เทศบาลเมืองตะลุบัน

พิกัด: 6°42′03.9″N 101°37′05.0″E / 6.701083°N 101.618056°E / 6.701083; 101.618056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองตะลุบัน
ทม.ตะลุบันตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี
ทม.ตะลุบัน
ทม.ตะลุบัน
พิกัด: 6°42′03.9″N 101°37′05.0″E / 6.701083°N 101.618056°E / 6.701083; 101.618056
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
อำเภอสายบุรี
จัดตั้ง
  •  • พ.ศ. 2483 (ทต.ตะลุบัน)[1]
  •  • พ.ศ. 2558 (ทม.ตะลุบัน)[2]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสมปอง มั่นคง
พื้นที่
 • ทั้งหมด18.56 ตร.กม. (7.17 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)[3]
 • ทั้งหมด14,522 คน
 • ความหนาแน่น782.44 คน/ตร.กม. (2,026.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04940701
ที่อยู่
สำนักงาน
ถนนลูกเสือ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
เว็บไซต์www.talubun.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตะลุบัน เป็นเทศบาลเมืองซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะลุบันในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เดิมบริเวณเขตเทศบาลมีฐานะเป็นเมืองสายบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ต่อมาถูกยุบเป็นอำเภอตะลุบันและเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสายบุรี) ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2483 โดยมีขุนไชยสุวรรณพงค์เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก[1] และยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองใน พ.ศ. 2558[2] ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีประชากร 14,522 คน[3] และมีชุมชนทั้งหมด 20 แห่ง[4]

เทศบาลเมืองตะลุบันมีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวไทยทางทิศตะวันออก สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับกับที่ราบลุ่มติดฝั่งอ่าวไทย มีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่าน ดินเป็นดินร่วมปนทราย ไม้ปลูกส่วนใหญ่เป็นไม้ยาง นอกจากนี้ เทศบาลเมืองตะลุบันยังเป็นที่ตั้งของถ้ำปิดบนภูเขาสลินดงบายูซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายแดง 2 องค์ ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ[4]

การขนส่งในเขตเทศบาลมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4157 หรือถนนท่าเสด็จ ซึ่งไปเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 (ถนนเพชรเกษมสายปัตตานี–นราธิวาส) ที่นอกเขตเทศบาล

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประวัติความเป็นมาเทศบาลเมืองตะลุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เป็นเทศบาลเมืองตะลุบัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 132 (พิเศษ 29 ง): 11. 4 กุมภาพันธ์ 2558.
  3. 3.0 3.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ระบบสถิติทางการทะเบียน : รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/ [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563.
  4. 4.0 4.1 "สภาพและข้อมูลพื้นฐานเทศบาลเมืองตะลุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]