ข้ามไปเนื้อหา

สะพานพระนั่งเกล้า

พิกัด: 13°52′13″N 100°28′34″E / 13.870362°N 100.476194°E / 13.870362; 100.476194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานพระนั่งเกล้า
สะพานพระนั่งเกล้า (สะพานด้านล่าง)
เส้นทางถนนรัตนาธิเบศร์
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ชื่อทางการสะพานพระนั่งเกล้า
ผู้ดูแลกรมทางหลวง
เหนือน้ำสะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
ท้ายน้ำสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง
ความยาว329.10 เมตร (สะพานลอยสูง 216 เมตรทั้งสองฝั่ง)[1]
ความกว้าง21.80 เมตร
ความสูง7.40 เมตร
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526
วันเปิด23 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานพระนั่งเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตตำบลไทรม้าและตำบลบางกระสอ ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยเชื่อมการเดินทางระหว่างพื้นที่ตำบลไทรม้ากับตำบลบางกระสอกับตำบลสวนใหญ่เข้าด้วยกันตามแนวถนนรัตนาธิเบศร์ สะพานนี้มี 4 ช่องจราจร ปัจจุบันมีสะพานคู่ขนานคร่อมด้านบน

เชิงทางขึ้นฝั่งตะวันออกของแม่น้ำมีสถานีสะพานพระนั่งเกล้าของรถไฟฟ้าสายสีม่วง[2] และมีท่าเรือซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย[3] ท่าเรือเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2562[4] และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[5] [6]

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]
  • วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526
  • วันเปิดการจราจร : วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
  • บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัด
  • ราคาค่าก่อสร้าง : 505,771,495 บาท[1]
  • แบบของสะพาน : สะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง (prestressed concrete box-girder bridge)
  • ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง : 7.40 เมตร
  • ความยาวของสะพาน : 329.10 เมตร
  • เชิงลาดสะพานทั้งสองฝั่ง : 216 เมตร
  • รวมความยาวทั้งหมด : 545.10 เมตร
  • จำนวนช่องทางจราจร : 4 ช่องทางจราจร
  • ความกว้างสะพาน : 21.80 เมตร
  • ความกว้างทางเท้าแต่ละด้าน : 1.50 เมตร

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°52′13″N 100°28′34″E / 13.870362°N 100.476194°E / 13.870362; 100.476194

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Phra Nang Klao (Nonthaburi) and Pathum Thani Bridges". AEC.
  2. "สถานีรถไฟฟ้า" [MRT stations]. MRTA.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  3. "ท่าเรือพระนั่งเกล้าคืบ 50% รฟม.สร้างให้นั่งเรือต่อสายสีม่วง". www.thairath.co.th. 2020-09-29.
  4. "ดัมป์ราคา! "เรือด่วนเจ้าพระยา" ลดค่าตั๋วเรือธงเขียว สะพานพระนั่งเกล้า-สาทร เหลือ 20 บาท". mgronline.com. 2021-05-20.
  5. Sriroengla, Pafun (2021-05-17). "เรือด่วนเจ้าพระยา ทดลองให้บริการ "ท่าสะพานพระนั่งเกล้า" วันนี้ (17 พ.ค.)". ประชาชาติธุรกิจ.
  6. ""นายกฯ" กดปุ่มเปิดให้บริการเรือไฟฟ้าเริ่มพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) "สะพานพระราม 5 - ท่าเรือสาทร" ใช้ฟรี 2 เดือน". mgronline.com. 2020-12-22.
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
สะพานพระนั่งเกล้า
ท้ายน้ำ
สะพานรถไฟฟ้าสายสีม่วง