เทศบาลเมืองหนองสำโรง

พิกัด: 17°27′05″N 102°45′54″E / 17.45139°N 102.76500°E / 17.45139; 102.76500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองหนองสำโรง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองหนองสำโรง
ตรา
คำขวัญ: 
เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก พิทักษ์ธรรมชาติ พัฒนาการลงทุน สนับสนุนการท่องเที่ยว
ทม.หนองสำโรงตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี
ทม.หนองสำโรง
ทม.หนองสำโรง
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองหนองสำโรง
พิกัด: 17°27′05″N 102°45′54″E / 17.45139°N 102.76500°E / 17.45139; 102.76500
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุดรธานี
อำเภอเมืองอุดรธานี
จัดตั้ง
  •  • พ.ศ. 2523 (สุขาภิบาล)
  •  • พ.ศ. 2542 (เทศบาลตำบล)
  •  • พ.ศ. 2551 (เทศบาลเมือง)
พื้นที่
 • ทั้งหมด24.8 ตร.กม. (9.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด28,247 คน
 • ความหนาแน่น1,138.99 คน/ตร.กม. (2,950.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04410104
ที่อยู่
สำนักงาน
89 หมู่ 9 ถนนอุดรธานึ-หนองสำโรง ตำบลหมู่ม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
โทรศัพท์0 4223 0133, 0 4223 0072-3
โทรสาร0 4222 2071
เว็บไซต์www.nongsamrong.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองหนองสำโรง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของตำบลหมูม่น บางส่วนของตำบลนาดี และบางส่วนของตำบลบ้านเลื่อม อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทศบาลนครอุดรธานี

ประวัติ[แก้]

เทศบาลเมืองหนองสำโรง แรกเริ่มก่อตั้งชื่อว่า สุขาภิบาลโพธิสว่าง เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 มีพื้นที่ครอบคลุม 24.85 ตารางกิโลเมตร

ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลโพธิสว่าง ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลโพธิสว่าง พร้อมทั้งได้เสนอเปลี่ยนชื่อเทศบาลไปยังกระทรวงมหาดไทยเป็น "เทศบาลตำบลหนองสำโรง" เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ซึ่งมีแหล่งน้ำประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุดรธานี คือ หนองสำโรง (หนองน้ำ) ซึ่งเป็นจุดที่พักกองทัพแห่งหนึ่งของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี อีกทั้งยังมีค่ายเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ หรือชื่อที่คนทั่วไปรู้จัก คือ ค่ายหนองสำโรง (ร 13 พัน 2 และ ร13 พัน 3) และสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล

หลักจากนั้น ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เทศบาลตำบลหนองสำโรง ได้ยกฐานะจากเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมืองหนองสำโรง เนื่องมีความเจริญของตัวเมืองที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ชุมชนหนาแน่นขึ้นและมีการขยายตัวโดยรอบอีกทั้งเทศบาลมีรายได้ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการให้บริการสาธารณะกับประชาชนตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลเมืองได้[2]

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565 วัดใหม่หนองหิน เทศบาลเมืองหนองสำโรง เป็นสถานที่เผาศพ ส.ต.อ.ปัญญา คำราบ[3]ผู้ก่อเหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565

การปกครอง[แก้]

เทศบาลเมืองหนองสำโรง มีทั้งหมด 29 ชุมชน ได้แก่

ตำบลนาดี ตำบลบ้านเลื่อม ตำบลหมูม่น
ชุมชนหนองโน ชุมชนบ้านเลื่อม ชุมชนหนองบ่อ
ชุมชนดอนอีไข ชุมชนสุขสันต์ ชุมชนหนองสำโรงพัฒนา
ชุมชนหนองหิน-ร่มเย็น ชุมชนแสงทอง ชุมชนบ่อน้ำ หมู่ 7
ชุมชนบ้านดาน ชุมชนบ่อน้ำ หมู่ 9
ชุมชนโนนสัง ชุมชนนเรศวร
ชุมชนทุ่งสวรรค์-ศรีปัญญา ชุมชนไก่เถื่อน 1
ชุมชนไทยสมุทร 1 ชุมชนไก่เถื่อน 2
ชุมชนไทยสมุทร 2
ชุมชนไทยสมุทร 3
ชุมชนคลองสมบูรณ์
ชุมชนบ่อสร้าง
ชุมชนรวมใจ
ชุมชนร่วมพัฒนา
ชุมชนสุวรรณชาติ
ชุมชนอุดมสถาพร
ชุมชนหนองแวงพัฒนา
ชุมชนนาทราย

อ้างอิง[แก้]

  1. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองหนองสำโรง ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-25. สืบค้นเมื่อ 2017-08-23.
  3. เผาแล้วศพมือกราดยิง แม่เคาะโลงบอก เกิดชาติหน้าอย่าทำแบบนี้อีก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]