เกาะง่าม

พิกัด: 11°57′04″N 102°26′26″E / 11.951052°N 102.440578°E / 11.951052; 102.440578
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ง่าม
เกาะง่ามตั้งอยู่ในจังหวัดตราด
เกาะง่าม
เกาะง่าม
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งอ่าวไทย
พิกัด11°57′04″N 102°26′26″E / 11.951052°N 102.440578°E / 11.951052; 102.440578
กลุ่มเกาะกลุ่มเกาะช้าง
พื้นที่0.51[1] ตารางกิโลเมตร (0.20 ตารางไมล์)
ความยาว0.7 กม. (0.43 ไมล์)
ความกว้าง0.6 กม. (0.37 ไมล์)
ระดับสูงสุด124 ม. (407 ฟุต)
การปกครอง
จังหวัดตราด
อำเภอเกาะช้าง
ตำบลเกาะช้างใต้
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา
รหัสไปรษณีย์23170
รหัสภูมิศาสตร์230702

เกาะง่าม (อังกฤษ: Ko Ngam) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย อยู่ในตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด มีพื้นที่ 0.51 ตารางกิโลเมตร[2] เป็นเกาะที่มีแนวสันทรายคล้ายสะพานธรรมชาติเชื่อมระหว่างสองฝากเกาะ

ประวัติและที่มาของชื่อ[แก้]

ชื่อ "เกาะง่าม" ปรากฏในน่านน้ำประเทศไทย คือ ในจังหวัดตราด เกาะง่าม เป็นเกาะในกลุ่มเกาะช้าง และจังหวัดชุมพร เกาะง่ามใหญ่ เกาะง่ามเล็ก เป็นเกาะในหมู่เกาะง่าม กลุ่มเกาะชุมพร ที่มาของชื่อเกาะเหล่านี้มาจากลักษณะสัณฐานของเกาะที่เป็นแท่ง ๆ เป็นง่าม

ในปี 2525 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประกาศให้เกาะง่ามเป็นพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2546 กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้นำกำลังเข้ารื้อถอนบ้านพักของรีสอร์ทแห่งหนึ่งบนเกาะ และเกิดเป็นข้อพิพาท ในเดือนมกราคม 2550 ศาลแพ่งจังหวัดตราดได้มีคำพิพากษาให้กรมอุทยานแห่งชาติออกจากพื้นที่และชดเชยค่าเสียหายบางส่วน[3][4]

ภูมิประเทศ[แก้]

เกาะง่ามเป็นเกาะขนาดเล็กมีพื้นที่ 0.51 ตารางกิโลเมตร [2] จากเหนือจรดใต้ 0.6 กิโลเมตร และจากตะวันออกไปตะวันตก 0.7 กิโลเมตร เกาะง่ามเป็นหนึ่งใน 30 กว่าเกาะในกลุ่มเกาะช้าง (Ko Kut Archipelago) อยู่ห่างจากเกาะช้างทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 200 เมตร ใกล้อ่าวสลักเพชร มีลักษณะเป็น 2 ง่ามคือเป็นเกาะทรงแท่งยาวสองฝากขนาบกันตามแนวนอนและเชื่อมกันด้วยคอคอดเล็ก ๆ เรียก หาดเกาะง่าม เป็นแนวสันทรายกว้างประมาณ 40 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร คล้ายสะพานธรรมชาติกลางทะเล[5]

ลักษณะของเกาะที่เป็นแนวเนินเขาและปกคลุมด้วยป่าทึบสองฝากขนาบกันเป็นแนวยาวนี้ เป็่นช่องลมขนาดใหญ่และบางครั้งเป็นอันตรายต่อการแล่นเรือเล็ก โดยเฉพาะลมพัดที่ผ่านคอคอดสู่บริเวณอ่าวทางด้านใต้ในช่วงที่ลมตะวันออกเฉียงเหนือก่อตัวขึ้น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนมกราคม[6]

เกาะใกล้กัน[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เกาะในประเทศไทย - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "เกาะในประเทศไทย - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "กรมอุทยานฯแพ้ไม่เป็นท่า - ศาลตัดสินคืนเกาะง่ามรีสอร์ทให้เจ้าของเดิม". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2007-01-24.
  4. "สัมภาษณ์ : ดุจหทัย นาวาพานิช". mgronline.com. 2007-05-22.
  5. "สำนักอุทยานแห่งชาติ :: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช". portal.dnp.go.th.
  6. Cruising Guide: Koh Chang, Koh Wai, Koh Mak, Koh Kut, Koh Rang Marine National Park. Island Spirit, Yacht Charter (PDF) เก็บถาวร 2021-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2564.