ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาคกลาง (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 86: บรรทัด 86:
'''3. บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain)''' ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของ[[จังหวัดอุทัยธานี]] [[จังหวัดสิงห์บุรี|สิงห์บุรี]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี|สุพรรณบุรี]] และ[[จังหวัดนครปฐม|นครปฐม]] และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของ[[จังหวัดสระบุรี]]และ[[จังหวัดลพบุรี|ลพบุรี]] ซึ่งลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่ลุ่มแม่น้ำในทางธรณีสัณฐานวิทยา ทั้งนี้เพราะหินที่สึกกร่อนกลายเป็นดินรวมทั้งน้ำเป็นตัวการทำให้เศษดิน เศษหิน เหล่านี้มาทับถมในบริเวณเชิงเขา และส่วนที่ต่อแนวของที่ราบลุ่มแม่น้ำเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเกิดพบว่าต่างกัน บริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะในเขต[[อำเภอโคกสำโรง]] เป็นที่ราบสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ซึ่งบริเวณนี้สึกกร่อนมาจาก[[หินปูน]] ([[หินปูนชุดราชบุรี|ชุดราชบุรี]]) [[หินชนวน]] และ[[หินดินดาน]] ทำให้ดินมีสีเทาเข้มถึงดำ นอกจากนี้ในบางบริเวณยังมี[[หินอัคนี]]แทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ มี[[หินบะซอลต์]]และ[[หินแอนดีไซต์]]ปนอยู่ด้วย บางแห่งมีแร่[[เหล็ก]] เช่น ที่เขาทับควาย [[อำเภอเมืองลพบุรี]] จังหวัดลพบุรี พื้นที่บริเวณขอบที่ราบทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น [[ข้าวโพด]] [[อ้อย]] [[ข้าวฟ่าง]] [[มันสำปะหลัง]] และอื่น ๆ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ
'''3. บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain)''' ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของ[[จังหวัดอุทัยธานี]] [[จังหวัดสิงห์บุรี|สิงห์บุรี]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี|สุพรรณบุรี]] และ[[จังหวัดนครปฐม|นครปฐม]] และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของ[[จังหวัดสระบุรี]]และ[[จังหวัดลพบุรี|ลพบุรี]] ซึ่งลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่ลุ่มแม่น้ำในทางธรณีสัณฐานวิทยา ทั้งนี้เพราะหินที่สึกกร่อนกลายเป็นดินรวมทั้งน้ำเป็นตัวการทำให้เศษดิน เศษหิน เหล่านี้มาทับถมในบริเวณเชิงเขา และส่วนที่ต่อแนวของที่ราบลุ่มแม่น้ำเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเกิดพบว่าต่างกัน บริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะในเขต[[อำเภอโคกสำโรง]] เป็นที่ราบสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ซึ่งบริเวณนี้สึกกร่อนมาจาก[[หินปูน]] ([[หินปูนชุดราชบุรี|ชุดราชบุรี]]) [[หินชนวน]] และ[[หินดินดาน]] ทำให้ดินมีสีเทาเข้มถึงดำ นอกจากนี้ในบางบริเวณยังมี[[หินอัคนี]]แทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ มี[[หินบะซอลต์]]และ[[หินแอนดีไซต์]]ปนอยู่ด้วย บางแห่งมีแร่[[เหล็ก]] เช่น ที่เขาทับควาย [[อำเภอเมืองลพบุรี]] จังหวัดลพบุรี พื้นที่บริเวณขอบที่ราบทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น [[ข้าวโพด]] [[อ้อย]] [[ข้าวฟ่าง]] [[มันสำปะหลัง]] และอื่น ๆ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ


== การแบ่งเขตการปกครอง ==
=== การแบ่งอย่างเป็นทางการ ===
การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ใช้ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยภาคกลางของระบบ 6 ภาคนี้ ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 21 จังหวัด<ref name="royin">[http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1378 การแบ่งภูมิภาค ตามราชบัณฑิตยสถาน]{{ลิงก์เสีย}}</ref> รวมถึง[[กรุงเทพมหานคร]] (ซึ่งเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัด) โดยมีพื้นที่ทางเหนือไปจนสุดเขต[[จังหวัดสุโขทัย]]และ[[จังหวัดพิษณุโลก]] และทางใต้ลงไปสุดที่[[อ่าวไทย]] ยกเว้นจังหวัดที่ติดกับประเทศพม่า ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขา และยกเว้นจังหวัดทางภาคตะวันออก จังหวัดในภาคกลางตามการแบ่งที่เป็นทางการ ประกอบไปด้วยจังหวัดต่าง ๆ 21 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ดังตารางข้างล่างนี้


