เทศบาลเมืองชะอำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองชะอำ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Cha-am
ซอยร่วมจิต
ซอยร่วมจิต
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองชะอำ
ตรา
ทม.ชะอำตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี
ทม.ชะอำ
ทม.ชะอำ
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองชะอำ
พิกัด: 12°47′57″N 99°58′06″E / 12.79917°N 99.96833°E / 12.79917; 99.96833พิกัดภูมิศาสตร์: 12°47′57″N 99°58′06″E / 12.79917°N 99.96833°E / 12.79917; 99.96833
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบุรี
อำเภอชะอำ
จัดตั้ง
  •  • ยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง พ.ศ. 2547
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนุกูล พรสมบูรณ์ศิริ
พื้นที่
 • ทั้งหมด110 ตร.กม. (40 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด38,349 คน
 • ความหนาแน่น348.62 คน/ตร.กม. (902.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04760401
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
เว็บไซต์www.cha-amcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชะอำ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง คือ หาดชะอำ เดิมเป็นเทศบาลตำบลชะอำ[2] และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองเมื่อ พ.ศ. 2547[3]

ประวัติ[แก้]

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเยี่ยมราษฎร ณ สำนักงานเทศบาลตำบลชะอำในอดีต

ชะอำเดิมมีชื่อว่า "ชะอาน" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงนำทัพมาทางใต้ เมื่อมาถึงเมืองนี้ไพร่พล ช้าง ม้า และได้ชำระล้างอานม้า จึงได้ชื่อว่า "ชะอาน" ต่อมาชื่อนี้จึงเพี้ยนมาเป็นชะอำ[ต้องการอ้างอิง] ชะอำครั้งอดีตเริ่มมีความเจริญทางด้านทางท่องเที่ยว ตั้งแต่ทางรถไฟสายใต้สร้างมาถึงในราวปี พ.ศ. 2459 ชายหาดชะอำเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่รู้จักกันมานานแล้ว แต่ในอดีตยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2464 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารในสมัยนั้นได้ออกสำรวจพื้นที่ชายทะเลที่ชะอำ ได้ทรงมาจับจองที่ดินชายทะเลตำบลชะอำ

ชะอำในอดีตเป็นพื้นที่ในความดูแลของเขตอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี มีสภาพเป็นป่า พื้นที่ส่วนด้านชายทะเลเป็นดงกระบองเพชรป่าหนามเสมาสลับกับต้นมะขามเทศและต้นรัก การประกอบอาชีพในอดีตประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่สับปะรด และทำการประมง หมู่บ้านชะอำนั้นตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟบ้านชะอำทางทิศตะวันตกของทางรถไฟ หมู่บ้านชายทะเลนี้เป็นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่บ้านปากคลอง และบ้านหนองแจง เมื่อชะอำเริ่มเป็นที่รู้จักว่า เป็นเมืองชายทะเลที่สงบเงียบ ธรรมชาติสวยงาม อีกทั้งมีแหล่งน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีราษฎรอพยพมาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากชุมชนเล็ก ๆ ขยายตัวเป็นชุมชนใหญ่ มีการรวมตัวจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ให้ชื่อว่าหมู่บ้าน "สหคาม" โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก พระบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ทรงวางผังเมืองชะอำ วางผังเมืองชะอำ วางผังตัดถนน และมีพระประสงค์เพื่อให้ชะอำเป็นที่พักตากอากาศตามแผนพัฒนาชะอำที่พระองค์ได้จัดทำขึ้น โดยมีกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี และพระยามโนปกรณ์ฯ ร่วมเป็นที่ปรึกษา

ชะอำจึงเป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่รู้จักกันในหมู่ชาวต่างประเทศและยังเป็นที่ตั้งของพระราชนิเวศน์มฤคทายวันซึ่งเป็นพระราชวังฤดูร้อน

ภูมิศาสตร์[แก้]

การศึกษา[แก้]

อุดมศึกษา
ประถมศึกษา
  • โรงเรียนเทศบาล 9 โรงเรียน
  • โรงเรียนแก่นจันทร์วิทยา

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองชะอำ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๐ ประกาศ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เล่มที่ ๕๔ ตอน ๐ก หน้า ๑๒๒๐
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองชะอำ, เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ, เทศบาลเมืองเบตง, เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร, เทศบาลเมืองนาสาร, เทศบาลเมืองบัวใหญ่)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2011-10-31.