ทริปเปิลเอช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทริปเปิล เอช)
Triple H
เกิดPaul Michael Levesque
(1969-07-27) กรกฎาคม 27, 1969 (54 ปี)
Nashua, New Hampshire, U.S.
อาชีพ
  • Business executive
  • professional wrestler
  • actor
ปีปฏิบัติงาน1990–present
นายจ้างWWE
ตำแหน่งExecutive Vice President of Global Talent Strategy & Development
คู่สมรสStephanie McMahon
(สมรส 2003)
บุตร3
ครอบครัวMcMahon
ชื่อบนสังเวียนHunter Hearst Helmsley
Jean-Paul Lévesque
Terra Ryzing[1]
Terra Risin'
Terror Rising[2]
Triple H
ส่วนสูง6 ฟุต 4 นิ้ว (193 เซนติเมตร)[3]
น้ำหนัก255 ปอนด์ (116 กิโลกรัม)[3]
มาจากBoston, Massachusetts, U.S.
Greenwich, Connecticut, U.S.[3]
Sainte-Mere-Eglise, France
ฝึกหัดโดยKiller Kowalski[4]
เปิดตัวMarch 24, 1992
รีไทร์3 เมษายน ค.ศ. 2022

พอล ไมเคิล เลเวสก์ (Paul Michael Levesque)[5] เกิด 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1969[6] อดีตนักมวยปล้ำอาชีพ, นักแสดง และผู้บริหารชาวอเมริกัน เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของWWE ที่รู้จักกันดีในชื่อ ทริปเปิลเอช (Triple H)[4][7][8][9]

ประวัติมวยปล้ำอาชีพ[แก้]

ทริปเปิลเอช เป็นนักมวยปล้ำในสังกัดรอว์มานาน และเป็นผู้ชนะคู่ต่อสู้มาแล้วหลายคน ด้วยท่า pedigree เป็นราชาของราชันย์ในวงการมวยปล้ำ WWE ในสมญานามว่า "เดอะเกม" และ "คิง ออฟ คิงส์" มีผลงานโด่งดังมากมาย เคยเป็น คิงออฟเดอะริง ปี 1997 และเป็นผู้ชนะเลิศ รอยัลรัมเบิล ปี 2002 และปี 2016 และเป็นแชมป์โลก สมัยที่ 14 จากการเป็น แชมป์ WWE 9 สมัย และ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท 5 สมัย[10][11] เขาได้แต่งงานกับ สเตฟานี แม็กแมน ลูกสาวของ วินซ์ แม็กแมน ในปี 2003 ในวงการฮอลลีวูด เขาได้ไปแสดงภาพยนตร์ ฟอร์มยักษ์ เรื่อง Blade 3 โดยรับบท จาโก[12]

เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง (1994–1995)[แก้]

ทริปเปิลเอชเข้าสู่วงการมวยปล้ำครั้งแรก ในสมาคม WCW ในปี 1994[13][14] การปล้ำครั้งแรกซึ่งได้ชนะ คีท โคล ในตอนนั้นได้ใช้ชื่อว่า เทอร์เรอร์ ไรซิง (Terror Risin)[15][1] ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ยีน-พอล เลเวสก์ และในศึก WCW สตาร์เคด ได้แพ้ในการปล้ำกับ อเล็กซ์ ไวรต์ ในต่อมาได้เจอ ลอร์ด สตีเวน รีกัล หรือ วิลเลียม รีกัล และต่อมาได้ย้ายไปสมาคม WWE[16][17]

ดับเบิลยูดับเบิลยูอี (1995–ปัจจุบัน)[แก้]

ช่วงแรกเริ่ม[แก้]

ในรอว์ (22 พฤษภาคม 1995) ทริปเปิลเอชได้ปล้ำครั้งแรกใน WWF หรือ WWE ในปัจจุบัน ซึ่งในตอนนั้นใช้ชื่อว่า ฮันเตอร์ เฮิร์ต เฮนรี และได้เจอกับ จอห์น ครีสทัล และสามารถเอาชนะได้ในแมตช์แรกได้สำเร็จ 3 เดือนต่อมาในรอว์ ฮันเตอร์ได้เจอกับเจฟฟ์ ฮาร์ดี และสามารถเอาชนะมาได้สำเร็จ[18]

ทริปเปิลเอชในตอนใช้ชื่อว่า ฮันเตอร์ เฮิร์ต เฮมรี

ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 12 ได้เจอกับดิ อัลติเมท วอร์ริเออร์เป็นครั้งแรก แต่ผลปรากฏว่าฮันเตอร์แพ้ให้กับวอร์ริเออร์ในเวลาไม่ถึง 5 นาที และเมื่อดีเซล (เควิน แนช) และเรเซอร์ รามอน (สก็อตต์ ฮอลล์) จะออกจาก WWF ฮันเตอร์กับชอว์น ไมเคิลส์ได้ไปกอดกันพอวินซ์ แม็กแมนรู้จึงโดนกดบทที่จะให้เป็นคิงออฟเดอะริง 1996 และแบนห้ามปล้ำ

ตอนคว้าแชมป์โลกอันดิสพิวเด็ดในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18

ในศึก รอยัลรัมเบิล (2002) ทริปเปิลเอชได้เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิล โดยเหวี่ยงเคิร์ต แองเกิลออกไปเป็นคนสุดท้าย ทำให้ทริปเปิล เอชได้เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิลปี 2002 และได้ขอท้าชิงแชมป์โลกอันดิสพิวเด็ดกับคริส เจริโค ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18[19] สุดท้ายทริปเปิล เอชก็เป็นฝ่ายชนะ คว้าแชมป์โลกอันดิสพิวเด็ด มาครองได้สำเร็จ แต่ก็เสียแชมป์ให้ฮัลค์ โฮแกน ต่อมาเอริก บิสชอฟฟ์ ผู้จัดการทั่วไปของรอว์ ได้มอบเข็มขัดแชมป์โลกเฮฟวี่เวทให้กับทริปเปิล เอช เป็นคนแรก ต่อมาทริปเปิลเอชต้องป้องกันแชมป์กับนักมวยปล้ำอีก 5 คน ในกรงเหล็กอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ แมทช์ สุดท้ายก็เสียแชมป์ให้กับชอว์น หลังจากนั้นก็คว้าแชมป์คืนมาได้จากชอว์น ในการปล้ำแบบ 2 ใน 3 ยก ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ยกที่ 1 สู้กันแบบ สตรีทไฟท์ ซึ่งผลที่ออกมา ยกแรก ทริปเปิลเอชเป็นฝ่ายกดชอว์นนับ 3 ทำให้มีคะแนนนำชอว์นอยู่ 1 คะแนน
  • ยกที่ 2 สู้กันแบบ การปล้ำในกรงเหล็ก ซึ่งผลที่ออกมา ยกที่ 2 ชอว์นใส่ท่า Splash ลงมากดทริปเปิลเอชกับโต๊ะนับ 3 ทำให้ชอว์นมีคะแนนมาเสมอกับทริปเปิลเอชเป็น 1-1 คะแนน
  • ยกที่ 3 สู้กันแบบ ไต่บันได ซึ่งผลที่ออกมา ยกสุดท้ายทริปเปิลเอชเป็นฝ่ายเอาชนะและได้แชมป์โลกเฮฟวี่เวท มาได้สำเร็จอีกครั้ง

เอฟโวลูชั่น หรือ เรียกว่ายุคแห่ง Reign of terror[แก้]

ในปี 2003 ทริปเปิลเอชได้ก่อตั้งกลุ่ม เอฟโวลูชั่น โดยมี ทริปเปิล เอช (หัวหน้า), ริก แฟลร์, แรนดี ออร์ตัน และบาทิสตา ในศึก ซัมเมอร์สแลม 2003 ทริปเปิล เอชต้องป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวทกับโกลด์เบิร์ก, ชอว์น ไมเคิลส์, คริส เจริโค, แรนดี ออร์ตัน และ เควิน แนช ในแมตช์การปล้ำแบบ อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ และในครั้งนั้น ทริปเปิล เอช ก็เป็นฝ่ายป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท เอาไว้ได้สำเร็จ แต่ต่อมา ทริปเปิล เอช ก็เสียแชมป์ให้โกลด์เบิร์ก ในศึก อันฟอร์กิฟเว่น 2003 ก่อนที่จะชิงแชมป์กลับคืนมาได้ในศึก อาร์มาเกดดอน 2003

ในศึก รอยัลรัมเบิล 2004 ทริปเปิลเอชต้องป้องกันแชมป์กับชอว์นในแมตช์ลาสแมนสแตนดิ้ง กติกาคือ เล่นงานคู่ต่อสู้จนถูกกรรมการนับ 10 ใครทำได้คนนั้นคือผู้ชนะ ทั้งคู่ผลัดกันเล่นงานจนทั้งคู่หน้าแตกยับเยินทั้ง 2 ฝ่าย แต่ผลที่ออกมาคือ ทริปเปิลเอชและชอว์น ถูกกรรมการนับ 10 พร้อมกัน ลุกไม่ขึ้นทั้งคู่ส่งผลให้เขาสามารถป้องกันแชมป์มาได้สำเร็จ ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 ต้องป้องกันแชมป์กับ คริส เบนวา และชอว์น สุดท้ายกลายเป็นเบนวาที่เป็นฝ่ายเอาชนะและคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ต่อมาได้เปิดศึกกับสมาชิกในกลุ่มเอฟโวลูชั่นอย่าง แรนดี ออร์ตัน โดยในศึก ซัมเมอร์สแลม 2004 ออร์ตันสามารถคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท มาได้จากเบนวา และเป็นแชมป์โลกที่อายุน้อยที่สุด ทำให้ทริปเปิล เอชอิจฉาและทำการทรยศหักหลังออร์ตัน และเตะออกจากกลุ่มเอฟโวลูชั่น ในศึก อันฟอร์กิฟเว่น 2004 ทริปเปิล เอชได้ขอท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทกับออร์ตัน สุดท้ายทริปเปิล เอชก็เป็นฝ่ายชนะและคว้าแชมป์มาได้สำเร็จอีกครั้ง ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 21 ทริปเปิล เอชต้องป้องกันแชมป์กับบาทิสตา สมาชิกในกลุ่มตนเอง และทริปเปิล เอชก็เป็นฝ่ายแพ้เสียแชมป์ให้กับบาทิสตา จากนั้นทริปเปิล เอช ได้หักหลัง ริก แฟลร์ และแตกกลุ่มกันในที่สุด

ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์[แก้]

ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ (ทริปเปิลเอช และ ชอว์น ไมเคิลส์)

ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 22 ทริปเปิลเอชได้ท้าชิงแชมป์ WWE กับ จอห์น ซีนา สุดท้ายทริปเปิล เอชก็ไม่สามารถคว้าแชมป์ WWE มาได้[20] ในขณะเดียวกัน ทริปเปิลเอชได้มีเรื่องกับวินซ์ แม็กแมน แถมจัดแมตช์ให้เจอกับกลุ่ม สปีริต สค๊วอด ในแมตช์แฮนดิแคป แบบ 5 รุม 1 ชอว์นก็ออกมาช่วยทริปเปิลเอช แล้ววันนั้นก็เป็นการกลับมารวมตัวกันอีกครั้งของกลุ่ม ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์[7] และเปิดศึกกับ ตระกูลแม็กแมน (วินซ์ แม็กแมน และ เชน แม็กแมน) ในศึกอันฟอร์กิฟเว่น 2006 ดี-เอกซ์ต้องเจอกับ วินซ์ แม็กแมน, เชน แม็กแมน และ บิ๊กโชว์ ในการปล้ำ 3 รุม 2 ในกรงเหล็ก สุดท้ายดี-เอกซ์ก็เอาชนะไปได้สำเร็จ ต่อมาดี-เอกซ์ได้เปิดศึกกับทีม เรท-อาร์เคโอ (เอดจ์ และ แรนดี ออร์ตัน) ซึ่งผลัดแพ้ผลัดชนะกันหลายรอบ จนจบด้วยการที่ทริปเปิลเอชเจ็บเข่าต้องพักไป 7 เดือน ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2007) ทริปเปิลเอชได้หายจากอาการบาดเจ็บหัวเข่าหลังจากพักไป 7 เดือน โดยเจอกับ บูเกอร์ ที และเอาชนะไปได้สำเร็จ ในศึก โนเมอร์ซี่ (2007) ทริปเปิลเอชได้มาท้าชิงแชมป์ WWE กับ แรนดี ออร์ตัน และก็ได้แชมป์ไป และในคืนเดียวกันต้องป้องกันแชมป์ WWE กับ อูมาก้า สุดท้ายทริปเปิลเอชเป็นฝ่ายชนะและป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ แต่ออร์ตันก็คว้าแชมป์กลับมาได้ในคืนเดียวกันในแมตช์ลาสแมนสแตนดิ้ง ใครล้มลงนอนกับพื้นแล้วถูกกรรมการนับสิบจะเป็นฝ่ายแพ้เสียแชมป์คืนให้กับออร์ตัน

ในศึก รอยัลรัมเบิล (2008) ทริปเปิลเอชได้เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิล แต่ถูกเหวี่ยงออกโดยจอห์น ซีนา เป็นคนสุดท้าย ทำให้ไม่ได้เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิล ต่อมา ในศึก แบคแลช (2008) ทริปเปิลเอชได้กลับมากระชากแชมป์จากออร์ตันไปได้ในแมตช์การปล้ำ 4 เส้าแพ้คัดออกเหลือคนสุดท้ายเป็นผู้ชนะ ในศึก จัดจ์เมนท์เดย์ (2008) ทริปเปิลเอชต้องป้องกันแชมป์กับ แรนดี ออร์ตัน ในการปล้ำกรงเหล็ก สุดท้ายทริปเปิลเอชเป็นฝ่ายชนะและป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ ในศึก วันไนท์สแตนด์ (2008) ทริปเปิล เอชต้องป้องกันแชมป์กับออร์ตัน อีกครั้ง ในแมตซ์การปล้ำลาสแมนสแตนดิ้ง สุดท้ายทริปเปิล เอชเป็นฝ่ายชนะและป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ จนกระทั่งออร์ตันต้องพักการปล้ำไปหลายเดือน ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2008) ทริปเปิล เอชต้องป้องกันแชมป์ WWE กับ เดอะ เกรท คาลี สุดท้ายทริปเปิล เอชก็เป็นฝ่ายเอาชนะและป้องกันแชมป์มาได้สำเร็จ จนกระทั่ง ในศึก เซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (2008) ทริปเปิล เอชต้องเจอกับ วลาดิเมียร์ คอซลอฟ และ เจฟฟ์ ฮาร์ดี ในแมตช์ 3 เส้า ชิงแชมป์ WWE แต่ก่อนขึ้นปล้ำ เจฟฟ์ได้ถูกลอบทำร้าย ทำให้กลายเป็นแมตช์การปล้ำชิงแชมป์เดี่ยว สุดท้ายกลายเป็น เอดจ์ ที่มาฉวยโอกาสในระหว่างการปล้ำและถูกเปลี่ยนเป็นแมตช์ 3 เส้าแบบเดิม ทำให้เอดจ์คว้าแชมป์ WWE ไปได้

เปิดศึกกับเดอะเลกาซี[แก้]

ทริปเปิลเอช ฉลองชัยหลังจากเอาชนะ แรนดี ออร์ตัน ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25

ในศึก รอยัลรัมเบิล (2009) ทริปเปิลเอชได้เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิล แต่ถูกเหวี่ยงออกโดยออร์ตัน เป็นคนสุดท้าย ทำให้ไม่ได้เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิล ในศึก โนเวย์เอาท์ (2009) ทริปเปิลเอชได้กลับมากระชากแชมป์ WWE คืนจากเอดจ์ และในรอว์ (16 กุมภาพันธ์ 2009) ออร์ตันไปทำร้าย วินซ์ แม็กแมน, เชน รวมถึงสเตฟานนี ภรรยาของทริปเปิลเอช ด้วยท่า RKO[21] ทำให้ทริปเปิลเอชโกรธสุดขีด และจะต้องป้องกันแชมป์กับออร์ตันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 สุดท้ายทริปเปิลเอชจัดการออร์ตัน ด้วยท่าพั้นซ์คิก(ท่าของออร์ตัน), ค้อนปอนด์ และท่าไม้ตาย Pegdigree ทำให้ทริปเปิลเอชป้องกันแชมป์และล้างแค้นออร์ตันได้สำเร็จ[22] ในศึก แบคแลช (2009) ทริปเปิลเอชต้องป้องกันแชมป์กับออร์ตันอีกครั้งในแทกทีม 6 คน โดยทริปเปิลเอช จับคู่กับบาทิสตา และเชน แม็กแมน เจอกับ ออร์ตันและทีม เดอะเลกาซี (โคดี โรดส์ และเท็ด ดิบิอาซี่) ผลปรากฏว่า ออร์ตันได้เล่นงาน ทริปเปิล เอช ด้วยท่าไม้ตาย RKO และ พั้นซ์ คิก ทำให้ ทริปเปิล เอช พ่ายแพ้ต่อออร์ตัน ในแมตช์ป้องกันแชมป์ WWE และได้รับบาดเจ็บต้องพักนาน 2-4 เดือน ต่อมา ทริปเปิล เอชได้กลับมาจากอาการบาดเจ็บและกลับมาอัดออร์ตัน ด้วยค้อนปอนด์ และท่าไม้ตาย Pegdigree กับเก้าอี้เหล็ก ในศึก เดอะแบช (2009) ทริปเปิลเอชได้ขอท้าชิงแชมป์กับออร์ตัน ในแบบนรก 3 ขุม สุดท้ายเลกาซีมาก่อกวนการปล้ำทำให้ทริปเปิลเอชไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ หลังแมตช์ออร์ตันฉลองชัยชนะแต่ทริปเปิลเอชได้เอาค้อนปอนด์ไปตีออร์ตันและพวกเดอะเลกาซี

ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ ฉลองชัยในกรงเหล็ก หลังจากเอาชนะเดอะเลกาซี

ทริปเปิลเอชได้จับคู่กับ ชอว์น ไมเคิลส์ ในนามกลุ่ม ดี-เจเนอเรชันเอกซ์ อีกครั้ง และได้เปิดศึกกับเดอะเลกาซี ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2009) สามารถเอาชนะเดอะเลกาซีได้สำเร็จ ต่อมาดี-เอกซ์สามารถคว้าแชมป์แทกทีมยูนิฟายด์ได้สำเร็จ เป็นครั้งแรก โดยเอาชนะทีมเจริ-โชว์ (คริส เจริโค และ บิ๊กโชว์) ในแมตช์ TLC Match ในศึก ทีแอลซี (2009)[23] ต่อมาได้แยกกลุ่มกับชอว์น หลังจากทั้งคู่เสียแชมป์แทคทีมยูนิฟายด์ให้กับทีมโชมิซ (บิ๊กโชว์ และเดอะมิซ) ในศึก อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010) ทริปเปิลเอชได้เจอกับ จอห์น ซีนา, เชมัส, แรนดี ออร์ตัน, โคฟี คิงส์ตัน และเท็ด ดิบิอาซี่ ในแมตช์อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ ชิงแชมป์ WWE สุดท้ายทริปเปิล เอช ถูกซีนาเล่นงาน ด้วยท่า STF จนต้องตบพื้นยอมแพ้เป็นคนสุดท้าย ต่อมาได้ถูกเชมัสลอบทำร้าย และได้ขอท้าเจอกับเชมัส ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 สุดท้ายทริปเปิลเอชจัดการด้วยท่า Pedigree เป็นฝ่ายชนะ[24][25] แต่ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2010) เชมัสได้มาลอบทำร้าย ทำให้ได้รับบาดเจ็บและต้องพักการปล้ำไปยาวนาน ในเฮาส์โชว์ของรอว์ ทริปเปิลเอชและนักมวยปล้ำฝ่ายธรรมะได้ออกมาช่วยจอห์น ซีนา ตอนที่ปล้ำกับเคน แล้วถูกกลุ่มเดอะเน็กซัส และนักมวยปล้ำฝ่ายอธรรมมารุม[26]

การเปิดตัวของทริปเปิลเอชในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27

ในรอว์ (21 กุมภาพันธ์ 2011) ทริปเปิล เอชได้หายกลับมาจากอาการบาดเจ็บ พร้อมกับดิอันเดอร์เทเกอร์ ที่หายกลับมาจากอาการบาดเจ็บเช่นเดียวกัน ทั้งคู่ได้เผชิญหน้าและท้าทายกัน และทั้งคู่จะได้เจอกันเป็นครั้งที่ 2 ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 ซึ่งเป็นการเจอกันอีกครั้งในรอบ 10 ปี ของเรสเซิลเมเนีย (ครั้งก่อน อันเดอร์เทเกอร์เอาชนะไปได้ในครั้งที่ 17) ในแมตช์ไม่มีกฎกติกา โดยมีสถิติไร้พ่าย 18-0 ของอันเดอะเทเกอร์ เป็นเดิมพัน สุดท้ายทริปเปิลเอชเป็นฝ่ายแพ้ ทำให้อันเดอร์เทเกอร์สร้างสถิติเป็น 19-0 ไปได้สำเร็จ[27]

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ[แก้]

ในรอว์ (18 กรกฎาคม 2011) ทริปเปิลเอชได้ทำหน้าที่เป็นประธาน COO ของสมาคม WWE[28] ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2011) ทริปเปิล เอชได้เป็นกรรมการพิเศษคู่ชิงแชมป์ WWE ระหว่าง จอห์น ซีนา กับ ซีเอ็ม พังก์ และเป็นซีเอ็ม พังก์ ที่ป้องกันแชมป์เอาไว้ได้สำเร็จ แต่ว่าหลังจากจบแมตซ์ เควิน แนช ได้ออกมาลอบทำร้าย ซีเอ็ม พังก์ ทำให้ อัลเบร์โต เดล รีโอ ได้ขอใช้สิทธิ์กระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ และกระชากแชมป์ WWE ไปจากพังก์ได้สำเร็จ[29] ในศึก ไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2011) ทริปเปิล เอชได้เจอกับ ซีเอ็ม พังก์ ในแมตช์การปล้ำไม่มีการจับแพ้ฟาล์ว โดยมีข้อแม้ว่าถ้า ทริปเปิล เอช แพ้ ต้องออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ สุดท้ายทริปเปิล เอชเป็นฝ่ายชนะ ทำให้ไม่ต้องออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ[30][31] ในรอว์ (19 กันยายน 2011) ทริปเปิล เอชได้ออกมาสั่งไล่ เดอะ มิซ และ อาร์-ทรูธ ออกจาก WWE แล้วก็เดินกลับไปหลังเวที มิซและทรูธวิ่งตามเข้าไปรุมทำร้ายทริปเปิล เอช ทำให้นักมวยปล้ำคนอื่นต้องช่วยกันห้าม สุดท้ายทริปเปิล เอชก็สั่งให้จับมิซและทรูธ โยนออกไปนอกอาคาร ในศึก เฮลอินเอเซล (2011) มิซและทรูธได้ไปลอบทำร้าย ซีเอ็ม พังก์, อัลเบร์โต เดล รีโอ, จอห์น ซีนา และกรรมการ ทำให้ทริปเปิล เอชโกรธจึงต้องเรียกตำรวจมาจับมิซและทรูธ ออกไปจากสนาม ในศึก เวนเจินส์ (2011) ทริปเปิล เอชต้องจับคู่กับ ซีเอ็ม พังก์ เจอกับ เดอะ มิซ และ อาร์-ทรูธ สุดท้ายกลายเป็น ทริปเปิล เอช กับซีเอ็ม พังก์ แพ้ เพราะ เควิน แนช มาก่อกวนการปล้ำ[32] ในรอว์ (24 ตุลาคม 2011) ทริปเปิล เอช ถูกเควิน แนช ใช้ค้อนปอนด์ทุบหลังของทริปเปิล เอช จนต้องพักการปล้ำ[33] ในรอว์ (12 ธันวาคม 2011) ทริปเปิลเอช ได้กลับมาจากอาการบาดเจ็บ และขอท้าเจอกับเควิน แนช ในศึก ทีแอลซี (2011) ในแมตช์ไต่บันได โดยมีค้อนปอนด์แขวนอยู่ข้างบน สุดท้ายทริปเปิลเอชก็เป็นฝ่ายชนะ[34]

ทริปเปิลเอช กับดิอันเดอร์เทเกอร์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28

ในรอว์ (30 มกราคม 2012) อันเดอร์เทเกอร์ได้หายกลับมาจากอาการบาดเจ็บ โดยเผชิญหน้ากับทริปเปิล เอชอีกครั้ง ก่อนจะไปมองโลโก้ เรสเซิลเมเนีย และทำท่าเชือดคอแล้วทริปเปิล เอชก็เดินจากไป[35] ต่อมาอันเดอร์เทเกอร์ได้ขอท้าเจอกับทริปเปิล เอชอีกครั้ง ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28[36] ซึ่งเป็นการเจอกันครั้งที่ 3 ของทั้งคู่ ในเรสเซิลเมเนีย (ครั้งแรก อันเดอร์เทเกอร์ สามารถเอาชนะ ทริปเปิล เอช ไปได้ในครั้งที่ 17 และ ครั้งที่ 2 อันเดอร์เทเกอร์ สามารถเอาชนะ ทริปเปิล เอช ไปได้ในครั้งที่ 27) ในรูปแบบการปล้ำในกรงเหล็ก เฮลอินเอเซล โดยมีสถิตไร้พ่าย 19-0 ของอันเดอร์เทเกอร์เป็นเดิมพัน และมี ชอว์น ไมเคิลส์ เป็นกรรมการพิเศษ[37] สุดท้ายทริปเปิล เอชเป็นฝ่ายแพ้ ทำให้อันเดอร์เทเกอร์สร้างสถิติเป็น 20-0 ไปได้สำเร็จ[38]

ในรอว์ (30 เมษายน 2012) จอห์น โลรีนายติสได้เชิญบร็อก เลสเนอร์ออกมา แต่ไม่ทันไรทริปเปิลเอชก็ตามออกมา และบอกว่าออกมาเพื่อจะทำในสิ่งที่โลรีนายติสไม่กล้าทำ เลสเนอร์จะไม่ได้รับสัญญาฉบับใหม่ที่เรียกร้องเกินกว่าเหตุเครื่องบินที่รับนายมาจากบ้านจะไม่ส่งนายกลับยกเว้นนายจะจ่ายเงินเช่นเดียวกับรถลิมูซีนที่พานายมาสนามด้วยและรายการนี้ก็จะชื่อ มันเดย์ไนท์รอว์ ตลอดไปไม่มีใครใหญ่ไปกว่า WWE ชั้นต้องการให้นายอยู่ที่นี่คนดูก็ต้องการจะดูนายเจอกับนักมวยปล้ำดังๆ แต่นายจะต้องอยู่ภายใต้สัญญาฉบับแรกที่เราตกลงกันเท่านั้นสัญญาใหม่ที่นายขอแก้ไขนั้นชั้นจะไม่เซ็นให้หรอกนะ ทริปเปิลเอชฉีกสัญญาใหม่ของเลสเนอร์ทิ้งแล้วพูดต่อว่าถ้านายไม่พอใจล่ะก็จะยกเลิกสัญญาก็ได้แล้วก็จากไปพร้อมกับความพ่ายแพ้ที่มีต่อซีนา ซึ่งนายคงจะไม่อยากให้เป็นแบบนั้นใช่มั้ย โลรีนายติสพยายามพูดช่วยเลสเนอร์ แต่ทริปเปิล เอช สั่งให้โลรีนายติสหุบปากซะแต่โลรีนายติส ไม่หยุดพูด ทริปเปิลเอชเลยหันไปเอาเรื่องโลรีนายติส เลยเปิดโอกาสให้เลสเนอร์อัดทริปเปิลเอชจากด้านหลัง และโดนจับใส่ท่า คิมุระล็อก จนร้องลั่นด้วยความเจ็บปวดเพราะแขนหัก ร้อนถึงบรรดาสตาร์ฝ่ายธรรมะต้องรีบออกมาช่วย ทำให้เลสเนอร์รีบหนีลงเวทีไป จากการกระทำของเลสเนอร์ที่ใช้ท่าคิมุระล็อกใส่แขนซ้ายของทริปเปิลเอชทำให้ COO ของ WWE ได้รับบาดเจ็บและต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยทีมแพทย์ของ WWE พบว่าแขนของเขาหัก และยังมีอาการเส้นเอ็นฉีกขาดบริเวณข้อศอกด้วย จึงจำเป็นต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด[39][40]

