กระเบนราหู (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2561)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระเบนราหู
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับพุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง
เขียนบทพุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง
อำนวยการสร้าง
  • วิทวัส เมฆสวรรค์
  • จักรวาล นิลธำรงค์
  • ชาติชาย ไชยยนต์
  • ฟีลิป แอวริล
นักแสดงนำ
กำกับภาพนวโรภาส รุ่งพิบูลโสภิษฐ์
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบ
  • คริสตีน ออต
  • มาตีเยอ กาบรี
บริษัทผู้สร้าง
  • ไดเวอร์ชัน
  • เลส์ ฟีล์ม เดอ เลตรองเฌ (ฝรั่งเศส)
  • ยูคู่ พิกเจอส์ (จีน)
  • มิดเอาท์ ซาวน์ ฟีล์ม
ผู้จัดจำหน่ายฌูร์เดอซ์แฟต
วันฉาย7 กันยายน ค.ศ. 2018 (2018-09-07)(เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส)
8 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 (2019-07-08)(เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอาเซียน,กรุงเทพฯ)
11 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 (2019-07-11)(โรงภาพยนตร์ทั่วไป, ประเทศไทย)
ความยาว105 นาที
ประเทศ
  • ไทย
  • ฝรั่งเศส
  • จีน
ภาษาไทย
ทำเงิน4 แสนบาท[1]

กระเบนราหู เป็นภาพยนตร์ไทย แนวดรามา ออกฉายครั้งแรกที่ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 2018 เขียนบทและกำกับการแสดงโดยพุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง โดยเป็นการกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของเขา[2] ภาพยนตร์ออกฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2018 และได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภท Orizzonti/ Horizon Prize (สุนทรียภาพในการเล่าเรื่อง) ทำให้กระเบนราหูเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส[3] นอกจากนี้พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ยังได้รับรางวัลพีระมิดเงินในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติไคโร ครั้งที่ 40[4]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้นักแสดงตัวหลักเพียง 3 คน ได้แก่ อภิสิทธิ์ หะมะ, วัลลภ รุ่งกำจัด และรัสมี เวระนะ นักร้องหญิงยอดเยี่ยมแนวอีสานโซล เจ้าของรางวัลคมชัดลึกอวอร์ด 2 สมัย นอกจากนี้ยังได้คริสตีน ออต และ มาตีเยอ กาบรี นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศสร่วมกันทำดนตรีประกอบ[5][6][7] ตัดต่อภาพโดยลี ชาตะเมธีกุล[8]โดยภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้อพยพชาวโรฮีนจาในประเทศไทย และสะท้อนปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ของมนุษย์ ผ่านความสัมพันธ์ของตัวละครที่เป็นผู้ประสบภัยชาวโรฮีนจาและชายชาวประมงไร้ชื่อ[9] ตัวภาพยนตร์มีบทพูดของตัวละครน้อยโดยเน้นการดำเนินเรื่องผ่านภาพที่สวยงามและเสียงดนตรีประกอบ นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ต่างๆที่ผู้ชมจะต้องตีความตลอดทั้งเรื่อง

กระเบนราหูได้ฉายในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอาเซียน ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ต่อมาได้ฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วไปในประเทศไทยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 และได้รับรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 16 สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[10] และรางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 17 ประจำปี พ.ศ. 2562​ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[11]

นักแสดง[แก้]

  • วัลลภ รุ่งกำจัด รับบท ชาวประมงซึ่งใช้ชีวิตอยู่คนเดียวหลังจาก สายใจ หญิงคนรัก หนีตามทหารเรือไป เป็นผู้ช่วยชีวิตชาวโรฮีนจาและตั้งชื่อให้ว่า ธงไชย
  • อภิสิทธิ์ หะมะ รับบท ธงไชย ชาวโรฮีนจาที่ถูกชาวประมงช่วยชีวิตไว้และให้อาศัยอยู่ด้วย ถูกตั้งชื่อให้ใหม่ โดยเขาไม่สามารถพูดได้
  • รัสมี เวระนะ รับบท สายใจ อดีตคนรักของชาวประมง เธอทิ้งชาวประมงเพื่อไปอยู่กับทหารเรือ ก่อนจะกลับมาในภายหลัง

การเผยแพร่[แก้]

กระเบนราหูฉายครั้งแรกที่ประเทศอิตาลี ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส ครั้งที่ 75 วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2018 และได้รับรางวัล Orizzonti (สุนทรียภาพในการเล่าเรื่อง) โดยเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส[12] และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Discovery Award ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต ค.ศ. 2018[13] รวมทั้งได้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติและคว้ารางวัลในหลายประเทศ ทั้งใน ฝรั่งเศส, อียิปต์, กรีซ, สเปน, โครเอเชีย, อินเดีย, ไต้หวัน และ ประเทศญี่ปุ่น

สำหรับประเทศไทย ออกฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอาเซียน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ที่ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน และฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วไปในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2019

โฮม มีเดีย[แก้]

ในประเทศไทยภาพยนตร์เรื่องกระเบนราหู ได้ถูกผลิตและจัดจำหน่ายในรูปแบบแผ่นบลูเรย์ ระดับภาพความคมชัดสูง (HD) และแผ่นดีวีดี รวมทั้งดิจิทัล ในเดือน มีนาคม ค.ศ. 2020

