ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไวพจน์ เพชรสุพรรณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เกิดเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485<ref>{{Cite web |language=en |author= |title=Musical Suphan Buri woos Unesco with song |url=https://www.nationthailand.com/news/30381011?utm_source=category&utm_medium=internal_referral |website=nationthailand.com |publisher=Nation |date=24 January 2020 }}</ref> ที่ หมู่ 2 ตำบลมะขามล้ม (ปัจจุบันเป็น ตำบลวังน้ำเย็น) [[อำเภอบางปลาม้า]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] เป็นบุตรนายจำปี และนางอ่ำ สกุลณี เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว<ref>{{cite web|url=http://www.komchadluek.net/detail/20150910/213122.html|title=สลักชื่อ'ครูพงษ์ศักดิ์'ไว้บนแผ่นดินลูกทุ่ง |date=10 September 2015|accessdate=10 September 2015|publisher=คมชัดลึก}}</ref> เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [[โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น]] อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เกิดเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485<ref>{{Cite web |language=en |author= |title=Musical Suphan Buri woos Unesco with song |url=https://www.nationthailand.com/news/30381011?utm_source=category&utm_medium=internal_referral |website=nationthailand.com |publisher=Nation |date=24 January 2020 }}</ref> ที่ หมู่ 2 ตำบลมะขามล้ม (ปัจจุบันเป็น ตำบลวังน้ำเย็น) [[อำเภอบางปลาม้า]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] เป็นบุตรนายจำปี และนางอ่ำ สกุลณี เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว<ref>{{cite web|url=http://www.komchadluek.net/detail/20150910/213122.html|title=สลักชื่อ'ครูพงษ์ศักดิ์'ไว้บนแผ่นดินลูกทุ่ง |date=10 September 2015|accessdate=10 September 2015|publisher=คมชัดลึก}}</ref> เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [[โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น]] อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

== เข้าสู่วงการ ==
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เริ่มหัดร้อง[[เพลงอีแซว]] เพลงพื้นบ้านของ จ.สุพรรณบุรี ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ โดยได้ฝึกหัดและหัดตามมารดา ซึ่งเป็นแม่เพลงอีแซว จนสามารถร้องเพลงอีแซว และเพลง[[แหล่]]ได้เมื่ออายุ 14 ปี จากนั้นได้หัดร้อง[[ลิเก]]กับคณะลิเกประทีป แสงกระจ่าง เมื่ออายุ 16 ปีได้เข้าประกวดร้องเพลงครั้งแรกที่[[วัดท่าตลาด]] ต.[[วัดโบสถ์]] อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพลงที่ร้องเป็นเพลงแหล่ของ [[พร ภิรมย์]] ชื่อเพลง “[[จันทโครพ]]” ปรากฏว่าได้รางวัลที่ 1

ในช่วงนั้น ไวพจน์สนใจขับร้องเพลงลูกทุ่งมาก เพราะเป็นช่วงที่มีนักร้องลูกทุ่งมีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากมาย เช่น [[ชัยชนะ บุญนะโชติ]], [[ไพรวัลย์ ลูกเพชร]] , [[ชาย เมืองสิงห์]] ครั้งหนึ่งชัยชนะ บุญนะโชติ ได้นำวงดนตรีมาเล่นที่[[ตลาดสวนแตง]]และมีการรับสมัครประกวดร้องเพลง ไวพจน์จึงสมัครประกวดร้องเพลงด้วย และได้รับการชมเชยจากผู้ชมผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ชัยชนะ บุญนะโชติ จึงชักชวนให้เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งและตั้งชื่อให้ใหม่ว่า " ไวพจน์ เพชรสุพรรณ " หลังจากนั้นได้นำไวพจน์ ไปฝากเป็นศิษย์ของครู[[สำเนียง ม่วงทอง]] นักแต่งเพลงซึ่งเป็นชาว จ.สุพรรณบุรี เช่นกัน ซึ่งเป็นเจ้าของวงดนตรี “[[รวมดาวกระจาย]]” ไวพจน์ จึงได้เข้ามาร่วมวงในฐานะนักร้องนำ ครูสำเนียงได้แต่งเพลงให้ร้อง และประสบความสำเร็จอย่างมาก คือ เพลง "ให้พี่บวชเสียก่อน" และยังได้ขับร้องเพลงของนักแต่งเพลงผู้อื่น คือ [[จิ๋ว พิจิตร]] เช่น เพลง ”แบ่งสมบัติ” และ “ไวพจน์ลาบวช” เป็นต้น


== ราชาเพลงแหล่ ==
== ราชาเพลงแหล่ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:41, 21 มกราคม 2565

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดพาน สกุลณี
เกิด7 มีนาคม พ.ศ. 2485
ที่เกิดอำเภอบางปลาม้า, จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต12 มกราคม พ.ศ. 2565 (79 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงลูกทุ่ง, เพลงแหล่
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง, นักแสดง
ช่วงปีพ.ศ. 2504 - 2565​
ค่ายเพลงวงดนตรีลูกทุ่ง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ  • โฟร์เอส  • โอเอฟ  • ท็อปไลน์มิวสิค  • จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
คู่สมรสอรชร สกุลณี

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (7 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 12 มกราคม พ.ศ. 2565) มีชื่อจริงว่า พาน สกุลณี เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งและเพลงแหล่[1]ชื่อดังระดับตำนานของประเทศไทย และอยู่ในวงการมานานหลายสิบปี โดยสร้างผลงานเพลงออกมามากมายนับไม่ถ้วน นอกจากนั้นก็ยังมีความเชี่ยวชาญด้านเพลงพื้นเมืองภาคกลางและได้สร้างผลงานเพลงประเภทนี้ออกมามากมาย

ไวพจน์ มีความสามารถด้านการแต่งเพลงและได้แต่งเพลงดังให้กับนักร้องหลายคน ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างพุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่งคนที่ 2 ด้วย[2]

ไวพจน์ ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) เมื่อ พ.ศ. 2540[3]

ไวพจน์ เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่โรงพยาบาลตากสิน เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565 ภายหลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สิริอายุ 79 ปี[4]

ประวัติ

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เกิดเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485[5] ที่ หมู่ 2 ตำบลมะขามล้ม (ปัจจุบันเป็น ตำบลวังน้ำเย็น) อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายจำปี และนางอ่ำ สกุลณี เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว[6] เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

ราชาเพลงแหล่

ไวพจน์ เป็นผู้มีความสามารถรอบตัว เพราะนอกจากจะร้องเพลงลูกทุ่งได้ยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีความสามารถเล่นเพลงพื้นบ้านได้เกือบทุกชนิดทั้งเพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เล่นได้หมดและเล่นได้ดีขนาดโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวีได้ โดยเฉพาะการแหล่ ทุกคนในวงการล้วนยกย่องให้ไวพจน์เป็น " ราชาเพลงแหล่ " เพราะมีเพลงแหล่บันทึกแผ่นเสียงมากที่สุดในประเทศไทย ทั้งยังสามารถแหล่ด้นกลอนสดได้อย่างไม่ติดขัด

ในจำนวนนักร้องลูกทุ่งอาวุโส ไวพจน์ มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงมากที่สุดถึงประมาณ 2,000 เพลง และยังคงผลิตผลงานออกมาเพิ่มเติมในระดับที่ถี่กว่าคนอื่น ทั้งเพลงที่ครูเพลงแต่งให้และแต่งเองร้องเอง ไวพจน์ เพชรสุพรรณยังสามารถแต่งเพลงสร้างชื่อให้ลูกศิษย์มาแล้วมากมาย โดยศิษย์เอกที่โด่งดังของไวพจน์มี ขวัญจิต ศรีประจันต์ , เพชร โพธาราม (เพลง ต.ช.ด.ขอร้อง) และ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (เพลงแก้วรอพี่ , นักร้องบ้านนอก) นอกจากนั้นก็ยังเป็นหมอทำขวัญซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหมอทำขวัญอันดับหนึ่งของเมืองไทยในปัจจุบัน [7]

