ข้ามไปเนื้อหา

ป้อมผีเสื้อสมุทร

พิกัด: 13°35′42″N 100°35′15″E / 13.5950191°N 100.5874193°E / 13.5950191; 100.5874193
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้อมผีเสื้อสมุทร
ส่วนหนึ่งของป้อมพระจุลจอมเกล้า
ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ในประเทศไทย
บริเวณทางเข้าสู่ป้อมผีเสื้อสมุทร
ประเภทป้อมปราการ
ข้อมูล
ควบคุมโดยกองทัพเรือไทย
เปิดสู่
สาธารณะ
ใช่
สภาพปิดใช้งาน
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2362
สร้างสำหรับเป็นป้อมยุทธนาวี
สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
การใช้งานพิพิธภัณฑ์
วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก
การต่อสู้/สงครามวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนป้อมผีเสื้อสมุทร
ขึ้นเมื่อ23 มิถุนายน พ.ศ. 2566
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตจังหวัดสมุทรปราการ
เลขอ้างอิง0006006

ป้อมผีเสื้อสมุทร ตั้งอยู่บนเกาะแม่น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านใต้พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2362 ซึ่งอยู่ในระหว่างทางเดินเรือ 2 ทาง แต่การสร้างป้อมในครั้งนั้นไม่แล้วเสร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 2365 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงดำเนินการแก้ไขป้อมผีเสื้อสมุทรให้ดียิ่งขึ้น จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จไปทรงแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง

ตัวป้อมมีลักษณะเหมือนผีเสื้อ ใช้ด้านหางผีเสื้อเป็นทางเข้า ต่อมาทางเดินเรือด้านตะวันตกตื้นเขินจนเรือใหญ่ไม่สามารถแล่นผ่านได้ ที่ตั้งป้อมจึงดูชิดติดกับฝั่งธนบุรี

ในสมัยสร้างป้อมขึ้นครั้งแรก อาวุธประจำป้อมใช้ปืนบรรจุลูกดินทางปากกระบอก และได้เริ่มใช้ปืนใหญ่บรรจุลูกทางท้ายแทน เมื่อปี พ.ศ. 2435 เป็นปืนชนิดหลุม (ปืนเสือหมอบ) ขนาด 6 นิ้ว รวม 3 กระบอก โดยสั่งซื้อจากบริษัท วิกเกอร์ อาร์มสตรอง ประเทศอังกฤษ และนายพลเรือโท พระยาวิจิตรนาวี (วิลเลียม บุณยะกลิน) เป็นนายช่างกลทำการติดตั้งปืนนี้ ต่อจากการติดตั้งปืนใหญ่ชนิดเดียวกันกับที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า

ป้อมผีเสื้อสมุทรแห่งนี้เคยทำการยิงต่อสู้กับหมู่เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ ที่ล่วงล้ำเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°35′42″N 100°35′15″E / 13.5950191°N 100.5874193°E / 13.5950191; 100.5874193