ในรอว์ (14 พฤษภาคม 2012) ทริปเปิลเอช ออกมาที่เวทีบอกว่า บร็อก เลสเนอร์ มันทำตัวเหมือนเดิมตลอด เมื่อก่อนมันเป็นเด็กบ้านนอกตัวโตจากมินเนโซต้า มันกลายเป็นสตาร์ดัง แต่พอเริ่มมีคนมาท้าชิงเข้าหน่อยมันก็หนีไป มันไป UFC แต่ก็ถูกเขาอัดเอา พอเห็นว่าหนทางไม่ได้ง่ายมันก็เลยหนีออกมาอีก มันกลับมา WWE เพราะเห็นว่า จอห์น ซีนา กระจอก และมันคิดว่ามันจะเอาชนะซีนาได้ แต่สุดท้ายมันก็แพ้ พอล เฮย์แมน ออกมา และเอาเอกสารคดีความมาให้ทริปเปิล เอช เพราะ เลสเนอร์ ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทริปเปิล เอช เป็นเงินหลายล้าน เพราะเดิมที จอห์น โลรีนายติส ได้เซ็นสัญญากับเลสเนอร์ ไว้แล้ว แต่ทริปเปิล เอช ฉีกมันทิ้ง ทริปเปิล เอช โมโหและบีบคอ เฮย์แมน แต่สุดท้ายก็ยอมปล่อย แล้วฝากให้ เฮย์แมน ไปบอก เลสเนอร์ ด้วยว่าเขาจะต้องได้รับสิ่งที่เขาสมควรจะได้ ทริปเปิล เอชเดินจากไป แต่ เฮย์แมน ประกาศว่าเมื่อกี้ว่า ทริปเปิล เอชทำร้ายเขา ดังนั้นเขาจะฟ้องทริปเปิล เอช เป็นคดีที่สองด้วย เอาไว้เจอกันในศาลนะ[41] ในศึก โนเวย์เอาท์ (2012) ทริปเปิล เอช ออกมาพูดถึง บร็อก เลสเนอร์ ว่าจะเสียเวลายื่นฟ้อง WWE ไปทำไมมาสู้กันเลยดีกว่า ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2012)[42] ในรอว์ (18 มิถุนายน 2012) ทริปเปิล เอช ออกมาบอกว่า บร็อก เลสเนอร์ ควรจะตอบรับข้อเสนอนี้ เพราะถ้าเขายอมมา ชั้นจะให้เขาทุกอย่าง ให้เป็นนายแบบโปสเตอร์ศึก ซัมเมอร์สแลม ด้วย พอล เฮย์แมน บอกว่า อย่าพยายามเกลี้ยกล่อมให้ยากเลย เลิกทำตัวเป็นนักมวยปล้ำซะทีเถอะ กลับบ้านไปเลี้ยงลูกดีกว่านะ ไปเล่นเป็นพระราชากับลูกนู่น คนอย่างแกไม่ใช่พระราชาอะไรทั้งนั้นในโลกของชั้นและเลสเนอร์ โกรธรึไง อยากจะต่อยชั้นมั้ยล่ะ ต่อยเลยสิ จะได้ฟ้องอีกคดีนึง ทริปเปิล เอช ต่อย เฮย์แมน จริงๆ แล้วก็บอกว่า ไปบอก เลสเนอร์ ด้วยว่าในซัมเมอร์สแลม มันจะต้องโดนแบบนี้[43]

ในศึก รอว์ 1,000 (23 กรกฎาคม 2012) วินซ์ แม็กแมน ออกมาแนะนำ ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ ทริปเปิล เอช ออกมาพร้อมกับ ชอว์น ไมเคิลส์ และตามด้วย โรด ด็อก, บิลลี่ กัน และ เอกซ์-แพ็ค ขับรถจี๊ปทหารตามออกมา ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ เล่นตลกคาเฟ่กันอยู่นาน ทำให้ แดเมียน แซนดาว ออกมาขัดจังหวะ ชอว์น เลยจัดการ Sweet Chin Music ต่อด้วย Pedigree ของ ทริปเปิล เอช คืนเดียวกัน ทริปเปิล เอช ออกมาอีกครั้งเพื่อมาเจรจากับเลสเนอร์ แต่เป็น พอล เฮย์แมน ออกมาเพื่อบอกปฏิเสธแมตช์ในซัมเมอร์สแลม สเตฟานี ออกมาเยาะเย้ยถากถาง เฮย์แมน ทำให้ เฮย์แมน โมโห บอกจะให้เลสเนอร์ มาทำลาย ทริปเปิล เอช ให้สิ้นซาก ในซัมเมอร์สแลม สเตฟานี คร่อมต่อยเฮย์แมน ไม่ยั้งแล้ว เลสเนอร์ ก็ออกมา สเตฟานีหนีลงเวทีไป แต่ ทริปเปิล เอช ก็โดนเลสเนอร์ อัด ทริปเปิล เอช ต่อยสู้ แล้วก็อัดเลสเนอร์ ตกเวทีไป[44] ในรอว์ (13 สิงหาคม 2012) ทริปเปิล เอช กับ ชอว์น ไมเคิลส์ ออกมาเพื่อเซ็นสัญญาปล้ำกับเลสเนอร์ ในซัมเมอร์สแลม แล้ว เลสเนอร์ กับเฮย์แมน ก็กลับไปหลังจากที่เซ็นกันเสร็จเรียบร้อย ชอว์น จะขับรถกลับบ้าน แต่โดน เฮย์แมนขับรถมาขวางเอาไว้ แล้วเลสเนอร์ ก็มาลากชอว์นลงจากรถแล้วก็อัดซะเละ เลสเนอร์ แบกชอว์น กลับมาที่เวที แล้วก็จัดการด้วย F-5 ต่อด้วย คิมุระล็อก ทริปเปิล เอช วิ่งออกมาช่วย แต่ เฮย์แมน สั่งห้าม ทริปเปิล เอช เข้ามาใกล้ ไม่อย่างนั้น เลสเนอร์ จะหักแขนชอว์น ทริปเปิล เอช ไม่กล้าเข้าไปใกล้ แต่ เลสเนอร์ ก็หักแขนชอว์น อยู่ดี ทริปเปิล เอช รีบวิ่งเข้าไปช่วย แต่ เลสเนอร์ กับเฮย์แมน ก็วิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว ชอว์นดิ้นอยู่บนเวที ทริปเปิล เอช พยายามเข้าไปขอโทษ แต่ชอว์นก็ไล่ ทริปเปิล เอช ให้ไปไกลๆ[45] ในซัมเมอร์สแลม ทริปเปิล เอช ก็เป็นฝ่ายแพ้ให้กับเลสเนอร์[46][47]

ในรอว์ (18 มีนาคม 2013) ทริปเปิลเอช ได้ออกมาเซ็นสัญญาในการเจอกับ บร็อก เลสเนอร์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 อย่างเป็นทางการแล้ว แถมยังอัดเล่นงาน พอล เฮย์แมน จนหมดสภาพและร้องโอดโอยเรียกให้เลสเนอร์ออกมาช่วยอีกด้วย ภายหลังจากการเซ็นสัญญา เลสเนอร์ก็ออกมาพร้อมกับเก้าอี้ทำท่าโมโห ก่อนจะเดินมายังเวทีทำท่าเหมือนจะขึ้นไปฟัดกับ ทว่าทริปเปิล เอชคว้าค้อนปอนด์มาได้เหมือนกัน เลสเนอร์ไม่ขึ้นไป ก่อนจะโยนเก้าอี้ไปใส่ทริปเปิล เอชบนเวที ทริปเปิล เอชปัดเก้าอี้ทิ้ง กวักมือเรียกเลสเนอร์ให้ขึ้นมา เลสเนอร์กับเฮย์แมนเดินวนรอบเวทีหนึ่งรอบ ก่อนจะเดินไปบริเวณฉาก และเฮย์แมนก็ประกาศกติการรวมทั้งเงื่อนไขพิเศษของแมทช์การปล้ำระหว่าง ทริปเปิล เอช ปะทะ เลสเนอร์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 ออกมาอย่างเป็นทางการว่า จะปล้ำกันแบบไม่มีกฏกติกา และมีอาชีพการเป็นนักมวยปล้ำของทริปเปิล เอช เป็นเดิมพันด้วย (ถ้า ทริปเปิล เอช แพ้ ต้องเลิกปล้ำ)[48] สุดท้าย ทริปเปิล เอช ก็เอาชนะมาได้สำเร็จ[49] และได้รีแมตช์กันอีกครั้งในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2013) ในแมตช์การปล้ำในกรงเหล็ก สุดท้าย ทริปเปิล เอช ก็เป็นฝ่ายแพ้ไป[50] คืนต่อมาในรอว์ (20 พฤษภาคม 2013) พอล เฮย์แมน ออกมาเปิดตัวลูกค้าคนที่ 3 ของเขา นั่นคือ เคอร์ติส แอ็กเซล แต่ ทริปเปิล เอช ออกมาและจะเอาเรื่องเฮย์แมน ที่เยาะเย้ยเขาว่าแพ้ บร็อก เลสเนอร์ ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ แต่แอ็กเซลมาขวางไว้และบอกว่าต้องเจอเขาก่อน ทริปเปิล เอชเลยอัดแอ็กเซลจนล้มลงไป และขอท้าเจอกัน สู้กันได้ไม่นาน ทริปเปิล เอชก็เกิดหน้ามืดเป็นลมจนทีมงานเข้ามาดูอาการแล้วก็ปรากฏว่าไม่สามารถปล้ำต่อได้[51][52][53] ในรอว์ (10 มิถุนายน 2013) ทริปเปิล เอชได้เจอกับเคอร์ติส แอ็กเซล ระหว่างแมตช์ วินซ์ แม็กแมน ก็เดินออกมาสั่งให้ลั่นระฆัง และประกาศให้แอ็กเซลชนะฟาวล์ไปเลย วินซ์เดินยิ้มกลับไปอย่างมีความสุข พอวินซ์กลับไปแล้ว ทริปเปิล เอชก็สั่งให้เริ่มแมตช์ใหม่อีกครั้ง ปล้ำกันได้ไม่นาน วินซ์ก็เดินกลับออกมาอีก คราวนี้สั่งให้ตัดสินให้แอ็กเซลชนะเพราะคู่ต่อสู้ไม่มาปล้ำ วินซ์เดินกลับไป ทริปเปิล เอชก็ไปสั่งให้ปล้ำแมตช์ใหม่อีกครั้ง คราวนี้เป็นแมตช์ไอรอนแมน 60 นาที แต่วินซ์ก็กลับออกมาอีกครั้ง และไล่แอ็กเซลให้กลับไป แล้วก็ยึดเอาระฆังกับไมโครโฟนไปด้วย ทริปเปิล เอชเลยหมดสิทธิ์ได้ปล้ำต่อ[54]

