เทศบาลเมืองกันทรลักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองกันทรลักษ์
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองกันทรลักษ์
ตรา
คำขวัญ: 
กันทรลักษ์เมืองน่าอยู่ คนมีความรู้คู่คุณธรรม ก้าวนำด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ ทุกชีวีอยู่ดีมีสุข
ทม.กันทรลักษ์ตั้งอยู่ในThailand Sisaket
ทม.กันทรลักษ์
ทม.กันทรลักษ์
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองกันทรลักษ์
พิกัด: 14°39′12″N 104°37′40″E / 14.65333°N 104.62778°E / 14.65333; 104.62778พิกัดภูมิศาสตร์: 14°39′12″N 104°37′40″E / 14.65333°N 104.62778°E / 14.65333; 104.62778
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอกันทรลักษ์
จัดตั้ง
  •  • พ.ศ. 2499 (สุขาภิบาลน้ำอ้อม)
  •  • พ.ศ. 2542 (ทต.กันทรลักษ์)
  •  • พ.ศ. 2547 (ทม.กันทรลักษ์)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสงวนศักดิ์ ชโลธร
พื้นที่
 • ทั้งหมด8.68 ตร.กม. (3.35 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด18,795 คน
 • ความหนาแน่น2,165.32 คน/ตร.กม. (5,608.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04330401
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ เลขที่ 555 หมู่ที่ 14 ถนนกันทรลักษ์-ศรีสะเกษ ตำบลหนองหญ้าลาด อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์0 4566 3480
โทรสาร0 4566 3480
เว็บไซต์kantharalak.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองกันทรลักษ์ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลน้ำอ้อมและบางส่วนของตำบลหนองหญ้าลาด

เทศบาลเมืองกันทรลักษ์ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ในปี พ.ศ. 2542 และเป็นเทศบาลเมือง ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547[2]

ประวัติ[แก้]

เทศบาลเมืองกันทรลักษ์ เดิมได้จัดตั้งเป็น "สุขาภิบาล" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น "เทศบาลตำบลกันทรลักษ์" เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น "เทศบาลเมืองกันทรลักษ์" วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 โดยเป็น1ใน2 ของเทศบาลเมืองในจังหวัดศรีสะเกษ และเป็น 1ใน20ของเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ

ภูมิศาสตร์[แก้]

เทศบาลเมืองกันทรลักษ์ตั้งอยู่ใกล้บริเวณหุบเขาพระวิหาร สภาพดินเหมาะแก่การเกษตรกรรม สามารถปลูกผลไม้ได้หลายชนิด เช่น ทุเรียน เงาะ เป็นต้น เทศบาลเมืองกันทรลักษ์มีอาณาเขตติตต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านหนองเขื่อง ตำบลน้ำอ้อม และบ้านแก ตำบลหนองหญ้าลาด
  • ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านประทาย ตำบลทุ่งใหญ่ บ้านห้วยพอก ตำบลหนองหญ้าลาด และบ้านโนนม่วงใต้ ตำบลหนองหญ้าลาด
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านนาตาล ตำบลเวียงเหนือ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านกระบี่ ตำบลหนองหญ้าลาด และบ้านป่าไม้พัฒนา ตำบลหนองหญ้าลาด

ตราสัญลักษณ์[แก้]

  • ดอกลำดวน หมายถึง ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีเป็นจำนวนมาก ณ สวนสมเด็จพระศรีนครีนทราบรมราชชนนี บ่อบอกถึง ความร่วมเย็นและการอยู่ดีมีสุขของประชาชนเขตเทศบาล
  • รวงข้าวคล้องกัน หมายถึง ความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ความสามัคคีของ คนในเขตเทศบาลเมืองกันทรลักษ์
  • ปราสาท หมายถึง ปราสาทเขาพระวิหาร
  • บันไดนาคขึ้นสู่ช่องประตูปราสาทเขาพระวิหาร หมายถึง เทศบาลเมืองกันทรลักษ์ เป็นสถานที่ที่ มีเปรียบเสมือนเป็นประตูสู่เขาพระวิหารเพราะเมื่อจะ ท่องเที่ยวปราสาทจะต้องผ่านเทศบาล
  • พระอาทิตย์ส่องรัศมี หมายถึง เมื่ออยู่ภายในเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ จะมีความอบอุ่น ความปลอดภัย ความสว่างไสว ความโอบอ้อมอารี เปรียบประหนึ่งดวงอาทิตย์ให้ความอบอุ่น แก่มนุษย์โลก

ประชากรและชุมชน[แก้]

จำนวนประชากรในเขตเทศบาลโดยประมาณ 18,987 คน ชาย 9,214 คน หญิง 9,773 คน (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2560) แบ่งเขตการปกครองเป็น 21 ชุมชน ได้แก่

