ภาษาโซ่ (ทะวืง)
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาข่าตองเหลือง)
ภาษาโซ่ (ทะวืง) | |
---|---|
พาซา โซ่ (ทะวืง) | |
ออกเสียง | /pʰasa¹ so³ tʰawɨŋ¹/ [pʰaːˈsâː ˈsô̰ː tʰaˈwɨ̂ːŋ] |
ประเทศที่มีการพูด | ไทย, ลาว |
จำนวนผู้พูด | 700 คน (2550[1]) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรไทย (ในไทย) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ![]() |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | thm |
ภาษาโซ่ (ทะวืง) หรือ ภาษาทะวืง มีผู้พูดทั้งหมด 2,520 คน พบในไทย 750 คน (พ.ศ. 2539) ในจังหวัดสกลนคร พูดภาษาลาวได้ด้วย ในลาวมี 1,770 คน (พ.ศ. 2543) จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร สาขาเวียตติก ในประเทศไทยบางครั้งเรียกภาษานี้ว่าภาษาโซ่
สัทวิทยา
[แก้]พยัญชนะ
[แก้]ลักษณะการออกเสียง | ตำแหน่งเกิดเสียง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||||
เสียงนาสิก | m | n | ɲ | ŋ | ||||
เสียงหยุด | ก้อง | b | d | |||||
ไม่ก้อง | ไม่พ่นลม | p | t | c | k | ʔ | ||
พ่นลม | pʰ | tʰ | kʰ | |||||
เสียงเสียดแทรก | (f) | s | h | |||||
เสียงข้างลิ้น | l | |||||||
เสียงกึ่งสระ | w | j |
- หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 11 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ŋ/, /p/, /t/, /k/, /ʔ/, /s/, /h/, /w/ และ /j/
- หน่วยเสียง /c/ อาจออกเสียงเป็น [c] หรือ [t͡ɕ][3]
- หน่วยเสียง /f/ พบเฉพาะในคำยืมจากภาษาไทย ผู้พูดรุ่นเก่ามักออกเสียงพยัญชนะนี้เป็น [pʰ][4]
- หน่วยเสียง /s/ เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นพยางค์ออกเสียงเป็น [s] หรือ [ʃ] และเมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์ออกเสียงเป็น [ç][3]
สระ
[แก้]สระเดี่ยว
[แก้]ระดับลิ้น | ตำแหน่งลิ้น | ||
---|---|---|---|
หน้า | กลาง | หลัง | |
สูง | i | ɨ | u |
กึ่งสูง | e | ə | o |
กึ่งต่ำ | ʌ | ||
ต่ำ | ɛ | a | ɔ |
สระประสม
[แก้]หน่วยเสียงสระประสมภาษาโซ่ (ทะวืง) ถิ่นหนองม่วงและหนองแวงมี 2 หน่วยเสียง[5] ได้แก่ /ia/ และ /ua/
ลักษณะน้ำเสียง
[แก้]ภาษาโซ่ (ทะวืง) ถิ่นหนองม่วงและหนองแวงมีลักษณะน้ำเสียง 3 ลักษณะ ได้แก่
- ลักษณะน้ำเสียงปกติ มีเสียงย่อย 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเสียงกึ่งสูงระดับ [V] ระดับเสียงกึ่งสูง-ตก [V̂] และระดับเสียงกึ่งสูง-ขึ้น [V́])
- ลักษณะน้ำเสียงทุ้มต่ำ [V̤̀]
- ลักษณะน้ำเสียงสูงบีบ [V̰̂]
ในปัจจุบันลักษณะน้ำเสียงเหล่านี้อยู่ระหว่างการพัฒนาขึ้นมาเป็นเสียงวรรณยุกต์[6]
ระบบการเขียน
[แก้]ตัวเขียนภาษาโซ่ (ทะวืง) อักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้
|
|
|
อ้างอิง
[แก้]- Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/
- ↑ Thavưng at Ethnologue (18th ed., 2015)
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). คู่มือระบบเขียนภาษาโซ่ (ทะวืง) อักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 26.
- ↑ 3.0 3.1 Premsrirat, Suwilai. "Phonological characteristics of So (Thavung), a Vietic language of Thailand." Mon-Khmer Studies 26 (1996): 161-178.
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). คู่มือระบบเขียนภาษาโซ่ (ทะวืง) อักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 11.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). คู่มือระบบเขียนภาษาโซ่ (ทะวืง) อักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 29.
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). คู่มือระบบเขียนภาษาโซ่ (ทะวืง) อักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 4.