ดิออธอริตี[แก้]

ดิออธอริตี: ทริปเปิลเอช กับสเตฟานี แม็กแมน

ในซัมเมอร์สแลม (2013) ทริปเปิล เอชได้เป็นกรรมการพิเศษคู่ชิงแชมป์ WWE ระหว่าง จอห์น ซีนา กับ แดเนียล ไบรอัน โดย ทริปเปิล เอช กดนับ 3 ให้ไบรอันเป็นฝ่ายชนะและคว้าแชมป์ WWE เป็นสมัยแรกได้สำเร็จ หลังแมตช์ ไบรอันกำลังฉลองแชมป์บนเวทีโดยมีการจุดพลุฉลองอย่างยิ่งใหญ่ แต่แล้ว แรนดี ออร์ตัน ก็เดินถือกระเป๋าออกมา แต่ทริปเปิลเอชจับไบรอันใส่ Pedigree แล้วออร์ตันก็กลับมาใช้กระเป๋า และจับกดนับ 3 คว้าแชมป์ไปครองโดยทริปเปิลเอชก็ร่วมฉลองด้วย และได้กลับมาเป็นฝ่ายอธรรมกันอีกครั้ง[55] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2013) ไบรอันสามารถคว้าแชมป์ WWE ไปได้เป็นสมัยที่ 2 โดยเอาชนะออร์ตัน ในรอว์คืนต่อมา (16 กันยายน 2013) ทริปเปิล เอช ได้สั่งปลดแชมป์ WWE ของไบรอัน และบอกว่า สก็อตต์ อาร์มสตรอง ที่ตัดสินแมตช์ชิงแชมป์นับ 1 2 3 เร็วเกิน และได้จัดแมตช์ชิงแชมป์ WWE ที่ว่างอยู่ ระหว่าง ออร์ตัน กับ ไบรอัน ในแบทเทิลกราวด์ สุดท้ายแมตช์จบลงโดยไม่มีผลตัดสิน เพราะบิ๊กโชว์ออกมาก่อกวนการปล้ำ ก่อนจะมีการรีแมตช์ชิงแชมป์ที่ว่างอยู่อีกครั้ง ในเฮลอินเอเซล (2013) ในกรงเฮลอินเอเซล โดยมีชอว์น ไมเคิลส์ เป็นกรรมการพิเศษ และออร์ตันก็เป็นฝ่ายชนะคว้าแชมป์ WWE เป็นสมัยที่8 ได้อีกครั้ง จากการช่วยเหลือของชอว์น ในรอว์ (25 พฤศจิกายน 2013) ออร์ตันออกมาบอกว่าเขามีอยู่เรื่องหนึ่งที่คาใจ จึงขอให้ทริปเปิลเอชออกมา และออร์ตันบอกว่าทำไมต้องออกมาช่วยเขาด้วย? ก็ไหนบอกว่าไม่ต้องมีการก่อกวนไง เขาเอาชนะด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องให้ใครมาช่วย เพราะเขาคือผู้เป็นหน้าเป็นตาของ WWE เป็นแชมป์ WWE เป็นซูเปอร์สตาร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์ WWE ตลอดกาลและไม่มีใครจะมาแย่งชิงอะไรไปจากเขาได้ จอห์น ซีนา เจ้าของแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ออกมาและก็บอกว่าเขานี่แหละที่จะทำได้ ขอท้าเจอออร์ตันโดยเอาแชมป์ทั้งสองเส้นเป็นเดิมพัน ทริปเปิล เอชกับสเตฟานี ก็เห็นชอบด้วย และทริปเปิล เอชก็จัดแมตช์ในศึก TLC ให้ทั้งสองคนเจอกันและจะเอาแชมป์ทั้งสองเส้นแขวนไว้ในแมตช์โต๊ะ, บันได และ เก้าอี้ ในทีแอลซี (2013) ออร์ตันได้เอาชนะซีนา และคว้าทั้งแชมป์ WWE และแชมป์โลกเฮฟวี่เวท[56][57]

การเปิดตัวของทริปเปิลเอชในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30

ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30 ทริปเปิลเอช ได้เจอกับแดเนียล ไบรอัน โดยผู้ชนะจะได้ร่วมแมตช์ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWE กับแรนดี ออร์ตัน และบาทิสตา ในคู่เอก สุดท้ายทริปเปิลเอชก็พ่ายแพ้ คืนเดียวกันในคู่เอก ทริปเปิลเอช ได้ก่อกวนไบรอัน แต่ก็ไม่สามารถขัดขวางการเป็นแชมป์ของไบรอันได้ ในรอว์คืนต่อมา ไบรอัน แชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWE คนใหม่ ได้มาฉลองกับผู้ชม ก่อนที่ทริปเปิลเอชจะขัดจังหวะ โดยจัดแมตช์ชิงแชมป์ในคืนนั้น และคู่ต่อสู้ของเขาคือทริปเปิลเอช โดยก่อนแมทช์ชิงแชมป์นั้น สเตฟานีได้สั่งให้ เคน, บาทิสตา และออร์ตัน ทำร้ายไบรอันก่อนการก่อนแข่งขันจะเริ่มต้น เป็นการสร้างจุดอ่อน และทำให้ทริปเปิลเอชมีโอกาสในการชนะมากขึ้น จนเดอะชีลด์ (ดีน แอมโบรส, เซท โรลลินส์ และโรแมน เรนส์) ได้ออกมาบนเวที และจัดการกับพวกกลุ่มของ ทริปเปิล เอช และได้ช่วยไบรอัน จากการกลั่นแกล้งจากกลุ่ม ทริปเปิล เอช ในรอว์ (14 เมษายน 2014) เดอะชิลด์ต้องปล้ำแฮนดิแคป 11 รุม 3 แต่กรรมการต้องยุติแมตช์ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายอัดกันไม่หยุด ก่อนที่ ทริปเปิล เอช, ออร์ตัน และ บาทิสตา จะออกมาในนามของกลุ่ม เอฟโวลูชั่น เพื่อจัดการกลุ่มเดอะชิลด์โดยเฉพาะ ก่อนที่จะประกาศแมตช์แทคทีมอย่างเป็นทางการ ในสแมคดาวน์ (18 เมษายน 2014) ระหว่าง เดอะชีลด์ เจอกับ เอฟโวลูชั่น ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2014) สุดท้ายเอฟโวลูชั่นเป็นฝ่ายแพ้[58]

หลังจากกลุ่มเดอะชีลด์ได้รับชัยชนะในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ ดูเหมือนว่าความแค้นของกลุ่มเอฟโวลูชั่นจะยังไม่จบลง เมื่อในรอว์ (5 พฤษภาคม 2014) ดีน แอมโบรสต้องป้องกันแชมป์ยูเอส กับนักมวยปล้ำ 19 คน ในแบทเทิลรอยัล โดยเชมัสเป็นฝ่ายชนะคว้าแชมป์ไปในทันที ก่อนที่กลุ่มเอฟโวลูชั่นจะตามมาก่อกวน และทำร้ายเดอะชีลด์ในแมตช์ที่ต้องเจอกับเดอะไวแอ็ตต์แฟมิลี จนกลุ่มเดอะชีลด์หมดสภาพไปในคืนนั้น ในรอว์ (12 พฤษภาคม 2014) เดอะชีลด์ได้ออกมาท้ากลุ่มเอฟโวลูชั่น หลังจากที่ได้ทำร้ายพวกเขาในสัปดาห์ที่ผ่านมา และรถลีมูซีนกลุ่มเอฟโวลูชั่นก็โผล่มาทางจอยักษ์ในสนาม ทำให้เดอะชีลด์ไม่รอช้าตามไปอัดถึงที่ จนกรรมการต้องออกมาห้าม และกลุ่มของเอฟโวลูชั่นก็ได้รับคำท้า และเจอกันในเพย์แบ็ค ขณะที่บาทิสตา ท้าขอเจอกับ โรแมน เรนส์ ในคู่เอกของรายการ ซึ่งในแมตช์นั้น สมาชิกที่เหลือของเดอะชีลด์ และเอฟโวลูชั่นต่างก็ยืนอยู่ข้างเวที และในระหว่างแมทช์ทั้งสองฝ่ายต่างอัดกันจนกรรมการบนเวที ต้องยุติการปล้ำ แต่เดอะชีลด์ก็ยังไม่หยุด สเตฟานี จึงเรียกนักมวยปล้ำคนอื่นๆ มาช่วยจัดการเดอะขีลด์ แต่ก็ไม่สำเร็จ และยังโดนเดอะชีลด์เล่นงานคืนได้สำเร็จ ในเพย์แบ็ค (2014) เอฟโวลูชั่น ได้เจอกับ เดอะชีลด์ อีกครั้ง ในแมตช์แทคทีม 6 คน ไม่มีกฎกติกา แบบคัดออก สุดท้าย เอฟโวลูชั่น ได้แพ้รวด 3-0 ต่อมาในรอว์ (2 มิถุนายน 2014) บาทิสตา ได้ขอลาออกจาก WWE คืนเดียวกัน โรแมน เรนส์ มีคิวเจอกับ แรนดี ออร์ตัน ออร์ตัน กับทริปเปิล เอช เปิดตัวออกมาโดยทริปเปิล เอช ถือค้อนมาด้วย ทำให้เดอะชีลด์ พากันไปหยิบเก้าอี้มาเตรียมไว้ ทริปเปิล เอช บอกว่า บาทิสตา มันหนีไปแล้ว แต่เราก็มีแผน 2 เสมอ... ว่าแล้ว เซท โรลลินส์ ก็เอาเก้าอี้ฟาดใส่เรนส์จากด้านหลัง จากนั้นก็ฟาดแอมโบรสอีกคน โรลลินส์เอาเก้าอี้ไปยื่นให้ออร์ตัน เพื่อเอาไปฟาดเรนส์ กับแอมโบรสต่ออีก จากนั้นก็ RKO เรนส์ ลงบนเก้าอี้ ปิดท้ายรายการโดยมีโรลลินส์ ยืนอยู่กับออร์ตัน และทริปเปิลเอช เป็นอันว่าโรลลินส์ได้แยกทีมกับเดอะชีลด์แล้ว

