เกาะโลซิน
โลซิน Losin | |
---|---|
ที่ตั้ง | ทะเลจีนใต้ |
พิกัด | 7°19′N 101°56′E / 7.317°N 101.933°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 7°19′N 101°56′E / 7.317°N 101.933°E
|
ระดับสูงสุด | 10 เมตร |
จุดสูงสุด | เกาะโลซิน |
![]() | |
จังหวัด | ปัตตานี
|
เกาะโลซิน (อักษรโรมัน: Ko Losin) เป็นเกาะหินปูนขนาดย่อมกลางทะเลอ่าวไทย ขึ้นอยู่กับจังหวัดปัตตานี เป็นแหล่งดำน้ำและตกปลาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง และเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในประเทศไทย[1][2]
ประวัติ[แก้]
แต่เดิมที่นี่เคยเป็นดินแดนพิพาทระหว่างไทยกับมาเลเซีย โดยมาเลเซียได้ทำการอ้างสิทธิ์เหนือเกาะโลซินและหมู่เกาะกระในจังหวัดนครศรีธรรมราช[3][4] ด้วยมาเลเซียได้แบ่งเขตไหล่ทวีปทับซ้อนพื้นที่สัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทำให้ไทยเสียเปรียบ แต่เวลาต่อมาคณะเจรจาไปพบเกาะหินกลางทะเล นั่นคือ "เกาะโลซิน" จึงได้ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1958 ให้โลซินมีสถานะเป็นเกาะ ไทยจึงสามารถประกาศสิทธิเขตเศรษฐกิจจำเพาะจากแนวน้ำลดบริเวณชายฝั่งออกไปได้ 200 ไมล์ทะเล ซึ่งครอบคลุมแหล่งก๊าซด้วย[5]
ภายหลังปี พ.ศ. 2521 ไทยและมาเลเซียจึงได้ตกลงกันกำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร โดยตั้งองค์กรขึ้นมาบริหารจัดการร่วมกันแล้วแบ่งผลประโยชน์กันคนละครึ่ง[6]
ปัจจุบันเกาะโลซิน เป็นเกาะที่ไม่มีคนอาศัย ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี[7][8] จากที่นี่ห่างจากหาดวาสุกรีในเขตอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประมาณ 72 กิโลเมตร[2]
ลักษณะ[แก้]
ตัวเกาะโผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 100 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วนไม่มีต้นไม้ใบหญ้า รอบเกาะน้ำตื้น หากจะขึ้นเกาะต้องนำเรือเล็กเข้าไป[9] บนเกาะมีประภาคาร ที่ส่งไฟสัญญาณเตือนอยู่บนยอด และตัวประภาคารตั้งอยู่บนหินโผล่น้ำที่มีขนาดประมาณ 10 เมตร[10] บริเวณรอบเกาะเป็นแหล่งปะการังที่อุดมสมบูรณ์กินพื้นที่ยาวหนึ่งกิโลเมตร[2] มีพืชใต้น้ำและฝูงปลานานาชนิดโดยเฉพาะฉลามวาฬ[1][11] ด้วยเหตุนี้เกาะโลซินเป็นที่นิยมของนักดำน้ำและนักตกปลา[12]
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 นายอาคม พูนชนะ ไต๋เรือได้ขับเรือขนส่งเงินตราต่างประเทศมูลค่ารวม 119 ล้านบาทได้เพื่อนำมาส่งลูกค้าที่เกาะโลซิน ในวันที่ 2 ตุลาคม เวลาประมาณ 10.00 น. เรือได้ถูกปล้นต่อมาพบว่า นายอาคม พูนชนะ มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการปล้นทรัพย์นับเป็นเหตุการณ์ปล้นทรัพย์ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย และตำรวจตั้งข้อสังเกตว่าลูกเรือทั้ง 7 ราย น่าจะเสียชีวิตเพราะถูกฆาตกรรมในทะเล[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 ธัชดล ปัญญาพาณิชกุล (1 ตุลาคม 2554). ""โลซิน" สวรรค์ใต้น้ำที่ปลายด้ามขวาน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "ดำน้ำ โลซิน เกาะเล็ก ๆ แต่ยิ่งใหญ่". กระปุกดอตคอม. 15 กันยายน 2553. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ Undelimited Maritime Boundaries of the Asian Rim
- ↑ Nguyen, Hong Thao (1999). "Joint development in the Gulf of Thailand" (PDF). IBRU Boundary and Security Bulletin Autumn 1999. สืบค้นเมื่อ 2008-04-24. Cite journal requires
|journal=
(help) - ↑ "'โลซิน' หลักเขตทางทะเล". กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 1 ตุลาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ วินิจ รังผึ้ง (13 ตุลาคม 2552). "โลซิน กองหินแสนล้าน". ASTVผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "จังหวัดปัตตานี". กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "จังหวัดปัตตานี". ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเกาะ. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "ปริศนาคดีปล้นเรือขนเงินร้อยล้าน...ปริศนาเกาะโลซิน ปัตตานี". อิศรา. 29 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ http://www.tkc.go.th/index.aspx?parent=111&pageid=157&directory=1203&contents=1858&pagename=content
- ↑ วินิจ รังผึ้ง (20 กันยายน 2554). "ดำน้ำกับฉลามวาฬที่โลซิน". ASTVผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/puttani2.htm
- ↑ https://www.tnamcot.com/view/5ab0ee22e3f8e420aa43cd6d
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|