minus 96,7 mln. Eur" [Vilnius budget plan for 2022 - minus 96.7 million. Eur]. Verslo ţinios (ภาษาลิทัวเนีย). 2022-01-10. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28.
  7. Sub-national HDI. "Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org.
  8. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  9. "Vilniaus teritorinė ligonių kasa - Prisirašiusių gyventojų skaičius". vilniaustlk.lt (ภาษาลิทัวเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  10. "The World According to GaWC 2020". GaWC - Research Network. Globalization and World Cities. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  11. Steele, Jonathan (19 June 2008). "In the Jerusalem of the North, the Jewish story is forgotten". Opinion. The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2018. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
  12. "Ex-Post Evaluation of 2009 European Capitals of Culture" (PDF). ECOTEC Research and Consulting Ltd. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2018.
  13. "fDi's Global Cities of the Future 2021/22 — overall winners". fdiintelligence. fDi Intelligence A service from The Financial Times Ltd. สืบค้นเมื่อ 22 March 2021.