ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเกาะยาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
รักษ์อันดามัน (คุย | ส่วนร่วม)
สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 9023248 โดย 2001:44C8:4284:6809:1:1:D196:87FB: ลอกจาก https://www.aonangboat.com/856463/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99-%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%8C...
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล อำเภอ
{{กล่องข้อมูล อำเภอ
| name = เกาะยาว
| name = เกาะยาว
บรรทัด 25: บรรทัด 26:
* '''ทิศตะวันตก''' ทะเลอันดามัน [[จังหวัดภูเก็ต]]
* '''ทิศตะวันตก''' ทะเลอันดามัน [[จังหวัดภูเก็ต]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
บรรพบุรุษของชาวเกาะยาวได้อพยพมาจาก[[จังหวัดตรัง]]ตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวน้อย และ [[สตูล]] จะตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวใหญ่ และอื่น ๆ ที่อยู่แถบนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ([[พ.ศ. 2328]]) ขณะที่[[พม่า]]ได้ยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ผู้ที่หนีมาเห็นว่าเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่มีความเหมาะสมที่จะหลบภัย จึงได้ตั้งหลักแหล่งบริเวณนี้
บรรพบุรุษของชาวเกาะยาวได้อพยพมาจาก[[จังหวัดตรัง]]ตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวน้อย และ [[สตูล]] จะตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวใหญ่ และอื่น ๆ ที่อยู่แถบนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ([[พ.ศ. 2328]]) ขณะที่[[พม่า]]ได้ยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ผู้ที่หนีมาเห็นว่าเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่มีความเหมาะสมที่จะหลบภัย จึงได้ตั้งหลักแหล่งบริเวณนี้


บรรทัด 99: บรรทัด 100:
* '''เที่ยวเรือเพิ่มใหม่'''
* '''เที่ยวเรือเพิ่มใหม่'''
จากเกาะยาวใหญ่ออกจากท่าเรือแหลมใหญ่ เทียบท่าท่าเรือแหลมหิน จังหวัดภูเก็ต
จากเกาะยาวใหญ่ออกจากท่าเรือแหลมใหญ่ เทียบท่าท่าเรือแหลมหิน จังหวัดภูเก็ต

== '''สถานที่ท่องเที่ยว''' ==
'''สถานที่ท่องเที่ยว'''

'''1. เกาะผักเบี้ย''' เป็นเกาะเล็กๆ อยู่ทางด้านหลังของเกาะห้อง น้ำทะเลที่นี่ใสสะอาด เหมาะแก่การลงเล่นน้ำบรรยากาศเงียบสงบร่มรื่น ไปด้วย ต้นไม้น้อยใหญ่ที่อยู่ริมหาด เกาะผักเบี้ยนี้ แม้ว่าจะมีแนวชายหาดที่ไม่กว้างมากนัก แต่ก็มีหาดทรายที่ขาวสะอาดไม่แพ้ หาดอื่นๆ เมื่อน้ำลงสันทรายที่เกาะผักเบี้ยนี้จะปรากฏเป็นแนวยาวไปจนจรดอีกเกาะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า เกาะผักเบี้ย เช่นกัน และสามารถเดินถึงกันได้ในเวลาน้ำลงเต็มที่เท่านั้น เพราะในเวลาที่น้ำขึ้น น้ำก็จะแยกเกาะผักเบี้ยออกเป็นสองเกาะนั่นเอง

'''2. เกาะห้อง''' เป็นเกาะหินปูนที่ถูกล้อมรอบด้วยผนังหน้าผาชัน มีลักษณะคล้ายห้องขนาดใหญ่ มีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว จึงเรียกกันว่า “เกาะห้อง” นักท่องเที่ยวนิยมมาพายเรือคายักชมทิวทัศน์และลอดถ้ำเล็ก ๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปโดยรอบ และช่วงเวลาน้ำลงจะสามารถเดินเลียบเลาะไปตามแนวสันทรายขนาดไม่กว้างนักบริเวณขอบรอบๆ เกาะห้องได้

'''3. เกาะกูดู''' เกาะกูดู เป็นเกาะหินปูนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะยาวน้อย และเป็นอีกหนึ่งเกาะที่มีชื่อเสียงของพังงา ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ด้วยความที่เป็นเกาะที่เงียบสงบ และน้ำทะเลยังเป็นสีฟ้าคราม เหมาะที่จะมานอนอาบแดด เล่นน้ำทะเล

