เกาะน้อย (กรุงเทพมหานคร)


เกาะน้อย เป็นเกาะขนาดเล็กเกาะหนึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร บนเกาะมีเก๋งจีนขนาดน้อยหลังหนึ่ง และมีต้นอินทผลัมสองหรือสามต้นขึ้นอยู่[1]
มีภาพเพียงไม่กี่ชิ้นที่แสดงความมีตัวตนของเกาะน้อย ภาพหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ "ภาพเงาต้นไม้" ผลงานของฟรานซิศจิตร หรือหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี) ที่ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2407 นอกจากนี้เกาะน้อยยังปรากฏใน "นิราศยี่สาร" ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ (กุหลาบ ตฤษณานนท์) ที่แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2422 เมื่อล่องเรือผ่านหน้าวัดอรุณราชวรารามเพื่อไปไหว้พระที่เขายี่สาร[1] ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สยามไสมยของหมอสมิธ เมื่อปี พ.ศ. 2427 ความว่า[2]
ตะพานท่าน่ามุขมีสี่น่า | รูปกุมภาทำด้วยหินดิ้นไม่ไหว | |
สองตัวคู่อยู่ริมท่าชะลาไล | ตรงนั้นไซ้มีช่องร่องวาริน |
แผ่นผาสีลาลาศดูหลาดเหยาะ | ทำเปนเกาะฝั่งท่าชะลาสินธุ | |
มีเขื่อนคั่นรายรอบเปนขอบดิน | ปลูกต้นอินทะผาลำมีหนามคม |
ใบกาง ๆ มีทางคล้ายกับตาล | รศผลหวานแหลมชิดสนิทสนม | |
มีเก๋งใกล้ไปมาเปนท่าลม | ดูน่าชมท่าเรือจ้างหนทางจร๚ะ |
มีความหมายโดยรวมว่า บริเวณสะพานท่าเรือจ้างมีรูปปั้นจระเข้หินสองตัวอยู่ใกล้กับร่องน้ำที่คั่นระหว่างแผ่นดินใหญ่กับเกาะขนาดน้อยเกาะหนึ่ง รอบเกาะมีเขื่อนคั่นไว้โดยรอบ ปลูกต้นอินทผลัมและมีเก๋งไว้นั่งรับลม[2]
จากการศึกษาค้นคว้าของเอนก นาวิกมูล พบว่าเกาะน้อยถูกขุดลอกไปโดยกองทัพเรือ เนื่องจากกองทัพเรือตั้งอยู่พระราชวังเดิมข้างวัดอรุณราชวรารามนั่นเอง เกาะน้อยจึงกีดขวางการกลับลำของเรือ แต่ขุดลอกไปเมื่อไหร่นั้นไม่เป็นที่ปรากฏ[1]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "เกาะน้อยหน้าวัด". เมืองโบราณ. 30 มีนาคม 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 เอนก นาวิกมูล. "จระเข้บอกตำแหน่งเกาะ นายเรืองถูกเปลี่ยนหัว". ศิลปวัฒนธรรม. 20:6 เมษายน 2542, หน้า 34