{| class="wikitable sortable" width="70%"
|-
! width="5%" class="unsortable" | [[ตราประจำจังหวัดของไทย|ตราประจำ<br/>จังหวัด]]
! width="15%" | ชื่อจังหวัด<br/>อักษรไทย
! width="15%" | ชื่อจังหวัด<br/>อักษรโรมัน
! width="10%" | จำนวนประชากร<br/>(คน)
! width="10%" | พื้นที่<br/>(ตร.กม.)
! width="10%" | [[ความหนาแน่นประชากร|ความหนาแน่น]]<br/>(คน/ตร.กม.)
|-
| align="center"|[[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|40px]] || '''[[กรุงเทพมหานคร]]'''
| Bangkok
| align="right"|5,682,415
| align="right"|1,568.7
| align="right"|3,622.2
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:Seal Kamphaeng Phet.png|40px]] || '''[[จังหวัดกำแพงเพชร|กำแพงเพชร]]'''
| align="center"|[[ไฟล์:Seal Kamphaeng Phet.png|40px]] || '''[[จังหวัดกำแพงเพชร|กำแพงเพชร]]'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:30, 24 ตุลาคม 2562

ภาคกลาง
สวนลุมพินี
วัดไชยวัฒนาราม
การประมงที่บึงบอระเพ็ด
วัดมหาธาตุ (จังหวัดสุโขทัย)
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
จากซ้ายบนไปล่างขวา: สวนลุมพินี, วัดไชยวัฒนาราม, การประมงที่บึงบอระเพ็ด, วัดมหาธาตุ วัดใหญ่ใจกลางตัวเมืองเก่าสุโขทัย, และทิวทัศน์ภูเขาที่อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
ภาคกลางในประเทศไทย ตามการแบ่งภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค
ภาคกลางในประเทศไทย ตามการแบ่งภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค
เมืองใหญ่สุดกรุงเทพมหานคร
จังหวัด
พื้นที่
 • ทั้งหมด91,798.64 ตร.กม. (35,443.65 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ศ. 2557)
 • ทั้งหมด20,085,971 คน
 • ความหนาแน่น220 คน/ตร.กม. (570 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+7 (Thailand)
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภาคกลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่

ภูมิศาสตร์

ภาพถ่ายดาวเทียม แสดงที่ราบภาคกลางเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ

ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ

เมื่อพิจารณาตามลักษณะโครงสร้าง บริเวณภาคกลางสามารถแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ

1. ภาคกลางตอนบน ได้แก่ บริเวณตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไปทางตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย รวมทั้งบางบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศโดยทั่วไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (rolling plains) ซึ่งเกิดจากการกระทำของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขา ภูมิประเทศที่เป็นลูกฟูกนั้นอาจเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน กรวด ทรายที่มีขนาดใหญ่และตกตะกอน ก่อนทับถมพอกพูน ถ้าหากเทียบกับดินตะกอนแล้ว ชนิดแรกสามารถต้านทานต่อการสึกกร่อนได้มากกว่าชนิดหลัง ทำให้กลายเป็นภูมิประเทศคล้ายลูกคลื่น มีลูกเนินเตี้ย ๆ สลับกับบริเวณที่ง่ายแก่การสึกกร่อน ซึ่งกลายเป็นร่องลึกมีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูก นอกจากนี้การกระทำของแม่น้ำยังทำให้เกิดที่ราบขั้นบันได (terraces) ที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ของแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน อีกด้วย ภูมิประเทศทางด้านตะวันออกของเขตนี้เป็นภูเขาและทิวเขาจรดขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวทิวเขาดังกล่าว ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 ซึ่งต่อเนื่องมาจากทิวเขาหลวงพระบาง ระหว่างทิวเขาเพชรบูรณ์ 1 กับทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 มีที่ราบแคบ ๆ ในเขตอำเภอหล่มสักและจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ราบนี้มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านลงไปทางใต้ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 นี้ส่วนใหญ่เป็นหินแอนดีไซต์ หินไดโอไรต์ยุคเทอร์เชียรี ทางด้านตะวันตกของทิวเขาสูงนี้เป็นที่ราบเชิงเขาสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ไปจนจรดที่ราบลุ่มแม่น้ำ

2. ภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบลุ่มซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครสวรรค์ลงไปจนจรดอ่าวไทย ภูมิประเทศภาคกลางตอนล่างบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกงพัดพามา แม่น้ำเหล่านี้เมื่อไหลผ่านบริเวณที่เป็นที่ราบ ความเร็วของกระแสน้ำจะลดลง วัตถุต่าง ๆ ที่ละลายปนมากับน้ำจะตกตะกอนทับถมพอกพูน ซึ่งตะกอนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทรายละเอียด ดินเหนียว และดินตะกอน บางส่วนไปตกตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตะกอนที่ทับถมห่างจากชายฝั่งออกไปไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลเมตร และยังก่อให้เกิดสันดอนในแม่น้ำ ทำให้เกิดอุปสรรคในการคมนาคมทางน้ำเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามามีประโยชน์ในการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของประเทศ ทั้งนี้เพราะดินตะกอนสามารถอุ้มน้ำได้ ความหนาของชั้นดินตะกอนในบางบริเวณที่มีการขุดเจาะเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าบางแห่งหนาเกิน 120 เมตร จึงจะถึงหินดินดาน (dedrock) ข้างใต้

3. บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain) ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของจังหวัดสระบุรีและลพบุรี ซึ่งลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่ลุ่มแม่น้ำในทางธรณีสัณฐานวิทยา ทั้งนี้เพราะหินที่สึกกร่อนกลายเป็นดินรวมทั้งน้ำเป็นตัวการทำให้เศษดิน เศษหิน เหล่านี้มาทับถมในบริเวณเชิงเขา และส่วนที่ต่อแนวของที่ราบลุ่มแม่น้ำเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเกิดพบว่าต่างกัน บริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะในเขตอำเภอโคกสำโรง เป็นที่ราบสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ซึ่งบริเวณนี้สึกกร่อนมาจากหินปูน (ชุดราชบุรี) หินชนวน และหินดินดาน ทำให้ดินมีสีเทาเข้มถึงดำ นอกจากนี้ในบางบริเวณยังมีหินอัคนีแทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ มีหินบะซอลต์และหินแอนดีไซต์ปนอยู่ด้วย บางแห่งมีแร่เหล็ก เช่น ที่เขาทับควาย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พื้นที่บริเวณขอบที่ราบทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และอื่น ๆ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ


|- | align="center"| || กำแพงเพชร | Kamphaeng Phet | align="right"|727,093 | align="right"|8,607.5 | align="right"|84.5 |- | align="center"| || ชัยนาท | Chai Nat | align="right"|334,934 | align="right"|2,469.7 | align="right"|135.6 |- | align="center"| || นครนายก | Nakhon Nayok | align="right"|252,734 | align="right"|2,122.0 | align="right"|119.1 |- | align="center"| || นครปฐม | Nakhon Pathom | align="right"|860,246 | align="right"|2,168.3 | align="right"|396.7 |- | align="center"| || นครสวรรค์ | Nakhon Sawan | align="right"|1,073,495 | align="right"|9,597.7 | align="right"|111.8 |- | align="center"| || นนทบุรี | Nonthaburi | align="right"|1,101,743 | align="right"|622.3 | align="right"|1,770.4 |- | align="center"| || ปทุมธานี | Pathum Thani | align="right"|985,643 | align="right"|1,525.9 | align="right"|645.9 |- | align="center"| || พระนครศรีอยุธยา | Phra Nakhon Si Ayutthaya | align="right"|782,096 | align="right"|2,556.6 | align="right"|305.9 |- | align="center"| || พิจิตร | Phichit | align="right"|552,690 | align="right"|4,531.0 | align="right"|122.0 |- | align="center"| || พิษณุโลก | Phitsanulok | align="right"|849,692 | align="right"|10,815.8 | align="right"|78.6 |- | align="center"| || เพชรบูรณ์ | Phetchabun | align="right"|996,031 | align="right"|12,668.4 | align="right"|78.6 |- | align="center"| || ลพบุรี | Lop Buri | align="right"|755,854 | align="right"|6,199.8 | align="right"|121.9 |- | align="center"| || สมุทรปราการ | Samut Prakan | align="right"|1,185,180 | align="right"|1,004.1 | align="right"|1,180.3 |- | align="center"| || สมุทรสงคราม | Samut Songkhram | align="right"|194,057 | align="right"|416.7 | align="right"|465.7 |- | align="center"| || สมุทรสาคร | Samut Sakhon | align="right"|491,887 | align="right"|872.3 | align="right"|563.9 |- | align="center"| || สระบุรี | Saraburi | align="right"|617,384 | align="right"|3,576.5 | align="right"|172.6 |- | align="center"| || สิงห์บุรี | Sing Buri | align="right"|214,661 | align="right"|822.5 | align="right"|261.0 |- | align="center"| || สุโขทัย | Sukhothai | align="right"|601,778 | align="right"|6,596.1 | align="right"|91.2 |- | align="center"| || สุพรรณบุรี | Suphan Buri | align="right"|845,950 | align="right"|5,358.0 | align="right"|157.9 |- | align="center"| || อ่างทอง | Ang Thong | align="right"|284,970 | align="right"|968.4 | align="right"|294.3 |- | align="center"| || อุทัยธานี | Uthai Thani | align="right"|327,959 | align="right"|6,730.3 | align="right"|48.7 |}

