เทศบาลเมืองบางบัวทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองบางบัวทอง
ถนนบางกรวย-ไทรน้อยในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง
ถนนบางกรวย-ไทรน้อยในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง
แผนที่
ทม.บางบัวทองตั้งอยู่ในจังหวัดนนทบุรี
ทม.บางบัวทอง
ทม.บางบัวทอง
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองบางบัวทอง
พิกัด: 13°54′36.1″N 100°25′33.8″E / 13.910028°N 100.426056°E / 13.910028; 100.426056พิกัดภูมิศาสตร์: 13°54′36.1″N 100°25′33.8″E / 13.910028°N 100.426056°E / 13.910028; 100.426056
ประเทศ ไทย
จังหวัดนนทบุรี
อำเภอบางบัวทอง
จัดตั้ง14 มีนาคม 2480
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีกาญจนา เจริญนนทสิทธิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด13.5 ตร.กม. (5.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด51,441 คน
 • ความหนาแน่น3,810.44 คน/ตร.กม. (9,869.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04120401
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 4 หมู่ที่ 2 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
เว็บไซต์www.buathongcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองบางบัวทอง เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลเมือง ในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2480

ประวัติ[แก้]

เทศบาลเมืองบางบัวทองจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2480 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2480 เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[2] กำหนดท้องที่บางส่วนของตำบลบางบัวทองและตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ให้มีฐานะเป็นเทศบาล มีอาณาเขต 1 ตารางกิโลเมตร โดยมีขุนพิทักษ์ปทุมมาศ ซึ่งเดิมเป็นกำนันตำบลบางบัวทอง เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก และนายเลี้ยง ทองไฮ้ กับ หม่อมหลวงแจ่ม อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นเทศมนตรีคณะแรก ต่อมาในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2538 มีการตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2538[3] โดยขยายเขตเทศบาลเมืองบางบัวทองจาก 1 ตารางกิโลเมตร เป็น 13.5 ตารางกิโลเมตร

นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายระดับชาติอันเกี่ยวแก่เทศบาลเมืองบางบัวทองอีกสองฉบับคือ พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2503[4] เนื่องจากมีการขยายตัวทั้งการก่อสร้างอาคารและการผังเมืองอย่างมากและอย่างรวดเร็วในท้องที่เทศบาลเมืองบางบัวทอง จึงกำหนดให้บังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479[5] ในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง เพื่อประโยชน์ในความมั่นคงแข็งแรง การอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัย และการผังเมือง ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยต่อไป และพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารบางส่วนของเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2526[6] เนื่องจากเทศบาลเมืองบางบัวทองยื่นคำขอให้กระทรวงสาธารณสุขรับโอนสถานีอนามัยชั้น 1 ไปดำเนินการต่อ เนื่องจากเทศบาลเมืองบางบัวทองไม่สามารถดำเนินการให้บริการ รักษาพยาบาลแก่ประชาชน ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้อีก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลเมืองบางบัวทองมีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดนนทบุรีประมาณ 15 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย ประมาณ 22 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

เทศบาลเมืองบางบัวทองครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสนลอยทั้งตำบล ตำบลบางบัวทอง (เฉพาะหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3) ตำบลบางรักใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 6, 7) ตำบลพิมลราช (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–3) และตำบลบางรักพัฒนา (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 5, 6)

ประชากร[แก้]

เขตเทศบาลเมืองบางบัวทองมีประชากรในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 51,441 คน[1] อาชีพหลักของประชากรในถิ่นนี้คือ ทำสวน รับราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน ธุรกิจส่วนตัว รับจ้างทั่วไป และทำงานเอกชน ในท้องที่เทศบาลเมืองบางบัวทอง และบางส่วนเดินทางไปทำงานในกรุงเทพมหานคร

การขนส่ง[แก้]

ถนน[แก้]

รถโดยสารประจำทางและรถไฟฟ้า[แก้]

สาธารณูปโภค[แก้]

  • ไฟฟ้า อยู่ในเขตการไฟฟ้านครหลวง เขตบางบัวทอง
  • ประปา อยู่ในเขตการประปานครหลวง สาขาบางบัวทอง
  • โทรศัพท์ อยู่ในเขตบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เขตบางบัวทอง
  • การแพทย์ มีโรงพยาบาลหลายแห่งทั้งของรัฐบาล เช่น โรงพยาบาลบางบัวทอง และโรงพยาบาลของเอกชน
  • ไปรษณีย์ ดำเนินการโดยที่ทำการไปรษณีย์บางบัวทอง

สถานที่สำคัญ[แก้]

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองบางบัวทอง". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 54 ตอน 0 ก, 14 มีนาคม พ.ศ. 2480, หน้า 1859–1862. ลงวันที่ 11 มีนาคม ใช้บังคับวันที่ 14 มีนาคม
  3. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 112 ตอน 22 ก, 26 มิถุนายน พ.ศ. 2538, หน้า 1–4. ลงวันที่ 7 มิถุนายน ใช้บังคับวันที่ 27 มิถุนายน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 77 ตอน 77 ก, 20 กันยายน พ.ศ. 2503, หน้า 743–745. ลงวันที่ 6 กันยายน ใช้บังคับวันที่ 21 กันยายน
  5. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 53 ตอน 0 ก, 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479, หน้า 765–774.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 100 ตอน 55 ก ฉบับพิเศษ, 7 เมษายน พ.ศ. 2526, หน้า 43–45. ลงวันที่ 3 เมษายน ใช้บังคับวันที่ 8 เมษายน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]