ในรอว์ (27 ตุลาคม 2014) ทริปเปิลเอชได้จัดแมตช์แทกทีม 5 ต่อ 5 แบบคัดออก ระหว่างทีมออธอริตีกับทีมซีนาในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2014) โดยให้จอห์น ซีนา จัดทีมมาเจอกับทีมออธอริตี ให้ซีนาเลือกใครก็ได้มาเข้าทีม[59] ในรอว์ (3 พฤศจิกายน 2014) วินซ์ แม็กแมน ออกมาเปิดรายการพร้อมกับ ทริปเปิล เอช และสเตฟานี โดยวินซ์ได้ประกาศว่าถ้าทีมของซีนาชนะ ทีมออธอริตีจะต้องสลายและก็จะหมดอำนาจไปด้วย คืนเดียวกันได้มีแมตช์การปล้ำคู่เอกระหว่าง แรนดี ออร์ตัน กับ เซท โรลลินส์ โดยโรลลินส์เป็นฝ่ายชนะไปได้ หลังแมตช์ออร์ตันทำใจสักพักแล้วก็ยอมจับมือกับเจมี โนเบิล, โจอี เมอร์คิวรี, เคน ก่อนจะมาถึงโรลลินส์ แต่ออร์ตันไม่จับมือแถมยัง RKO ใส่โรลลินส์ด้วย โนเบิล, เมอร์คิวรี และเคน พยายามรุมออร์ตัน แต่ออร์ตันก็จับเหวี่ยงตกเวทีหมด แล้วก็ตั้งท่าจะเตะจุดโทษใส่โรลลินส์ แต่ทริปเปิล เอช ขึ้นมาห้ามเอาไว้ซะก่อน และบอกให้ออร์ตันใจเย็นๆ แต่ออร์ตัน ต่อยหน้าทริปเปิล เอชจนล้มคว่ำ ทำให้พวกเคนต้องมาช่วยกันรุมออร์ตันอีก แต่ก็เอาไม่อยู่ ออร์ตันไปต่อยรัวใส่โรลลินส์ที่โต๊ะผู้บรรยาย แต่สุดท้ายก็โดนพวกเคน มารุมจับเอาไว้จนได้ โรลลินส์กระโดดเหยียบหัวออร์ตัน อัดใส่โต๊ะผู้บรรยายจนหัวแตก จากนั้นสเตฟานีก็บอกให้ทริปเปิล เอช จัดการกับออร์ตันซะ ทริปเปิล เอชยังเสียดายอยู่ แต่ก็จำใจต้องสั่งให้ปิดบัญชีออร์ตัน เคนลากออร์ตันไปวางบนขั้นบันไดเหล็กและก็ให้โรลลินส์ กระโดดเหยียบหัวอีกครั้ง[60] ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ ทีมออธอริตีได้แพ้ให้กับทีมซีนา จากการช่วยเหลือของสติง ทำให้ต้องยุติอำนาจลง[61] ในรอว์ส่งท้ายปี 2014 เอดจ์และคริสเตียน ออกมาจัดรายการ Cutting Edge Peep Show เป็นครั้งแรก โดยแขกรับเชิญคือ เซท โรลลินส์ มาพร้อมกับ J&J Security (เจมี โนเบิล และโจอี เมอร์คิวรี) โรลลินส์ บอกว่าเขาจะไม่ฉลองปีใหม่อย่างเดียวดายเพราะต้องเชิญเพื่อนซี้ของเขามาด้วยคือ บิ๊กโชว์ และโรลลินส์ ก็บอกว่าเขาต้องเชิญอีกคนมาให้ได้คือ จอห์น ซีนา แต่ซีนาไม่ยอมออกมา ทำให้โรลลินส์เรียกซีนาออกมาอีกครั้งเพราะเขาอยากจะให้ซีนาช่วยทำอะไรให้สักหน่อย ถ้าซีนาไม่ยอมออกมาเขาก็ไม่มีทางเลือกแล้วนะ โรลลินส์เอากระเป๋า MITB ฟาดใส่คริสเตียน ทำให้เอดจ์โมโหเข้ามาผลักโรลลินส์ แต่ก็โดน บิ๊กโชว์, โนเบิล และเมอร์คิวรี มารุมล้อม บิ๊กโชว์บีบคอเอดจ์ แล้วจับกดลงกับกระเป๋าให้โรลลินส์เหยียบหัว โรลลินส์เรียกซีนาให้ออกมา ไม่อย่างนั้นเขาจะหักคอเอดจ์ ซีนาวิ่งออกมาแต่โรลลินส์สั่งให้ซีนาหยุด และก็บอกให้ซีนาคืนอำนาจให้กับออธอริตี ไม่อย่างงั้น เอดจ์ จะต้องโดนเหยียบหัวจนพิการตลอดชีวิต และมันก็จะเป็นความผิดที่ซีนา ต้องจดจำไปจนวันตาย ซีนาจำเป็นต้องยอมคืนอำนาจให้ออธอริตี แต่โรลลินส์บอกว่าเขาจะฆ่าเอดจ์อยู่ดี ว่าแล้วก็จะโดดเหยียบหัว แต่ซีนามาช่วยไว้ทัน สุดท้ายซีนาก็โดนบิ๊กโชว์ปล่อยหมัดน็อคใส่ และโรลลินส์ก็ตามมาโดดเหยียบหัวซ้ำ โรลลินส์และพรรคพวกเดินกลับไปอย่างมีความสุข โดยมี พอล เฮย์แมน และบร็อก เลสเนอร์ ออกมาจับมือกับโรลลินส์ด้วย และทริปเปิลเอช กับสเตฟานี ก็ออกมาจิบไวน์เฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่ากันอย่างมีความสุข[62] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31 ทริปเปิลเอชได้เอาชนะสติงไปได้[63][64][65] ในทีแอลซี (2015) ทริปเปิลเอชได้ถูกโรแมน เรนส์เล่นงาน หลังจากที่เรนส์แพ้ให้กับเชมัสจนไม่สามารถคว้าแชมป์โลกมาได้ และทริปเปิลเอชถูกหามส่งโรงพยาบาล[66] ในรอยัลรัมเบิล (2016)ทริปเปิลเอชได้เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิลเป็นคนสุดท้ายคนที่30 โดยสามารถกระชากแชมป์โลกจากเรนส์เป็นสมัยที่14 ได้สำเร็จ[67] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32ทริปเปิลเอชก็เสียแชมป์คืนให้กับเรนส์[68]

ในรอว์ 29 สิงหาคม 2016 ทริปเปิลเอชได้ปรากฏตัวในแมตช์สี่เส้าคัดออกชิงแชมป์ยูนิเวอร์แซล WWE โดยมาเล่นงานโรแมน เรนส์ทำให้แพ้ตกรอบ และยังหักหลังเซท โรลลินส์โดยการใส่เพดดรีกีและให้เควิน โอเวนส์กดโรลลินส์นับ3ได้แชมป์ไป[69] ในรอว์ 23 มกราคม 2017 ในแมตช์ระหว่างโรลลินส์กับแซมี เซนนั้น เพลงเปิดตัวของทริปเปิลเอชก็ดังขึ้น ทำให้โรลลินส์เสียสมาธิจนแพ้เซน และหมดสิทธิ์เข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิล (2017)[70] ในเอ็นเอ๊กซ์ที เทคโอเวอร์: แซนแอนโทนีโอ 28 มกราคม โรลลินส์ได้ปรากฏตัวและเรียกให้ทริปเปิลเอชออกมาเจอบนเวที แต่ทริปเปิลเอชได้เรียกรปภ.มาลากตัวโรลลินส์ออกไปจากสนาม[71] ในรอว์ 30 มกราคม ทริปเปิลเอชได้ออกมาบอกว่าที่เขาตัดสินใจหักหลังโรลลินส์ เพราะว่าเขาเคยมอบโลกให้กับโรลลินส์ แต่โรลลินส์ถุยมันใส่หน้าเขา ตอนที่เขาสละแชมป์หลังบาดเจ็บตอนนั้น และเรียกให้โรลลินส์ออกมาเจอกับผู้ทำลายล้างเขาได้แล้ว ก่อนที่โรลลินส์จะออกมาเพื่อเอาคืน แต่ซามัว โจได้โผล่มาเล่นงานโรลลินส์ซะยับเยิน เป็นการเปิดตัวค่ายหลักสำหรับโจ[72] และทำให้โรลลินส์บาดเจ็บที่เข่า[73] ในเรสเซิลเมเนีย ทริปเปิลเอชได้แพ้โรลลินส์ในแมตช์ Unsanctioned[74]

