อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
![]() พระอาทิตย์ขึ้นที่ผาซ่อนแก้ว | |
ตำแหน่งที่ตั้งอุทยานในประเทศไทย | |
ที่ตั้ง | อำเภอเขาค้อ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ![]() |
พิกัด | 16°42′44″N 101°05′34″E / 16.71222°N 101.09278°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 16°42′44″N 101°05′34″E / 16.71222°N 101.09278°E |
พื้นที่ | 483.78 ตารางกิโลเมตร (302,363.66 ไร่)[1] |
จัดตั้ง | 19 พฤษภาคม 2555 |
ผู้เยี่ยมชม | 23,110 คน[2] (ปีงบประมาณ 2559) |
หน่วยราชการ | สำนักอุทยานแห่งชาติ |
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ[3] เป็นอุทยานแห่งชาติในท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
อุทยานแห่งชาติเขาค้อจัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ บริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น ซึ่งเดิมนั้นเป็นวนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ เดิมมีเนื้อที่ประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,750 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]
มีลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ ตอนบนสุดเป็นภูเขาสูงชัน มีความสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 155 เมตร จนถึง จุดสูงสุด 1,593 เมตร และเนื่องจากภูเขาในแถบนี้เป็นภูเขาที่การจากการยกตัวในอดีตทำให้มีลักษณะเป็นภูเขาหินทรายยอดราบ หรือมีที่ราบอยู่บานยอดเขา เช่น แหล่งท่องเที่ยวของเพชรบูรณ์ “ภูทับเบิก” เป็นภูสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,786 เมตร และบริเวณตอนใต้ของพื้นที่สำรวจในเขตอำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (บริเวณเขาย่า) จะมีลักษณะเป็นสันเขายาวลาดลงทางทิศเหนือ – ตะวันตก แต่บริเวณเชิงเขาค้อ ในเขตอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ (ทางส่วนตะวันตก) จะเป็นหน้าผาสลับซับซ้อน อันเนื่องมาจากการกัดเซาะ เพราะบริเวณขอบเขานั้น เป็นหินทรายที่ยังจับตัวกันไม่แน่น ทำให้ง่ายต่อการกัดเซา
เขาค้อเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธาร มากมายหลายสายซึ่งทางด้านทิศตะวันออก จะไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกจะไหลลงสู่ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน
ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]
ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิค่อนข้างหนาวเย็น ฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21.93 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนช่วงกลางวัน ฤดูฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ถึงประมาณ 1,425.75 มิลิเมตรต่อปี มีฝนตกปีละ 126 วัน จะมีฝนตกชุก 70% ของทั้งปี
ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า[แก้]
อุทยานแห่งชาติเขาค้อมีทั้งป่าธรรมชาติและป่าปลูก (เป็นป่าปลูกกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่) ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือป่าแดง ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า มีพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ยาง สัก ประดู่ แดง มะค่าโมง เต็ง รัง ตะเคียนทอง สนเขา ก่อ สมุนไพร กล้วยไม้ป่าต่างๆ นอกจากนี้ยังพบสัตว์ป่า เช่น ช้างป่า เสือไฟ หมูป่า กระจง เม่น กระต่ายป่า ค่าง อีเห็น ตะกวด ไก่ป่า ลิงลมหรือนางอาย งูชนิดต่าง ๆ และนกชนิดต่าง ๆ มากกว่า 100 ชนิด
ระเบียงภาพ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ส่วนภูมิสารสนเทศ. สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. "รายงานสรุปพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พื้นที่รวม 72.046 ล้านไร่ (คำนวณในระบบ GIS)." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www2.dnp.go.th/gis/รูปอัพเว็บ/สรุปพื้นที่ป่า.pdf 2557. สืบค้น 3 สิงหาคม 2560.
- ↑ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. "ตารางที่ 10 จำนวนผู้เข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2555–2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dnp.go.th/statistics/2559/ตาราง 10 จำนวนผู้เข้าไปท่องเที่ยวในอุทยาน ปี 2555-2559 (1ก.พ.60).xls 2560. สืบค้น 3 สิงหาคม 2560.
- ↑ แหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติเขาค้อ
- เขาค้อ สำนักอุทยานแห่งชาติ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: อุทยานแห่งชาติเขาค้อ |
รายชื่อ ที่พักเขาค้อ ในเขตอำเภอเขาค้อ