'''4. เกาะไข่นอก''' เกาะที่มีลักษณะคล้ายไข่ดาวอยู่กลางทะเล เป็นอีกหนึ่งเกาะเล็ก ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวพังงา เหมาะกับการทำกิจกรรม อย่างเช่น การดำน้ำดูปะการัง มีชายหาดขาว สามารถลงเล่นน้ำได้

'''5. เกาะลาดิง''' เป็นเกาะเล็กๆ เกาะสัมปทานรังนก อยู่ไม่ไกลจากเกาะห้อง เป็นอีกหนึ่งเกาะสวรรค์ของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่มีหาดสวยและน้ำใส จนได้ชื่อว่า Paradise Island รอบๆ เกาะถูกล้อมรอบไปด้วยภูเขาหินปูนขนาดใหญ่

'''6. กระชังบังหนีด (กระชังบ้านมังกร)''' “กระชังบ้านมังกร” ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าหาดแหลมไทร การไปเยี่ยมชมกระชังนั้นต้องนั่งเรือหัวโทงจากชายหาดออกไปอีกประมาณ 5 นาที “บังหนีด” และ “บังดำ” หุ้นส่วนใหญ่ของกระชังบ้านมังกรเล่าให้พวกเราฟังว่าทำกระชังเลี้ยงปลาและกุ้งมังกรมาเกือบ 20 ปีแล้ว (รวมถึงตอนที่เกิดภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิด้วย) แต่เพิ่งเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นเยี่ยมชมมาแค่ประมาณ 3 ปี (ประมาณปี พ.ศ. 2549 – 2550)

'''7. ผ้าบาติก สินค้าOTOP ชุมชนบ้านท่าเขา''' แม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าเขา ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา จำนวน 15 คน ได้รวมกันจัดทำเป็นกลุ่มท่องเที่ยวอาชีพ-เกษตรขึ้นเป็นกลุ่มแรกของจังหวัด เพราะเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเข้ามาพักผ่อนเป็นจำนวนมากทุกปี


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
บรรทัด 127: บรรทัด 111:
[[หมวดหมู่:เกาะในประเทศไทย|ยาว]]
[[หมวดหมู่:เกาะในประเทศไทย|ยาว]]
{{โครงจังหวัด}}
{{โครงจังหวัด}}
[[หมวดหมู่:สถานที่ท่องเที่ยวในเกาะยาว]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:13, 2 ตุลาคม 2563

อำเภอเกาะยาว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ko Yao
คำขวัญ: 
เกาะสามเมือง ลือเลื่องการท่องเที่ยว หนึ่งเดียวรังนก มรดกอันดามัน มหัศจรรย์น้ำทะเลจืด
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอเกาะยาว
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอเกาะยาว
พิกัด: 8°6′42″N 98°35′27″E / 8.11167°N 98.59083°E / 8.11167; 98.59083
ประเทศ ไทย
จังหวัดพังงา
พื้นที่
 • ทั้งหมด141.3 ตร.กม. (54.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)
 • ทั้งหมด14,366 คน
 • ความหนาแน่น101.89 คน/ตร.กม. (263.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 82160
รหัสภูมิศาสตร์8202
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเกาะยาว ถนนกาลัญกุล ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 82160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอเกาะยาว ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา

ที่ตั้งและอาณาเขต

เกาะยาว มีพื้นที่ประมาณ 137.6 ตร.กม. ประกอบด้วย 2 เกาะใหญ่ คือ เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ อีกทั้งยังถูกล้อมรอบด้วยเกาะเล็กๆ อีกมากมาย มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

บรรพบุรุษของชาวเกาะยาวได้อพยพมาจากจังหวัดตรังตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวน้อย และ สตูล จะตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวใหญ่ และอื่น ๆ ที่อยู่แถบนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2328) ขณะที่พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ผู้ที่หนีมาเห็นว่าเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่มีความเหมาะสมที่จะหลบภัย จึงได้ตั้งหลักแหล่งบริเวณนี้