ในรอว์ 13 พฤศจิกายน ทริปเปิลเอชได้ปรากฏตัวออกมาประกาศเข้าร่วมทีมรอว์ปะทะทีมสแมคดาวน์ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2017)[75] ซึ่งทริปเปิลเอชนำทีมชนะไปได้ในระหว่างแมตช์ได้เล่นงานเคิร์ต แองเกิลกัปตันในทีมของตน[76][77] ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2018)ทริปเปิลเอชปรากฏตัวพร้อมกับสเตฟานีโดยมาร่วมพิธีเซ็นสัญญาของรอนดา ราวซีย์ แองเกิลได้แฉความจริงว่าทริปเปิลเอชกับสเตฟานีแค้นรอนดามาตั้งแต่เรสเซิลเมเนีย 31 และอยากได้มายำเล่นนานแล้ว ซึ่ง 3 ปีผ่านไปก็สำเร็จ ก่อนจะแฉสเตฟานีว่า ทุกวันนี้รอนดาไม่เหลืออะไรแล้ว ลำพังแค่เจอเธอ เธอยังชนะได้เลย ด้านทริปเปิลเอชรีบมาห้าม แต่โดนรอนดาจับทุ่มกับโต๊ะจนพัง!!! สเตฟานีโมโหตบหน้ารอนดาอย่างแรง!!! ก่อนที่รอนดาหยิบสัญญามาเซ็น คืนต่อมารอนดาบอกให้สเตฟานีขอโทษที่ตบหน้าเธอและสเตฟานีก็ยอมขอโทษแต่ทริปเปิลเอชก็ชกใส่แองเกิล สัปดาห์ต่อมาแองเกิลประกาศจะจับคู่กับรอนดาเจอทริปเปิลเอชกับสเตฟานีแบบแท็กทีมผสมในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34โดยทีมแองเกิลชนะ ในเกรเทสต์ รอยัลรัมเบิลที่ประเทศซาอุดีอาระเบียทริปเปิลเอชได้ขึ้นปล้ำแพ้จอห์น ซีนา ในซูเปอร์โชว์-ดาวน์ทริปเปิลเอชสามารถเอาชนะอันเดอร์เทเกอร์ไปได้และเป็นการเจอกันแบบตัวต่อตัวครั้งสุดท้าย ในคราวน์ จูเอ็ลทริปเปิลเอชและชอว์นในนาม DX สามารถเอาชนะ Brothers of Destruction (เทเกอร์และเคน) ไปได้ ในปี 2019 ทริปเปิลเอชได้รับการบรรจุชื่อเข้าสู่ WWE Hall of Fame ในฐานะ DX ในซูเปอร์โชว์ดาวน์ (2019)ที่ประเทศซาอุดีอาระเบียทริปเปิลเอชแพ้ให้แรนดี ออร์ตัน

รีไทร์[แก้]

วันที่ 25 มีนาคม 2022 ทริปเปิลเอชได้ประกาศรีไทร์จากสังเวียนมวยปล้ำในวัย 52 ปี หลังมีปัญหาด้านสุขภาพ จากก่อนหน้านี้เขามีอาการหัวใจล้มเหลวเมื่อเดือนกันยายน 2021 ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนและหายจากวงการมวยปล้ำไปช่วงหนึ่ง ผ่านรายการเฟิร์ส เทกของอีเอสพีเอ็น[78][79] ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน เขาได้ปรากฏตัวคืนที่สองของ WrestleMania 38 ในฐานะ COO ของ WWE เขาทิ้งไมโครโฟนและรองเท้ามวยปล้ำของเขาไว้บนสังเวียนเพื่อแสดงถึงการเกษียณอายุบนสังเวียนอย่างเป็นทางการของเขา[80]

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

ปี ภาพยนตร์ รับบทเป็น หมายเหตุ
1998 Pacific Blue Triple H
1998 The Drew Carey Show The Disciplinarian
2001 MADtv Himself
2004 Blade: Trinity Jarko Grimwood
2005 The Bernie Mac Show Triple H[81]
2006 Relative Strangers Wrestler[82] Uncredited
2011 The Chaperone Raymond "Ray Ray" Bradstone
2011 Inside Out Arlo "AJ" Jayne
2014 Scooby-Doo! WrestleMania Mystery Himself (voice)
2014 WWE Power Series Himself Fitness video

แชมป์และรางวัลต่างๆ[แก้]

แชมป์ WWE
แชมป์โลกเฮฟวี่เวท

แมตช์ที่มีสิ่งต่างๆ เป็นเดิมพัน[แก้]

สิ่งที่เดิมพัน ผู้ชนะ ผู้แพ้ สถานที่ วันที่ หมายเหตุ
Title ทริปเปิลเอช แคคตัส แจ็ก (รีไทร์) Hartford, Connecticut 27 กุมภาพันธ์ 2000 Title vs. career match at No Way Out.
Title ทริปเปิลเอช เคน (นักมวยปล้ำ) (หน้ากาก) San Antonio, Texas 23 มิถุนายน 2003 Title vs. mask match on Raw.

รางวัลและเกียรติยศอื่นๆ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Triple H's fifth reign was as Undisputed WWF Champion. His next three were as simply WWE Champion, while his ninth reign was as WWE World Heavyweight Champion.
  2. Triple H's reign with Shawn Michaels was when the title, then known as World Tag Team Championship, was unified with the WWE Tag Team Championship and known as Unified WWE Tag Team Championship.

