ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
สิ้นพระชนม์27 มกราคม พ.ศ. 2506 (72 ปี)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา (เอกสารเก่าสะกด อดิศัย; 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 — 27 มกราคม พ.ศ. 2506) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2433) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน (สกุลเดิม บุนนาค) สตรีเมืองเพชรบุรี ผู้เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และเป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออ หลังประสูติกาล ได้มีการสมโภชเดือนพระเจ้าลูกเธอในวันที่ 23-24 มีนาคมปีเดียวกันนั้น โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานนามแก่พระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา"[1] และพระราชทานทองคำหนักหกตำลึง และเงิน 20 ชั่ง[2] พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภามีพระเชษฐภคินีร่วมพระชนกชนนี คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 – 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2476) ซึ่งเจ้าจอมมารดาอ่อนจะเรียกว่า เสด็จพระองค์ใหญ่ และเรียกพระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภาว่า เสด็จพระองค์เล็ก ส่วนพระราชธิดาทั้งสองพระองค์จะเรียกเจ้าจอมมารดาอ่อนว่า แม่[3]

เบื้องต้นพระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภาทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนภายในพระบรมมหาราชวัง และมีครูพิเศษจากโรงเรียนราชินีเข้ามาถวายการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ครั้นมีพระชันษาได้ 11 ปี ทรงเข้าร่วมในพระราชพิธีโสกันต์พร้อมกับพระราชธิดาที่มีพระชันษาไล่เลี่ยกันคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา[2]

พระองค์และพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ ทรงสนิทสนมคุ้นเคยเสด็จไปมาหาสู่กับเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ที่มักเสด็จมาเยี่ยมพระองค์และพระเชษฐภคินีเป็นประจำ แต่เดิมพระองค์ พระเชษฐภคินี และพระมารดาประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังได้ทรงย้ายไปประทับที่วังสวนสุนันทา และทรงย้ายไปประทับที่วังสวนปาริจฉัตก์และทรงพำนักอยู่ที่นั่นตลอดพระชนม์ชีพ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2506 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พระชันษา 72 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม[4] และพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 17 มีนาคมในปีเดียวกันนั้น ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส[5]

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 — 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 — 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 — 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 — 27 มกราคม พ.ศ. 2506 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, สมโภชเดือนพระเจ้าลูกเธอ, เล่ม ๖, ตอน ๕๒, ๓๐ มีนาคม ร.ศ. ๑๐๘, หน้า ๔๕๐
  2. 2.0 2.1 เจ้าจอมก๊กออ, หน้า 269
  3. เจ้าจอมก๊กออ, หน้า 220
  4. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๒/๒๕๐๖ พระราชกุศลทักษิณานุปทาน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา พุทธศักราช ๒๕๐๖, เล่ม ๘๐, ตอน ๑๒ ง ฉบับพิเศษ, ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๓๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๔/๒๕๐๖ พระราชกุศลทักษิณานุปทานและการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๕๐๖, เล่ม ๘๐, ตอน ๒๓ ง, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๖๘๑
  6. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 27): หน้า 1996. 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 25 ง): หน้า 1806. 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 39): หน้า 1153. 27 ธันวาคม ร.ศ. 127. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 (ตอน 0 ง): หน้า 2444. 22 มกราคม ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43 (ตอน 0 ง): หน้า 3116. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  11. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 55 (ตอน 0 ง): หน้า 3421. 15 มกราคม พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-12-15. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  12. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 70 (ตอน 17 ง): หน้า 1011. 10 มีนาคม พ.ศ. 2496. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
บรรณานุกรม
  • กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ, ดร.. เจ้าจอมก๊กออ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2558. 609 หน้า. ISBN 978-616-18-0366-7

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(18 มีนาคม พ.ศ. 2505 – 27 มกราคม พ.ศ. 2506)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร