การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519

← พ.ศ. 2518 4 เมษายน พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2522 →

ทั้งหมด 279 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 140 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ44.0% ลดลง
  First party Second party Third party
 
ผู้นำ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ประมาณ อดิเรกสาร หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
พรรค ประชาธิปัตย์ ชาติไทย กิจสังคม
เขตของผู้นำ 22 เมษายน 2511

กรุงเทพมหานคร เขต 5

19 พฤศจิกายน 2517

สระบุรี เขต 1

4 พฤศจิกายน 2517

กรุงเทพมหานคร เขต 1 (แพ้)

เลือกตั้งล่าสุด 72 28 18
ที่นั่งที่ชนะ 114 56 45
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 42 เพิ่มขึ้น 28 เพิ่มขึ้น 27
คะแนนเสียง 4,745,990 3,280,134 3,272,170
% 25.3% 17.5% 17.5%

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
กิจสังคม

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ประชาธิปัตย์

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 11[1] การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดเนื่องจาก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาสภาผู้แทนราษฎรขึ้น เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 เนื่องจากรัฐบาลประสบปัญหาหลายประการทั้งการเมืองและการเรียกร้องต่าง ๆ ของประชาชนทั่วประเทศ โดยให้มีการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน ปีเดียวกัน

ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ โดยการนำของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีและเป็นพี่ชายของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั้งหมดถึง 114 คน จากจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่จะมีได้ คือ 279 คน นับว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวง พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.มากถึง 24 คน[2] ถือว่าได้ยึดครองพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพฯไว้ได้ ขณะที่พรรคกิจสังคม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้ ส.ส.มาทั้งหมด 45 คน ถือเป็นอันดับสาม โดยที่พรรคชาติไทยได้เป็นอันดับสอง คือ 56 ที่นั่ง [3]

มีการวิเคราะห์กันว่า พรรคกิจสังคมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะการบริหารราชการที่ผ่านมาจากการยกเลิกความร่วมมือทางการทหารกับทางสหรัฐอเมริกา โดยไปเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์แทน อีกทั้งตัวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เองในครั้งนี้ก็ยังพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้แก่ นายสมัคร สุนทรเวช นักการเมืองหนุ่ม ผู้เป็นเสมือนดาวรุ่งในขณะนั้นของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่เขตดุสิต ซึ่งเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของตนเองด้วย

การจัดตั้งรัฐบาลเกิดขึ้นโดยเป็นรัฐบาลผสม 4 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทย, พรรคธรรมสังคม และพรรคสังคมชาตินิยม รวมกันแล้วมีจำนวนเสียง ส.ส.ทั้งหมด 206 เสียง ถือว่าเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร

ในวันที่ 20 เมษายน ปีเดียวกัน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ที่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539. ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 1996. pp. 5–7.
  2. "ประวัติพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-06-27.
  3. Sangchai, Somporn (1979), "Some Observations on the Elections and Coalition Formation in Thailand, 1976", Modern Thai Politics (Transaction Publishers): p. 378,
  4. เสนีย์ฯ คัมแบ็ก พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรค, หน้า 154. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3