การแบ่งแบบอื่น

แผนที่ภาคกลาง กำหนดตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ยังมีหลายหน่วยงานที่กำหนดขอบเขตของภาคกลางแตกต่างกันออกไป เพราะภูมิภาคเป็นการปกครองที่ไม่มีผู้บริหาร ไม่มีเขตที่ชัดเจน การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคจึงเป็นเพียงการจัดกลุ่มทางภูมิศาสตร์และสถิติเท่านั้น บางครั้งก็มีการระบุว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคที่แยกต่างหากจากภาคกลาง หรือระบุว่าภาคกลางไม่มีจังหวัดนครนายก แต่ไปอยู่ภาคตะวันออก เช่น การจัดแบ่งภูมิภาคตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 8 จังหวัด และเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 เขต ได้แก่

แผนที่ภาคกลาง ระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้ามา

ส่วนการจัดแบ่งภาคกลางตามระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) ซึ่งเป็นการแบ่งที่ไม่เป็นทางการ โดยมีพื้นที่ทางเหนือถึงแค่จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี และรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้ามารวมด้วย ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 25 จังหวัด และเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 เขต ได้แก่

นอกจากนี้ เพื่อวัตถุประสงค์เชิงสถิติ จึงมีการแบ่งภาคกลางของระบบ 4 ภาค ออกเป็นภูมิภาคย่อย 4 กลุ่ม[1] ซึ่งเป็นการแบ่งอย่างไม่เป็นทางการเช่นกัน ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ภาคกลางนอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก

ประชากรศาสตร์

สถิติประชากร

อันดับ จังหวัด จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2558)[2]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2557)[3]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2556)[4]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2555) [5]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2554) [6]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2553) [7]
1 กรุงเทพมหานคร 5,696,409 5,692,284 5,686,252 5,673,560 5,674,843 5,701,394
2 สมุทรปราการ 1,279,310 1,261,530 1,241,610 1,223,302 1,209,405 1,185,180
3 นนทบุรี 1,193,711 1,173,870 1,156,271 1,141,673 1,122,627 1,101,743
4 ปทุมธานี 1,094,249 1,074,058 1,053,158 1,033,837 1,010,898 985,643
5 นครสวรรค์ 1,071,942 1072,756 1,073,142 1,073,347 1,071,686 1,073,495
6 เพชรบูรณ์ 996,986 995,807 994,397 993,702 990,807 996,031
7 นครปฐม 899,342 891,071 882,184 874,616 866,064 860,246
8 พิษณุโลก 863,404 858,988 856,376 854,372 851,357 849,692
9 สุพรรณบุรี 849,699 849,053 848,066 847,308 845,053 845,850
10 พระนครศรีอยุธยา 808,360 803,599 797,970 793,509 787,653 782,096
11 ลพบุรี 758,655 758,406 757,970 758,059 756,127 755,854
12 กำแพงเพชร 730,158 729,522 728,631 727,555 726,009 727,093
13 สระบุรี 637,673 633,460 629,261 625,689 620,454 617,384
14 สุโขทัย 601,712 602,460 602,713 602,601 601,504 608,820
15 พิจิตร 545,957 547,543 548,855 549,395 549,688 552,690
16 สมุทรสาคร 545,454 531,887 519,457 508,812 499,098 491,887
17 ชัยนาท 331,655 332,283 332,769 333,172 333,256 334,934
18 อุทัยธานี 330,906 330,179 329,536 328,950 328,034 327,959
19 อ่างทอง 283,173 283,568 283,732 283,882 284,061 284,970
20 นครนายก 258,577 257,300 256,085 255,174 253,831 252,734
21 สิงห์บุรี 211,426 212,158 212,690 213,216 213,587 214,661
22 สมุทรสงคราม 194,376 194,189 194,116 194,042 194,086 194,057
รวม 20,183,134 20,085,971 19,985,241 19,889,773 19,790,128 19,744,413

อ้างอิง

  1. List according to Wolf Donner, Thailand, ISBN 3-534-02779-5
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat57.html 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2553. สืบค้น 22 มีนาคม 2554.

แหล่งข้อมูล