เทศบาลเมืองบ้านสวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองบ้านสวน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Ban Suan
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองบ้านสวน
ตรา
คำขวัญ: 
ชุมชนเข้มแข็ง เมืองน่าอยู่ มุ่งสู่การพัฒนา คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวิชิต ชิตวิเศษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด19.5 ตร.กม. (7.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด68,929 คน
 • ความหนาแน่น3,534.82 คน/ตร.กม. (9,155.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04200104
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองบ้านสวน ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
เว็บไซต์www.bansuan.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองบ้านสวน เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี มีลักษณะเป็นเมืองปริมณฑลที่รองรับการขยายตัวของเมืองชลบุรี ในปัจจุบัน เมืองบ้านสวนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี เมืองบ้านสวนมีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบ้านสวนทั้งตำบล บางส่วนของตำบลหนองรี และบางส่วนของตำบลหนองข้างคอก

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและชุมชน[แก้]

เทศบาลเมืองบ้านสวนอยู่ห่างจากรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 81 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี คือ ตำบลบ้านสวนทั้งตำบล (10 หมู่บ้าน), บางส่วนของตำบลหนองรี (หมู่ 1 และหมู่ 3), และบางส่วนของตำบลหนองข้างคอก (หมู่ 1 และหมู่ 4) รวมเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 19.50 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นหมู่บ้านดังนี้

ตำบลบ้านสวน
  • หมู่ที่ 1 บ้านหนองตะโก
  • หมู่ที่ 2 บ้านหนองตาท้วม
  • หมู่ที่ 3 บ้านห้วยทวน
  • หมู่ที่ 4 บ้านสวนแขก
  • หมู่ที่ 5 บ้านหนองกระทุ่ม
  • หมู่ที่ 6 บ้านหนองแหน
  • หมู่ที่ 7 บ้านเขามยุรา
  • หมู่ที่ 8 บ้านเขาน้อย
  • หมู่ที่ 9 บ้านบ่อบุญทอง
  • หมู่ที่ 10 บ้านศาลาคู่
ตำบลหนองรี
  • หมู่ที่ 1 บ้านหนองไข่เน่า
  • หมู่ที่ 3 บ้านหนองปีกนก
ตำบลหนองข้างคอก
  • หมู่ที่ 1 บ้านห้วยทวน
  • หมู่ที่ 4 บ้านบ่อน้ำจืด

อาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตำบลบางทราย และตำบลนาป่า อำเภอเมือง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตตำบลเสม็ด และตำบลห้วยกะปิ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตตำบลหนองรี และตำบลหนองข้างคอก
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองชลบุรี และบางส่วนจดทะเลฝั่งตะวันออก ของ อ่าวไทย

ภูมิอากาศ[แก้]

สภาพภูมิอากาศเทศบาลเมืองบ้านสวน จัดอยู่ในประเภทอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน หรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะมีอากาศชุ่มชื่น และฝนตกตลอดฤดู แต่ในฤดูหนาวนั้น จะมีอากาศแห้งแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25.7–29.9 องศาเซลเซียส

ประชากร[แก้]

ประชากรชาวบ้านสวนมีทั้งสิ้น 68,929 คน จากทั้งหมด 44,701 หลังคาเรือน โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจการค้ามีอาชีพค้าขายร้อยละ 45 รับราชการร้อยละ 15 อุตสาหกรรมร้อยละ 11 อาชีพรับจ้างและอื่น ๆ ร้อยละ 29 สำหรับในเขตชานเมือง การประกอบอาชีพเกษตรกรรม บ้างบางส่วน

ศาสนา[แก้]

ชาวบ้านสวนนับถือศาสนาพุทธ เป็นส่วนใหญ่ โดยมีการนับถือศาสนาคริสต์และอิสลามบ้างเป็นส่วนน้อย โดยมีศาสนสถานภายในเขตบ้านสวนดังนี้

  • วัดพุทธ มี 5 วัด คือ วัดธรรมนิมิตต์ วัดใหม่บ้านสวน วัดผาสุการาม วัดชมพูแก้ว วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า)
  • สำนักสงฆ์ มี 1 แห่ง คือ สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
  • โบสถ์คริสต์ มี 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านสวน
  • มัสยิดกลาง มี 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านสวน

การศึกษา[แก้]

สถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน มีจำนวนหลายแห่ง และบางแห่งก็เป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงมาก โดยแบ่งตามสังกัดของสถานศึกษาได้ดังนี้

สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 6 แห่ง คือ
  • โรงเรียนบ้านสวน(จั่นอนุสรณ์) เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษา
  • โรงเรียนชลราษฎรอำรุง เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษา
  • โรงเรียนบ้านสวนอุดมวิทยา เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น
  • โรงเรียนบ้านหนองตะโก เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษา
  • โรงเรียนวัดธรรมนิมิตต์ เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษา
  • โรงเรียนอนุบาลวัดอรัญญิกาวาส เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษา
สังกัดสำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 1 แห่ง คือ
สังกัดกรมการศาสนา 1 แห่ง คือ
  • ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดธรรมนิมิตต์
โรงเรียนเอกชน 9 แห่ง ได้แก่

สาธารณสุข[แก้]

ในเทศบาลเมืองบ้านสวนมีหน่วยงานบริการสาธารณสุข ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีจำนวน 22 แห่ง และเป็นโรงพยาบาลอีก 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลสมิติเวชชลบุรี และโรงพยาบาลเอกชล

การขนส่ง[แก้]

เมืองบ้านสวนใช้การขนส่งทางถนนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีทั้งถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนลาดยางแอสฟัลต์คอนกรีต ส่วนถนนลูกรังนั้นมีส่วนน้อย ซึ่งจะอยู่ในซอยเล็ก ๆ และบริเวณชานเมืองเท่านั้น ถนนสายหลักที่สำคัญได้แก่ ถนนสุขุมวิท, ถนนศุขประยูร (สายชลบุรี–พนัสนิคม), ถนนเศรษฐกิจ (สายชลบุรี–บ้านบึง), ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี, และถนนพระยาสัจจา

นอกจากการขนส่งทางถนนแล้ว ยังมีทางรถไฟสายตะวันออกพาดผ่าน โดยมีสถานีรถไฟชลบุรีตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองบ้านสวน

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองบ้านสวน". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]