ผลงานเพลงดัง

  • หนุ่มนารอนาง
  • สาละวันรำวง
  • แตงเถาตาย
  • ฟังข่าวทิดแก้ว
  • ใส่กลอนหรือเปล่า
  • สามปีที่ไร้นาง
  • อยากซิเห็นขาอ่อน
  • พี่เกี้ยวไม่เป็น
  • ซามักคักแท้น้อ
  • ลำเลาะทุ่ง
  • บวชพระดีกว่า
  • ให้พี่บวชเสียก่อน
  • สายเปลสายใจ
  • เซิ้งบ้องไฟ
  • ครวญหาแฟน
  • แบ่งสมบัติ
  • 21มิถุนา ไวพจน์ลาบวช
  • เจ้าชู้บ้านไกล
  • ตามน้อง
  • แม่ดอกบัวแดง
  • น.ป.พ ครวญ
  • เพลงใหม่ไวพจน์

ผลงานแสดงภาพยนตร์

  • ไทยน้อย (ปี 2512)
  • สาละวัน (ปี 2512)
  • ฝนเหนือ (ปี 2513)
  • จอมบึง (ปี 2513)
  • อยากดัง (ปี 2513)
  • ไทยใหญ่ (ปี 2513)
  • มนต์รักป่าซาง (ปี 2514)
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง (ปี 2522)
  • เทพเจ้าบ้านบางปูน (ปี 2525)
  • นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ (ปี 2527)
  • เลือดแค้น เล็กนกใน (ปี 2533)
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (ปี 2545)
  • เหลือแหล่ (ปี 2554)

อัลบั้มรวมเพลง

  • อัลบั้มชุด ดีที่สุด 30 ต้นฉบับเพลงฮิตดีที่สุด
  • อัลบั้มชุด แหล่ประวัติยอดรัก
  • อัลบั้มชุด แหล่ 1-8
  • อัลบั้มชุด ไวพจน์ลาบวช
  • อัลบั้มชุดที่ 8 ขุนพลเพลงแหล่
  • อัลบั้ม เมดเล่ย์มันส์ระเบิด ชุด เพลงแหล่มันส์จังหวะสามช่า
  • อัลบั้ม ไวพจน์ ลืมแก่ 1-4
  • อัลบั้ม หยิบผิด
  • อัลบั้ม คู่บุญ คู่บวช

และอีกมากมาย

เสียชีวิต

ไวพจน์ เพชรสุพรรณได้เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลตากสินตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565 ไวพจน์ เพชรสุพรรณได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุรวม 79 ปี[8]

เกียรติยศ

  • ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) พ.ศ. 2540
  • เข็มพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ พ.ศ. 2514
  • รางวัลนักร้องดีเด่นจากงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยทั้ง 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2532 จากเพลง สาละวันรำวง และ พ.ศ. 2534 จากเพลง แตงเถาตาย
  • รางวัลพระพิฆเนศทองคำพระราชทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. เส้นทางราชาเพลงแหล่ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
  2. 13 มิถุนายน 2535 – พุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีเพลงลูกทุ่ง เสียชีวิต
  3. "ไวพจน์ เพชรสุพรรณ" เผยชีวิตหลังห่างวงการ พร้อมฝากคำเตือนถึงนักแต่งเพลงรุ่นใหม่
  4. สิ้นตำนานครูเพลงดัง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติเสียชีวิตอย่างสงบ
  5. "Musical Suphan Buri woos Unesco with song". nationthailand.com (ภาษาอังกฤษ). Nation. 24 January 2020.
  6. "สลักชื่อ'ครูพงษ์ศักดิ์'ไว้บนแผ่นดินลูกทุ่ง". คมชัดลึก. 10 September 2015. สืบค้นเมื่อ 10 September 2015.
  7. ประวัติ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
  8. 18 (2022-01-12). "อาลัยอีกตำนาน! สิ้น 'ไวพจน์ เพชรสุพรรณ' ศิลปินแห่งชาติ แฟนเพลงร่วมอาลัย". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น