พ.ศ. 2446 ทางราชการยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอเกาะยาว แยกออกมาจากอำเภอเมืองพังงา และขึ้นต่อเมืองพังงา ได้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอหลังแรกเมื่อปี พ.ศ. 2463 ต่อมาได้ย้ายมาในที่ว่าการปัจจุบันในปี พ.ศ. 2508

ต่อมาข้าราชการและประชาชนต้องการให้ยกกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็นอำเภอเกาะยาว ตลอดจนจังหวัดพังงาได้สนับสนุนให้ทางราชการยกฐานะให้ รวมได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย จนในที่สุดก็ได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็น อำเภอเกาะยาว ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอ 85 ปี นับว่าเป็นกิ่งอำเภอที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเกาะยาวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เกาะยาวน้อย (Ko Yao Noi) 7 หมู่บ้าน
2. เกาะยาวใหญ่ (Ko Yao Yai) 4 หมู่บ้าน
3. พรุใน (Phru Nai) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเกาะยาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเกาะยาว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะยาวน้อย
  • เทศบาลตำบลพรุใน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรุในทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวน้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเกาะยาว)

ประชากร

  • เชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวไทย
  • อาชีพ ส่วนใหญ่เป็นชาวประมงและเกษตรกรรม
  • ศาสนา ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมร้อยละ 99.9 ชาวไทยพุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 0.1

การเดินทางไปเกาะยาวน้อย

  • จากจังหวัดพังงา

เที่ยวไป จากท่าเรือท่าด่านศุลกากร - เกาะยาวน้อย (ท่าเรือมาเนาะ หรือ ท่าเรือสุขาภิบาล ขึ้นอยู่กับน้ำขึ้นน้ำลงด้วย) มีเรือออกวันละ 1 เที่ยว เวลาเที่ยงตรง เที่ยวกลับ จากเกาะยาวน้อย - ท่าเรือท่าด่านศุลกากร มีเรือออกเวลา 7 โมงเช้า ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชม.ครึ่ง

  • จากจังหวัดภูเก็ต

เที่ยวไป จากท่าเรือบางโรง มีเรือโดยสารขนาดใหญ่และเรือโดยสารแบบติดเครื่องยนต์เร็ว ( Speed Boat )ออกวันละ 9 เที่ยว ตั้งแต่เวลาประมาณ 07.50 นาฬิกา โมงเช้าถึง 17.40 นาฬิกา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที เที่ยวกลับ จากท่าเรือเกาะยาวน้อย - ท่าเรือบางโรง มีเรือออกวันละ 7 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น

  • จากจังหวัดกระบี่

ลงเรือที่ท่าเรือท่าเลน มีเรือโดยสาร แบบเรือหางยาวและเรือสปีดโบ๊ท เที่ยวแรกออก ตั้งแต่เวลา 8.00น จนถึงเที่ยวสุดท้าย 17.50 น. เรือวิ่งทุกชั่วโมง ใช้เวลาในการเดินทาง 15-20นาที สำหรับเรือเร็ว 35-50นาที สำหรับเรือหางยาว

การเดินทางไปเกาะยาวใหญ่

  • จังหวัดภูเก็ต

เที่ยวไป

  1. 08.30 น. ท่าเรือเจียรวานิช (เรือเร็ว)
  2. 11.00 น. ท่าเรือเจียรวานิช (วันศุกร์เรือออก 10.30 น.)
  3. 14.00 น. ท่าเรือเจียรวานิช (เรือข้ามฟากเอารถยนต์ลงเรือได้)
  4. 17.00 น. ท่าเรือเจียรวานิช (เรือเร็ว)
  • จังหวัดพังงา

เที่ยวกลับ

  1. 07.20 น. ท่าเรือโละจาก (เรือเร็ว)
  2. 08.00 น. ท่าเรือโละจาก (เรือข้ามฟาก)
  3. 14.00 น. ท่าเรือโละจาก (เรือข้ามฟาก)
  4. 15.00 น. ท่าเรือโละจาก (เรือยนต์โดยสารไม้)
  • เที่ยวเรือเพิ่มใหม่

จากเกาะยาวใหญ่ออกจากท่าเรือแหลมใหญ่ เทียบท่าท่าเรือแหลมหิน จังหวัดภูเก็ต

แหล่งข้อมูลอื่น