เทศบาลเมืองชุมแพ

พิกัด: 16°32′35″N 102°06′38″E / 16.54306°N 102.11056°E / 16.54306; 102.11056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองชุมแพ
สำนักงานเทศบาลเมืองชุมแพ
สำนักงานเทศบาลเมืองชุมแพ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองชุมแพ
ตรา
คำขวัญ: 
ชุมแพเมืองน่าอยู่ แลดูงามตา ชาวประชาอยู่ดีมีสุข ทุกชุมชนเข็มแข็ง เป็นแหล่งอารยธรรม เลิศล้ำการศึกษา ก้าวหน้าประชาธิปไตย โปร่งใสการจัดการ ชาวบ้านมีส่วนร่วม เป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจ ปลอดจากมลพิษ มีสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
ทม.ชุมแพตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น
ทม.ชุมแพ
ทม.ชุมแพ
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองชุมแพ
พิกัด: 16°32′35″N 102°06′38″E / 16.54306°N 102.11056°E / 16.54306; 102.11056
ประเทศ ไทย
จังหวัดขอนแก่น
อำเภอชุมแพ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสมเกียรติ ดีบุญมี ณ ชุมแพ
พื้นที่
 • ทั้งหมด24.55 ตร.กม. (9.48 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด31,347 คน
 • ความหนาแน่น1,276.86 คน/ตร.กม. (3,307.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04400501
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
191 หมู่ที่ 18 ถนนมลิวรรณ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 40130
โทรศัพท์0 4331 1703 กด 0
โทรสาร0 4331 1471
เว็บไซต์tessabanchumphae.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองชุมแพ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ 24.55 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมบางส่วนของตำบลชุมแพ ตำบลไชยสอ และตำบลหนองไผ่ มีประชากรปี พ.ศ. 2560 จำนวน 31,347 คน[1] ได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบล เป็นเทศบาลเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2548[2]

ประวัติ[แก้]

เทศบาลตำบลชุมแพได้ยกฐานะมาจากสุขาภิบาลชุมแพ โดยพระราชกฤษฎรีกาการจัดตั้งเทศบาลตำบลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2525 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 102 ตอนที่ 146 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2528 จึงถือว่าเทศบาลตำบลชุมแพได้ดำเนินกิจการเทศบาลมาตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2528 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับ และต่อมาเทศบาลตำบลชุมแพได้ยกฐานะจากเทศบาลตำบลชุมแพเป็นเทศบาลเมืองชุมแพ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งนายกเทศมนตรีปัจจุบันคือนายสมเกียรติ ดีบุญมี ณ ชุมแพ ได้รับการเลือกตั้งเป็น นายกเทศมนตรีโดยตรง เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2548

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ปัจจุบันอำเภอชุมแพตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่นไปทางทิศตะวันตกประมาณ 82 กิโลเมตรห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 520 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 24.55 ตารางกิโลเมตร ตัวเทศบาลเมืองชุมแพมีการคมนาคมทางบกเพียงทางเดียว แต่เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมโยงกับจังหวัดใกล้เคียง มีถนนหลายสายเชื่อมต่อกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคเหนือ เทศบาลเมืองชุมแพจึงเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาคนี้อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียง ดังนี้[3]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลหนองไผ่
  • ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลหนองไผ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลไชยสอ

ประชากร[แก้]

จำนวนประชากรรายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2557[4]

รายการ ชาย หญิง รวม จำนวนบ้าน
ตำบลชุมแพ 7,785 8,025 15,810 6,512
ตำบลหนองไผ่ 5,500 5,715 11,215 3,605
ตำบลไชยสอ 2,456 2,563 5,019 1,777
เทศบาลเมืองชุมแพ 15,741 16,303 32,044 11,894

ชุมชน[แก้]