ศาสนา[แก้]

ภายในเขตเทศบาลเมืองกันทรลักษ์

เศรษฐกิจ[แก้]

อำเภอกันทรลักษ์ เป็นเมืองเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของจังหวัด รายได้ส่วนใหญ่ของประชาชนมาจากการกสิกรรม การเกษตร เพราะเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ปลูกผลไม้ได้หลายชนิด[3] เช่น เงาะ ทุเรียน ฝรั่ง ชมพู่ องุ่น มะพร้าว กล้วย ข้าวโพด มะขามหวาน แตงโม หอม กระเทียม และอื่นๆ รองลงมาคือ การปศุสัตว์ และแปรรูปสินค้าทางการเกษตร

สถาบันการเงิน[แก้]

ตลาดและศูนย์การค้า[แก้]

การขนส่ง[แก้]

เมืองกันทรลักษ์ มีเส้นทางติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยทางรถยนต์ คือ

การศึกษา[แก้]

สถานที่น่าสนใจ[แก้]

ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์[แก้]

ตั้งอยู่ที่บ้านบก หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหญ้าลาด การเดินทาง เริ่มจากตัวจังหวัดศรีสะเกษถึงอำเภอกันทรลักษ์ ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร บริเวณสี่แยกทางไป เขาพระวิหาร จะมองเห็นศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2542 และก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยประกอบพิธีอัญเชิญหลักเมืองมาประดิษฐาน เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2548 ศาลหลักเมืองนี้ มีชื่อว่า "เจ้าพ่อศรีศักดิ์หลักเมือง" เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่สักการะของประชาชน มีความสวยงาม เด่นเป็นสง่า คู่บ้านคู่เมืองอำเภอกันทรลักษ์ สามารถเที่ยวชมและกราบไหว้สักการะได้ตลอดปี และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ออกกำลังกายด้วย

สวนสาธารณะหนองกวางดีด[แก้]

สวนสาธารณะหนองกวางดีดตั้งอยู่ที่ชุมชนหนองกวางดีด หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำอ้อม การเดินทางเริ่มจากตัวจังหวัดศรีสะเกษถึงอำเภอกันทรลักษ์ ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร เดินทางโดยถนนสินประดิษฐ์ถึงสี่แยกไฟแดง เลี้ยวขวาเข้าสวนสาธารณะหนองกวางดีด สภาพโดยทั่วไปเป็นสวนสาธารณะที่อยู่ในกลางเมืองกันทรลักษ์ ถือได้ว่าเป็นปอดของชาวอำเภอ มีบรรยากาศสวยงามร่มรื่น เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีลอยกระทงเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ ท่องเที่ยวได้ตลอดปี

พระอนุสาวรีย์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ[แก้]

พระอนุสาวรีย์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขนาดเท่าพระองค์จริงแบบครึ่ง ได้รับประทานจากหม่อมเจ้ามารยาตรภัญญา ดิศกุล พระธิดาประธานมูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2528 ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2531 ด้วยเงินบริจาค จำนวน 600,000 บาท สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิด พระอนุสาวรีย์แห่งนี้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2531 ได้รับการดูแลบำรุงรักษาจากเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ โรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์และกรรมการ มูลนิธิดำรงราชานุสรณ์ อำเภอกันทรลักษ์ได้ประกอบพิธีสักการะสดุดีเทิดพระเกียรติ ในวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปีเช่นเดียวกับที่กระทรวงมหาดไทยและราชสกุล “ดิสกุล”

ผามออีแดง[แก้]

ผามออีแดง ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่บริเวณใกล้เคียงกับทางเดินขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร เป็นหน้าผาสูงชันกั้นเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ตลอดแนวผามออีแดงมีระยะประมาณ 300 เมตร เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทัศนียภาพของแผ่นดินประเทศกัมพูชาที่อยู่ต่ำลงไปอย่างเป็นมุมกว้าง มีฝูงค้างคาวในยามพระอาทิตย์ตกดิน บริเวณใกล้เคียงมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมโบราณสถานสถูปคู่รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ส่วนบนกลมข้างในเป็นโพรง สำหรับบรรจุสิ่งของสร้างด้วยหินทรายแดง ขนาดกว้าง 1.93 เมตร ยาว 4.2 เมตร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์

อ้างอิง[แก้]

  1. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองท่าบ่อ, เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์, เทศบาลเมืองกันทรลักษณ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-10-31.
  3. "ศรีสะเกษจัดงานเทศกาลเงาะ ทุเรียน และของดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-15. สืบค้นเมื่อ 2011-10-06.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]