เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
ถนนเพชรเจริญในตัวเมืองเพชรบูรณ์
ถนนเพชรเจริญในตัวเมืองเพชรบูรณ์
คำขวัญ: 
เพชรบูรณ์ เมืองอยู่สบาย
ทม.เพชรบูรณ์ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์
ทม.เพชรบูรณ์
ทม.เพชรบูรณ์
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์
ทม.เพชรบูรณ์ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.เพชรบูรณ์
ทม.เพชรบูรณ์
ทม.เพชรบูรณ์ (ประเทศไทย)
พิกัด: 16°25′1″N 101°09′12″E / 16.41694°N 101.15333°E / 16.41694; 101.15333พิกัดภูมิศาสตร์: 16°25′1″N 101°09′12″E / 16.41694°N 101.15333°E / 16.41694; 101.15333
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบูรณ์
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีเสกสรร นิยมเพ็ง
พื้นที่
 • ทั้งหมด8.6 ตร.กม. (3.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด21,629 คน
 • ความหนาแน่น2,515.00 คน/ตร.กม. (6,513.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04670102
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 26 ถนนเกษมราษฎร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
โทรศัพท์0 5671 1007
โทรสาร0 5671 1475
เว็บไซต์www.nakornban.net
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เพชรบูรณ์ เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 21,629 คน[1] เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ได้รับพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเป็นเทศบาลขึ้น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2479[2]

ภูมิศาสตร์[แก้]

สภาพทั่วไป[แก้]

ภาพถ่ายดาวเทียมของตัวเมืองเพชรบูรณ์

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของเมืองเพชรบูรณ์เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านกลาง ประชาชนตั้งอาคารบ้านเรือนอยู่ตลอดสองฝั่งแม่น้ำ ตลอดแนวเขตเทศบาล พื้นที่ในตัวเมืองส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของร้านค้าและอาคารพาณิชย์ ส่วนพื้นที่รอบนอกใช้ในด้านการเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ถั่ว ข้าวโพด ยาสูบ และพืชผักสวนครัว ซึ่งเป็นผลผลิตที่สำคัญ

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ มีพื้นที่เทศบาลครอบคลุมตำบลในเมืองทั้งตำบล ซึ่งเป็นตำบลที่ถูกล้อมรอบด้วยตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 346 กิโลเมตร มีพื้นที่ 8.6 ตารางกิโลเมตร

  • ทิศเหนือ จรดทางไปหนองนารี และหมู่ที่ 10 ตำบลสะเดียง
  • ทิศใต้ จรดหมู่ที่ 9 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 13 ตำบลสะเดียง
  • ทิศตะวันออก จรดแม่น้ำป่าสัก
  • ทิศตะวันตก จรดทางไปบ้านสะเดียง หมู่ที่ 6 ตำบลสะเดียง

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของเมืองเพชรบูรณ์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 38.9
(102)
39.1
(102.4)
42.0
(107.6)
42.5
(108.5)
42.0
(107.6)
38.4
(101.1)
37.6
(99.7)
36.5
(97.7)
36.3
(97.3)
36.5
(97.7)
35.5
(95.9)
36.0
(96.8)
42.5
(108.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.9
(89.4)
34.4
(93.9)
36.3
(97.3)
37.2
(99)
35.0
(95)
32.9
(91.2)
32.3
(90.1)
31.8
(89.2)
32.0
(89.6)
32.2
(90)
31.6
(88.9)
31.0
(87.8)
33.22
(91.79)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 24.1
(75.4)
26.7
(80.1)
29.0
(84.2)
30.3
(86.5)
29.2
(84.6)
28.3
(82.9)
27.7
(81.9)
27.4
(81.3)
27.2
(81)
27.0
(80.6)
25.6
(78.1)
23.7
(74.7)
27.18
(80.93)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.9
(60.6)
18.9
(66)
21.8
(71.2)
24.1
(75.4)
24.5
(76.1)
24.2
(75.6)
23.8
(74.8)
23.8
(74.8)
23.6
(74.5)
22.6
(72.7)
19.5
(67.1)
16.1
(61)
21.57
(70.82)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 4.0
(39.2)
8.5
(47.3)
11.0
(51.8)
17.5
(63.5)
20.7
(69.3)
21.4
(70.5)
21.4
(70.5)
21.1
(70)
18.3
(64.9)
15.4
(59.7)
8.1
(46.6)
5.1
(41.2)
4
(39.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 7
(0.28)
17
(0.67)
34
(1.34)
70
(2.76)
157
(6.18)
153
(6.02)
168
(6.61)
189
(7.44)
212
(8.35)
98
(3.86)
13
(0.51)
4
(0.16)
1,122
(44.17)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 2 3 6 12 14 15 17 15 8 2 1 96
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[3]

การขนส่ง[แก้]

เมืองเพชรบูรณ์ใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลัก โดยถนนสายหลักที่ตัดผ่านตัวเมือง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 เชื่อมต่อกับอำเภอหล่มสักทางทิศเหนือ และเชื่อมต่อกับอำเภอหนองไผ่ทางทิศใต้ ซึ่งช่วงที่ผ่านเขตเทศบาลจะเรียก ถนนสามัคคีชัย นอกจากนี้ยังมีถนนสายต่าง ๆ เช่น ถนนเพชรบุระ หรือ ถนนสาย ก ผังเมืองรวมเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นทางหลวงชนบท พช.6046[4] มีลักษณะเส้นทางล้อมรอบตัวเมือง, ถนนเพชรเจริญ เชื่อมต่อจากถนนสามัคคีชัยไปทางทิศตะวันออก, ถนนบุรกรรมโกวิท เชื่อมต่อจากถนนสามัคคีชัยไปทางทิศตะวันตก, ถนนนิกรบำรุง, ถนนพระพุทธบาท, ถนนเทพาพัฒนา, ถนนกลางเมืองพัฒนา เป็นต้น

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • พุทธอุทยานเพชบุระ
  • หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
  • ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์
  • หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์
  • ประติมากรรมมะขามหวาน
  • หอประวัติศาสตร์เพชบุระ
  • หอภูมิปัญญาและวิถีชาวบ้านเพชรบูรณ์
  • วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง
  • วัดไตรภูมิ
  • กำแพงเมืองและหอนิทรรศน์กำแพงเมืองเพชรบูรณ์
  • วัดเพชรวรารามพระอารามหลวง
  • วงเวียนอนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์
  • หอนาฬิกาแชมป์โลกคู่แฝด
  • สวนสาธารณะหนองนารี

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 หน้า 1300 ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2479
  3. "Climate Normals for Phetchabun". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. GIS Basemaps ระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานด้านงานทางและสะพาน งานปรับปรุงข้อมูล งานตรวจสอบข้อมูล และงานบริการข้อมูล เก็บถาวร 2018-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]