ภาพถ่ายมุมสูงเมืองชุมแพ

ชุมชนในเทศบาลเมืองชุมแพ ประกอบด้วย 29 ชุมชน ได้แก่

  1. ชุมชนกุดชุมแพ
  2. ชุมชนพรานราษฎร์
  3. ชุมชนนครชัย 1
  4. ชุมชนนครชัย 2
  5. ชุมชนหนองผือ
  6. ชุมชนหนองทุ่ม
  7. ชุมชนบ้านชุมแพ
  8. ชุมชนตลาดเหนือ
  9. ชุมชนตลาดใต้
  10. ชุมชนศรีมงคล
  11. ชุมชนหนองใส
  12. ชุมชนไผ่กุดหิน 1
  13. ชุมชนไผ่กุดหิน 2
  14. ชุมชนหนองหว้า
  15. ชุมชนใหม่สามัคคี
  16. ชุมชนหนองโพนทอง
  17. ชุมชนโคกสูง
  18. ชุมชนหนองขาม 1
  19. ชุมชนหนองขาม 2
  20. ชุมชนหนองโดน
  21. ชุมชนโนนแหลมทอง
  22. ชุมชนโนนสำราญ
  23. ชุมชนหนองคะเน 1
  24. ชุมชนหนองคะเน 2
  25. ชุมชนโชคชัย
  26. ชุมชนมีชัย
  27. ชุมชนหัวหนอง
  28. ชุมชนสันติสุข
  29. ชุมชนสว่างวารี 1
  30. ชุมชนสว่างวารี 2
  31. ชุมชนโนนศิลา
  32. ชุมชนนาโพธิ์
  33. ชุมชนนาโพธิ์ 2
  34. ชุมชนหนองตาไก้
  35. ชุมชนหนองตาไก้ 2
  36. ชุมชนบ้านมั่นคงสว่างร่มเย็น
  37. ชุมชนโนนโพธิ์ทองพัฒนา
  38. ชุมชนหนองผือพัฒนา

เศรษฐกิจ[แก้]

ด้านอุตสาหกรรม ปัจจุบัน อำเภอชุมแพมีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว มีโรงสีข้าว โรงโม่หิน โรงงานผลิตน้ำแข็งและ น้ำบริสุทธิ์ ส่วนพื้นที่ในเขตเทศบาลจะมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อยจำนวนมาก เช่น โรงสีขนาดใหญ่ โรงงานผลิต น้ำแข็งและน้ำบริสุทธิ์

ทางด้านเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ซึ่งเป็นนาข้าวเหนียวเอาไว้บริโภคมากกว่าขาย นอกจากนี้มีการทำไร่อ้อย ปลูกเห็ด ฟางบริเวณชุมชนโคกสูง -โนนสำราญ

ส่วนการพาณิชย์ ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพค้าขายบริเวณถนนสายหลักมลิวรรณ ในโซนชุมชนตลาดเหนือ ตลาดใต ้ซึ่งถือเป็นแหล่งค้าขายขนาดใหญ่ของเทศบาล

นอกจากนี้ ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพมีธนาคารพาณิชย์จำนวนทั้งสิ้น 9 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคาร SME ธนาคารนครหลวง ธนาคารทหารไทย

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การขนส่ง[แก้]

ภายในสถานีขนส่งอำเภอชุมแพ

เทศบาลเมืองชุมแพเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งอำเภอชุมแพ เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ไปสู่ภูมิภาคและจังหวัดต่าง ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร โดยมีหลายบริษัทที่เปิดเดินรถในเส้นทางกรุงเทพฯ-ชุมแพ-เมืองเลย ส่วนการเดินทางไปภาคเหนือ มีบริษัทเพชรประเสริฐ ที่เปิดบริการในเส้นทาง อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ ซึ่งผ่านเทศบาลเมืองชุมแพ และภาคอื่น ๆ ซึ่งสามารถไปต่อรถได้ในจังหวัดที่มีรถบริการในเส้นทางที่ต้องการ ส่วนการคมนาคมในเขตเทศบาล มีรถสองแถวบริการ มีรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถสามล้อรับจ้าง และแท็กซี่มิเตอร์ที่เพิ่งมีบริการในจังหวัดขอนแก่น

ทางหลวงแผ่นดินในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ ได้แก่

สาธารณสุข[แก้]

โรงพยาบาลชุมแพ

ภายในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ มีโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 1 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีบริการด้านสาธารณสุขฯ ของเอกชนและผู้ประกอบการ คือ คลินิก ร้านขายยาแผนปัจจุบัน ซึ่งให้บริการแก่ประชาชน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองชุมแพ เก็บถาวร 2019-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นเทศบาลเมืองชุมแพ
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-06-28.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-02. สืบค้นเมื่อ 2016-06-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]