โดยในแผ่นบลูเรย์ มีการบรรจุภาพยนตร์สั้นเรื่อง ชิงช้าสวรรค์ (Ferris Wheel) ภาพยนตร์สั้นของ พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ที่เคยคว้ารางวัล Special Mention จากประเทศสิงคโปร์ เข้าไปด้วย โดยสามารถกดเลือกรับชมได้จากหน้าเมนู

ผลตอบรับ[แก้]

คำวิจารณ์[แก้]

ภาพยนตร์ได้รับคำชื่นชมทั้งจากภายในประเทศและสื่อต่างชาติ โดยได้คะแนน 6.8/10 จากอินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส (ไอเอ็มดีบี)

ด้วยการที่หนึ่งในตัวละครหลักไม่มีโอกาสได้สื่อสารด้วยคำพูดตลอดทั้งเรื่อง ผู้กำกับได้นำคนดูไปสัมผัสกับภาวะไร้อำนาจที่ชาวโรฮิงญาต้องเผชิญในการสื่อสารต่อสาธารณชนและการกำหนดชะตากรรมของตัวเอง

Richard Kuipers : Variety[14]

... หนังไม่เพียงสื่อสารประเด็นเกี่ยวกับ “ชาวโรฮิงญา” หากยังพยายามสำรวจตรวจสอบสภาพ “ความเป็นมนุษย์” ไปจนถึงระดับรากฐานที่สุด นั่นคือ การเป็นมนุษย์ผู้เปลือยเปล่า ไร้ตัวตน ไร้ที่อยู่อาศัย ไร้ภาษา ทว่า พร้อมๆ กันนั้น หนังก็ฉายภาพให้เห็นว่าสรรพสิ่งและสรรพชีวิตต่างๆ เช่น แสงไฟ LED ที่ทำให้บ้านไม้โทรมๆ กลายสภาพเป็นดิสโก้เธค และทำให้มนุษย์ธรรมดาเป็นมาก/น้อยกว่ามนุษย์ปกติ, หินสีลึกลับทรงคุณค่าในพื้นที่ป่า ตลอดจนกระเบนราหูในท้องทะเล ล้วนโอบล้อมชะตากรรม-โศกนาฏกรรมของมนุษย์เอาไว้

คนมองหนัง : มติชน สุดสัปดาห์ ฉบับ 12-18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[15]


รางวัล[แก้]

  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส 2018 ประเทศอิตาลี
    • รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภท Orizzonti/Horizon (สุนทรียภาพในการเล่าเรื่อง)
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติซาเกร็บ 2018 ประเทศโครเอเชีย
    • รางวัลภาพยนตร์ที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษ
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงมินสค์ 2018 ประเทศเบลารุส
    • รางวัล Special Jury Award
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติไคโร 2018 ประเทศอียิปต์
    • รางวัลพีระมิดเงินสำหรับผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง)
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมุมไบ 2018 ประเทศอินเดีย
    • รางวัล Golden Gateway Award
  • เทศกาลภาพยนตร์เทสซาโลนิกิ 2018 ประเทศกรีซ
    • รางวัลผลสัมฤทธิ์ในทางศิลปะ (นวโรภาส รุ่งพิบูลโสภิษฐ์)
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอ็องโนเนย์ 2019 ประเทศฝรั่งเศส
    • รางวัล Grand Jury Prize Award
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกาบูร์ 2019 ประเทศฝรั่งเศส
    • รางวัลภาพยนตร์ที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษ
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติไทเป 2019 ประเทศไต้หวัน
    • รางวัลภาพยนตร์ที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษ
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอาเซียน ครั้งที่ 5 ประเทศไทย
    • ภาพยนตร์อาเซียนยอดเยี่ยม
  • สมาคมผู้ติดตามภาพยนตร์นานาชาติ (The International Cinephile Society)
    • รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 16
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 17 ประจำปี พ.ศ. 2562
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม
  • รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 28
    • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม

อ้างอิง[แก้]

  1. https://m.imdb.com/title/tt8837018/?ref_=m_ttawd_tt
  2. "Phuttiphong Aroonpheng at IFFR". IFFR (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-11-06.
  3. https://www.bbc.com/thai/features-45469513
  4. https://m.imdb.com/event/ev0000141/2018/1/
  5. "'Snowdrops' page, featuring Christine Ott and Mathieu Gabry".
  6. Batlle, Diego (9 กันยายน 2018). "'Climatic, minimalist, intoxicating, hypnotic and at times surrealistic in its circular structure, Manta Ray has an unusually seductive capacity for a first film (the musical contribution of the French duo composed of Christine Ott and Mathieu Gabry is also precious).'". Otros Cines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2018.
  7. Romney, Jonathan (23 กันยายน 2018). "'With a rich sound design, and a haunting score by French keyboard-based duo Snowdrops, Aroonpheng and DoP Nawarophaat Rungphiboonsophit create an impressionistic atmosphere'". Screen Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2018.
  8. Kuipers, Richard (7 กันยายน 2018). "'Elegantly edited by the team of rising young talent Harin Paesongthai ("Someone From Nowhere") and Thai cutting-room ace Lee Chatametikool (most of Apichatpong Weerasethakul's films)'". Variety. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2018.
  9. Faranda, Ivana (10 กันยายน 2018). "Manta Ray (2018) reviewed by Ecodelcinema (ita)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2018.
  10. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/869042
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  12. https://www.nationthailand.com/movie/30354229
  13. https://cineuropa.org/en/newsdetail/359995/
  14. https://variety.com/2018/film/festivals/manta-ray-review-1202929088
  15. https://www.matichonweekly.com/entertainment/article_210646