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Triple H; Robert Caprio (May 11, 2010). Triple H Making the Game: Triple H's Approach to a Better Body. Simon and Schuster. ISBN 978-1-4391-2175-7.
  2. Skog, Jason (2012). Triple H: At the Top of His Game. Capstone Press. p. 8 pp. ISBN 978-1429686778.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Triple H - WWE Bio". WWE. สืบค้นเมื่อ December 18, 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Triple H Bio". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-24. สืบค้นเมื่อ April 14, 2009.
  5. "Triple H Bio". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2011-08-30.
  6. 6.0 6.1 Milner, John; Clevett, Jason; Kamchen, Richard (December 5, 2004). "Hunter Hearst Helmsley". Canoe.ca. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18. สืบค้นเมื่อ July 11, 2007.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 "Raw – June 12, 2006 Results". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ July 11, 2007.
  8. "Hunter Hearst Helmsley: Triple H Now an Exec". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-29. สืบค้นเมื่อ September 14, 2014.
  9. "HHH salary and job title". 411 Mania. สืบค้นเมื่อ 2014-03-23.
  10. "W.W.W.F./W.W.F./W.W.E. World Heavyweight Title". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ October 8, 2007.
  11. "World Heavyweight Title (W.W.E. Smackdown!)". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ October 8, 2007.
  12. "John Rodeo Interview". JohnRodeo.com. September 16, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
  13. Peter McGough (July 2002). "Coming to grips with Triple H". Flex. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-04. สืบค้นเมื่อ 2007-09-20.
  14. Marvez, Alex (April 2001). "Triple Threat". Wrestling Digest. p. 2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-20. สืบค้นเมื่อ July 17, 2008.
  15. Marvez, Alex (April 2001). "Triple Threat (p. 3)". Wrestling Digest. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-18. สืบค้นเมื่อ July 17, 2008.
  16. "Wrestler snapshot: Triple H". Wrestling Digest. August 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-21. สืบค้นเมื่อ September 20, 2007.
  17. "Starrcade 1994 results". Pro Wrestling History. สืบค้นเมื่อ July 13, 2009.
  18. http://www.youtube.com/watch?v=IqauB4dg80k&feature=related/ Triple H's First Match
  19. Pro Wrestling Illustrated presents: 2007 Wrestling almanac & book of facts. "Wrestling’s historical cards" (p.110)
  20. Hurley, Oliver (April 20, 2006). "Power Slam Magazine, issue 142". "WrestleMania In Person” (WrestleMania 22). SW Publishing. pp. 16–19.
  21. Sitterson, Aubrey (February 16, 2009). "Game changer". WWE. สืบค้นเมื่อ April 13, 2009.
  22. Sitterson, Aubrey (2009-03-02). "Breaking the news". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ April 6, 2009.
  23. Caldwell, James (December 13, 2009). "Caldwell's WWE TLC PPV Report 12/13: Complete PPV report on Cena vs. Sheamus, DX vs. JeriShow, Taker vs. Batista". PWTorch. สืบค้นเมื่อ 2009-12-14.
  24. Plummer, Dale (2010-03-01). "RAW: A bad trip on the Road to Wrestlemania". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2010-03-29.
  25. Martin, Adam (2010-03-28). "Wrestlemania 26 Results – 3/28/10". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-01. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
  26. http://www.youtube.com/watch?v=fOq1vMbh5U8/John Cena vs Kane (Fan Appreciation, Supershow)
  27. "WWE Corporate - 2011 News releases". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-14. สืบค้นเมื่อ 2011-04-23.
  28. Tello, Craig. ""Game" changer for McMahon". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-22. สืบค้นเมื่อ 2013-08-14.
  29. "John Cena vs. CM Punk – Undisputed WWE Championship Match". WWE. สืบค้นเมื่อ August 1, 2011.
  30. "Kevin Nash released". WWE.com. 2011-09-07. สืบค้นเมื่อ September 7, 2011.
  31. Tello, Craig. "WWE COO Triple H def. CM Punk (No Disqualification Match)". WWE. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  32. McMahon named John Laurinaitis Interim Raw GM "WWE Raw SuperShow results: The "Laurinaitis Era" begins". WWE.com. สืบค้นเมื่อ October 12, 2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  33. "Triple H & CM Punk vs. The Miz & R-Truth". WWE. สืบค้นเมื่อ October 12, 2011.
  34. Hillhouse, Dave (December 18, 2011). "TLC: The trouble with tables". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ December 18, 2011.
  35. Passero, Mitch (January 30, 2012). "The Undertaker returned with his sights set on Triple H". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2012.
  36. Medalis, Kara A. (February 13, 2012). "WWE Raw SuperShow results: Has Cena embraced the hate?". WWE. สืบค้นเมื่อ February 14, 2012.
  37. "The Undertaker vs. Triple H (Hell in a Cell Match with special referee Shawn Michaels)". WWE. สืบค้นเมื่อ February 20, 2012.
  38. Ryan Murphy (April 2, 2012). "End of an era". WWE. สืบค้นเมื่อ April 2, 2012.
  39. Scannell, Robin. "Raw Storyline Tracker - Complete Over the Limit build-up: Cena-Laurinaitis, Triple H-Lesnar, Punk-Bryan, Big Show "fired," more!". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ June 12, 2012.
  40. Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw Results 4/30: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw Starring Brock Lesnar - PPV fall-out, Triple H returns". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ June 12, 2012.
  41. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 5/14: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw - Cena & Triple H return, final PPV hype". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ October 10, 2012.
  42. Caldwell, James (June 17, 2012). "CALDWELL'S WWE NO WAY OUT PPV REPORT 6/17". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ June 17, 2012.
  43. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 6/18: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw #994 - PPV fall-out, Johnny says good-bye, Hunter-Heyman". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ October 10, 2012.
  44. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/23: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #999 - WWE recognizes 1,000 episodes, WWE Title match, Lesnar, Rock, DX, wedding". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ July 28, 2012.
  45. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 8/13: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Brock-Hunter contract signing turns physical, Punk-Cena, final Summerslam hype". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ October 11, 2012.
  46. Bishop, Matt. "Lesnar snaps Triple H's arm at SummerSlam". SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ October 11, 2012.
  47. Martin, Adam. "WWE: Triple H suffers "broken arm" at Summerslam". Wrestleview. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ October 11, 2012.
  48. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 3/18: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Hunter signs WM29 contract, IC Title match, more WM29 developments".
  49. Myers, Thomas. "Wrestlemania 29 results: Brock Lesnar pinned by Triple H after steel step Pedigree". MMAMANIA. สืบค้นเมื่อ April 8, 2013.
  50. "WWE Extreme Rules results and reactions from last night (May 19): Believe in Gold".
  51. Curtis Axel def. Triple H
  52. Triple H injury update
  53. "Triple H exits the arena: WWE App Exclusive, May 20, 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-25. สืบค้นเมื่อ 2013-08-14.
  54. Curtis Axel def. Triple H via Disqualification and Forefit
  55. http://www.wwe.com/shows/summerslam/2013/john-cena-daniel-bryan-26131903
  56. "Raw results: Daniel Bryan wins big at the Slammys as Cena and Orton's final face-off ends in chaos - WWE.com". WWE. สืบค้นเมื่อ September 14, 2014.
  57. http://www.wwe.com/shows/raw/2013-12-09/wwe-raw-results-26169042/page-10
  58. Clapp, John. "The Shield vs. Evolution". WWE. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
  59. Tedesco, Mike. "WWE RAW Results - 10/27/14 (John Cena vs. Seth Rollins)". wrestleview.com. สืบค้นเมื่อ October 28, 2014.
  60. Tedesco, Mike. "WWE RAW Results - 11/3/14 (Randy Orton vs. Seth Rollins)". wrestleview.com. สืบค้นเมื่อ November 4, 2014.
  61. Tedesco, Mike. "WWE Smackdown Results - 11/21/14 (Survivor Series hype)". wrestleview.com. สืบค้นเมื่อ November 22, 2014.
  62. Keller, Wade. "Keller's WWE Raw report 12/29: Lesnar and Heyman show up, Ziggler vs. Rusev in a champion vs. champion match, Edge & Christian host, Bryan's big announcement". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ December 31, 2014.
  63. Asher, Matthew. "WWE Fastlane: Questionable match endings and fan reaction may hurt 'Mania". Canoe.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-23. สืบค้นเมื่อ March 13, 2015.
  64. Powell, John. "WrestleMania 31 the best Mania ever". Canoe.ca. Slam Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 30 March 2015.
  65. "Ronda Rousey's takedown of The Authority makes headlines". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-12. สืบค้นเมื่อ July 12, 2015.
  66. Caldwell, James. "12/13 WWE TLC PPV results". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ December 14, 2015.
  67. "Who won the Royal Rumble?". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ January 25, 2016.
  68. Caldwell, James. "4/3 WrestleMania 32 PPV Results – CALDWELL'S Complete Live Report on Main PPV". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ April 3, 2016.
  69. Keller, Wade. "KELLER'S WWE RAW REVIEW 8/29: Ongoing coverage of fatal four way for the WWE Universal Title". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ August 29, 2016.
  70. Hamlin, Jeff (January 23, 2017). "WWE RAW LIVE RESULTS: ROYAL RUMBLE GO-HOME SHOW". Wrestling Observer. สืบค้นเมื่อ February 6, 2017.
  71. January, Corey (January 28, 2017). "Seth Rollins Calls Out Triple H At Tonight's NXT Takeover: San Antonio". Wrestling News. สืบค้นเมื่อ February 6, 2017.
  72. Hamlin, Jeff (January 30, 2017). "WWE RAW LIVE RESULTS: ROYAL RUMBLE FALLOUT". Wrestling Observer. สืบค้นเมื่อ February 6, 2017.
  73. Currier, Joseph (February 1, 2017). "SETH ROLLINS SUFFERS AN INJURY DURING HIS BRAWL WITH SAMOA JOE ON RAW". Wrestling Observer. สืบค้นเมื่อ February 6, 2017.
  74. Benigno, Anthony. "Seth Rollins def. Triple H (Non-Sanctioned Match)". WWE. สืบค้นเมื่อ April 2, 2017.
  75. Konuwa, Alfred (November 13, 2017). "WWE Raw Results: News And Notes After Triple H's Shocking Return".
  76. Gould, Andrew. "Triple H Runs into Videoboard After WWE Survivor Series". Bleacher Report (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ November 20, 2017.
  77. Johnny (November 19, 2017). "Braun Strowman really messed HHH up. #SurvivorSeries". @WWEJohnny05 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ November 20, 2017.
  78. @WWE (March 25, 2022). "Breaking: @TripleH announced his retirement from in-ring competition on @espn @firsttake with @stephenasmith" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ March 25, 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  79. Linder, Brian (March 25, 2022). "WWE star Triple H retires from wrestling, says heart condition will prevent him from working in-ring again". The Patriot-News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 25, 2022.
  80. "Triple H leaves his boots in the ring: WrestleMania 38 (WWE Network Exclusive)". WWE Network. April 4, 2022. สืบค้นเมื่อ April 4, 2022 – โดยทาง YouTube.
  81. The Futon Critic Staff (TFC) (February 3, 2005). "Triple H Brings His Game to 'The Bernie Mac Show' Friday, March 11, on Fox". The Futon Critic. สืบค้นเมื่อ June 4, 2011.
  82. "Paul Levesque". IMDb. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
  83. 83.00 83.01 83.02 83.03 83.04 83.05 83.06 83.07 83.08 83.09 "PWI Awards". Pro Wrestling Illustrated. Kappa Publishing Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2016. สืบค้นเมื่อ March 6, 2018.
  84. "Pro Wrestling Illustrated Award Winners Match of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2008. สืบค้นเมื่อ June 28, 2008.
  85. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2000". Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ March 6, 2018.
  86. Eck, Kevin (August 2009). "The PWI 500". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-06. สืบค้นเมื่อ September 4, 2009.
  87. "Pro Wrestling Illustrated Top 500 – PWI Years". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2011. สืบค้นเมื่อ September 6, 2010.
  88. "Title History: WWE Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ October 14, 2007.
  89. "Title History: World Heavyweight Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ October 14, 2007.
  90. "Title History: Intercontinental". WWE. สืบค้นเมื่อ October 14, 2007.
  91. "Title History: European". WWE. สืบค้นเมื่อ October 14, 2007.
  92. "Title History: WWE Tag Team: D-Generation X". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2009. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
  93. "Title History: World Tag Team: Stone Cold & Triple H". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ October 14, 2007.
  94. "Title History: World Tag Team: D-Generation X". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2009. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
  95. "2011 Slammy Award winners". WWE. สืบค้นเมื่อ March 6, 2018.
  96. "2012 WWE Slammy Awards and WWE.com Slammy Awards winners". WWE. สืบค้นเมื่อ March 6, 2018.
  97. https://www.solowrestling.com/new/78555-dgeneration-x-primer-nominado-al-wwe-hall-of-fame-2019
  98. Meltzer, Dave (January 25, 2016). "January 25, 2016 Wrestling Observer Newsletter: 2015 Observer Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California. p. 45. ISSN 1083-9593.
  99. 99.00 99.01 99.02 99.03 99.04 99.05 99.06 99.07 99.08 99.09 Meltzer, Dave (January 26, 2011). "Biggest issue of the year: The 2011 Wrestling Observer Newsletter Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA. pp. 1–40. ISSN 1083-9593.
  100. Meltzer, Dave (January 30, 2012). "Jan 30 Wrestling Observer Newsletter: Gigantic year-end awards issue, best and worst in all categories plus UFC on FX 1, death of Savannah Jack, ratings, tons and tons of news". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA. ISSN 1083-9593.
  101. WWE [@WWE] (May 10, 2017). "BREAKING: @TripleH is set to be inducted into the @BGCA_Clubs Alumni Hall of Fame! More details:…" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  102. "TRIPLE H HEADED INTO THE HALL OF FAME - PWInsider.com".
  103. "Triple H honored".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]