คณะมนุษยศาสตร์ และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะมนุษยศาสตร์
และการจัดการการท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
School of Humanities and Tourism Management Bangkok University
สถาปนาพ.ศ. 2524
คณบดีผศ. ดร. สมยศ วัฒนากมลชัย
ที่อยู่
สีสีเหลืองทอง
มาสคอต
ดินสอ
เว็บไซต์http://hu.bu.ac.th/

ประวัติ[แก้]

คณะมนุษยศาสตร์ก่อตั้งขึ้นจากแผนกภาษาอังกฤษและแผนกศิลปศาสตร์ซึ่งเดิมเป็นแผนก อิสระที่จัดสอนวิชาภาษาอังกฤษและวิชาศึกษาทั่วไปให้แก่นักศึกษาทุกคณะ ต่อมาได้รับอนุมัติจาก ทบวงมหาวิทยาลัยให้จัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2524 คณบดีคณะ มนุษยศาสตร์ นับจากก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน

หน่วยงาน[แก้]

  • ภาควิชาภาษาอังกฤษ (Department of English)
  • ภาควิชาภาษาไทย (Department of Thai)
  • ภาควิชาการการจัดการการท่องเที่ยว(Department of Tourism Management)
  • ภาควิชาการจัดการการโรงแรม (Department of Hotel Management)
  • ภาควิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน (Department of Airline Business Management)
  • ภาควิชาภาษาตะวันออกและเอเชียศึกษา (Department of Eastern Languages and Asian Studies)

หลักสูตร[แก้]

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดสอน 8 สาขาวิชา ใน 6 ภาควิชา ได้แก่


หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี
ภาควิชาภาษาอังกฤษ ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (English)
ภาควิชาภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication)
ภาควิชาการจัดการท่องเที่ยว ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว (Tourism Management)
ภาควิชาการจัดการการโรงแรม ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาการจัดการการโรงแรม (Hotel Management)
ภาควิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน (Airline Business Management)
ภาควิชาภาษาตะวันออกและเอเชียศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)
  • สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวและโรงแรม (Chinese for Tourism and Hospitality)
  • สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ (Chinese for International Business)


สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (English)[แก้]

เปิดสอนสาขาวิชา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ เนื่องด้วยตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้านของสังคม จึงมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางภาษาอังกฤษอย่างลึกซึ้ง ทั้งด้านภาษาศาสตร์และวรรณคดี โดยเชี่ยวชาญในทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้ได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา อีกทั้งมีความพร้อมที่ศึกษาต่อในระดับที่สูงยิ่งขึ้นไป

ภาควิชาภาษาอังกฤษจัดหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Centered Design) เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนโดยรวม ทั้งทางด้านเชาวน์ปัญญา (IQ) และเชาวน์อารมณ์ (EQ) โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์จริง และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียน โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นในการสื่อสาร ผ่านสื่อการเรียนการสอนต่างๆ อาทิ คอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการทางภาษา


สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication)[แก้]

เป็นการศึกษาภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารงานธุรกิจ งานสื่อสารมวลชน รวมถึงลีลาการใช้ภาษาไทยในแง่มุมต่างๆ โดยสามารถประยุกต์ใช้ในโอกาสต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ในการศึกษาด้านภาษาศาสตร์ มุ่งฝึกฝนทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนให้มีประสิทธิภาพในมิติต่าง ๆ อาทิ การใช้ภาษาไทยในสื่อมวลชน การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ การเขียนเพื่อธุรกิจ ฯลฯ ส่วนการศึกษาด้านวรรณกรรม ศึกษาวรรณกรรมไทยสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง การศึกษาทั้ง 2 ด้านนี้เป็นพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพ และศึกษาทางด้านภาษาไทยในระดับสูงต่อไป


สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว (Tourism Management)[แก้]

มุ่งเน้นพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นมืออาชีพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงนำวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเสริมทักษะและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิชาต่างๆ ที่เปิดสอนมีเนื้อหาครอบคลุมความรู้ทางด้านการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ อีกทั้งนักศึกษาจะได้มีโอกาสทัศนศึกษานอกสถานที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว นอกจากนี้สาขาวิชายังมีความสัมพันธ์อันดีกับธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างประเทศ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่นักศึกษาในการแสวงหาประสบการณ์จากการฝึกงานและโอกาสในการศึกษาต่อต่างประเทศ


สาขาวิชาการจัดการการโรงแรม (Hotel Management)[แก้]

มุ่งเน้นที่จะพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะภาษาต่างประเทศและเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม สาขาวิชาได้นำเทคโนโลยีและวิทยาการที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอนซึ่งพร้อมด้วยห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการส่วนหน้าของโรงแรม ห้องพักมาตรฐานและห้องชุด ภัตตาคาร คอฟฟี่ชอป ห้องครัว เพื่อเสริมทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเฉพาะสาขาแก่นักศึกษา นอกจากนี้สาขาวิชาได้จัดโครงการพิเศษเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในต่างประเทศสำหรับนักศึกษาที่สนใจ เช่น โครงการทัศนศึกษาและดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ และโครงการศึกษาภาษาและฝึกงานต่างประเทศ


สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน (Airline Business Management)[แก้]

มุ่งเน้นผลิตนักศึกษาให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญ เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ สนองตอบความต้องการของธุรกิจสายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยนำวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเสริมทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานภายหลังจบการศึกษา หลักสูตรให้ความสำคัญกับการเรียนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ วิชาต่างๆ มีเนื้อหาครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจสายการบินในด้านต่างๆ เช่น การบริการผู้โดยสาร การจัดการตลาด การขนส่งสินค้า การบริหารท่าอากาศยาน เทคโนโลยีและทักษะภาษาต่างประเทศ ภาควิชาจัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการจำลองสถานที่ทำงานของพนักงานสายการบินเพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ เช่น การบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน การบริการผู้โดยสารภาคพื้น การสำรองที่นั่ง การคิดราคาและการออกบัตรโดยสาร นอกจากนี้ ภาควิชายังมีความสัมพันธ์อันดีกับธุรกิจสายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นักศึกษานำความรู้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงระหว่างการฝึกงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมืออาชีพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fan Page : http://www.facebook.com/HumanAirlineBU

สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม (Chinese for Tourism and Hospitality)[แก้]

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาจีน ทั้งทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน อันเป็นการตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนหรือผู้ที่ใช้ภาษาจีน เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมากในระยะหลัง นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจในธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม เพื่อประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป


สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ (Chinese for International Business)[แก้]

เป็นหลักสูตรสหวิทยาการที่บูรณาการความรู้และทักษะภาษาจีนทั้งในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ให้เข้ากับทฤษฎีและความรู้ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงการศึกษาดูงานในประเทศจีน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ตรงทางการทำธุรกิจระหว่างประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อ หรือการทำธุรกิจกับชาวจีนทั้งที่อยู่ในประเทศไทย ในประเทศจีน และในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]