ตำบลศาลากลาง

พิกัด: 13°48′48.4″N 100°19′50.3″E / 13.813444°N 100.330639°E / 13.813444; 100.330639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลศาลากลาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Sala Klang
ประเทศไทย
จังหวัดนนทบุรี
อำเภอบางกรวย
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด14.78 ตร.กม. (5.71 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด20,057 คน
 • ความหนาแน่น1,357.04 คน/ตร.กม. (3,514.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 11130
รหัสภูมิศาสตร์120209
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลศาลากลาง
ทต.ศาลากลางตั้งอยู่ในจังหวัดนนทบุรี
ทต.ศาลากลาง
ทต.ศาลากลาง
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลศาลากลาง
พิกัด: 13°48′48.4″N 100°19′50.3″E / 13.813444°N 100.330639°E / 13.813444; 100.330639
ประเทศ ไทย
จังหวัดนนทบุรี
อำเภอบางกรวย
จัดตั้ง • 31 มีนาคม 2539 (อบต.ศาลากลาง)
 • 25 กรกฎาคม 2551 (ทต.ศาลากลาง)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีจิระเดช สุขเกษม
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.78 ตร.กม. (5.71 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด20,057 คน
 • ความหนาแน่น1,357.04 คน/ตร.กม. (3,514.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05120203
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 91 หมู่ที่ 6 ซอยนุ่มประสงค์ 1 ทางหลวงชนบท นบ.1011 ตำบลศาลากลาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
เว็บไซต์www.salaklang.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ศาลากลาง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี พื้นที่ของตำบลนี้มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร แต่ยังคงอนุรักษ์ความเป็นท้องถิ่นอย่างเห็นได้ชัด

ประวัติ[แก้]

ได้มีผู้เล่าสืบต่อกันมาว่า แต่ก่อนบริเวณนี้ไม่มีผู้คนอาศัยมากนัก มีแต่ที่นาและลำคลองสายต่าง ๆ ผ่าน การเดินทางใช้เรือเป็นหลัก ระยะเวลาเดินทางก็นานมาก ผู้ที่เดินทางผ่านบริเวณนี้เป็นประจำจึงช่วยกันสร้างศาลาสำหรับพักเหนื่อยระหว่างการเดินทางซึ่งอยู่ตรงกลางพื้นที่นี้ เมื่อชุมชนขยายจำนวนมากขึ้นจนตั้งเป็นตำบลได้ ก็เรียกตำบลที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ว่า ตำบลศาลากลาง[1]

ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลตำบลศาลากลางเต็มพื้นที่นั้นมีฐานะเป็น เทศบาลตำบลศาลากลาง โดยได้รับการจัดตั้งจากองค์การบริหารส่วนตำบลศาลากลางมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลศาลากลางตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกสุดของอำเภอบางกรวย ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางกรวยประมาณ 24 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 14.78 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 9,240 ไร่[1] มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียงดังต่อไปนี้

ภูมิประเทศ[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลศาลากลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มอ่างกระทะ พื้นที่ทำการเกษตร ปลูกผัก ผลไม้ นาข้าว[1]

เขตการปกครอง[แก้]

ตำบลศาลากลางมีเขตการปกครองย่อยทั้งหมดจำนวน 6 หมู่บ้าน[1] ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านคลองบางนา
  • หมู่ที่ 2 บ้านประตูน้ำฉิมพลี
  • หมู่ที่ 3 บ้านศาลากลาง (บ้านคลองขุดมหาสวัสดิ์)
  • หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุดมหาสวัสดิ์
  • หมู่ที่ 5 บ้านเจริญสุข
  • หมู่ที่ 6 บ้านนราภิรมย์

ประชากร[แก้]

เมื่อสิ้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ในเขตตำบลศาลากลางมีประชากรทั้งสิ้น 20,057 คน แยกเป็นชาย 9,276 คน หญิง 10,781 คน มีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 1,357.04 คนต่อตารางกิโลเมตร

มวลชนจัดตั้ง[แก้]

  • ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น 50 คน
  • ลูกเสือชาวบ้านเฉลิมพระเกียรติ 2 รุ่น 100 คน
  • อาสาสมัครต้านยาเสพติด 1 รุ่น (2542) 200 คน

หมู่บ้านปลอดยาเสพติด[แก้]

  • หมู่ที่ 2 บ้านประตูน้ำฉิมพลี (2542)

เศรษฐกิจ[แก้]

  • อาชีพโดยทั่วไปเป็นชาวสวน บางส่วนรับราชการ รัฐวิสาหกิจ และเป็นพนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ย 35,000 บาทต่อปี
  • เกษตรกรมีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์เป็นของตนเองร้อยละ 68 ร้อยละ 32 ของหมู่ที่ 6 เป็นที่เช่า ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
  • เกษตรกรส่วนใหญ่ทำสวนผักและไม้ดอกไม้ประดับในหมู่ที่ 1-5 และทำนาบัวในหมู่ที่ 6
  • หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลศาลากลาง มีสถานีบริการน้ำมันขนาดเล็ก 3 แห่ง และโรงงาน 2 แห่ง

สังคม[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่สามารถอ่านออกเขียนได้ จบการศึกษาภาคบังคับ ร้อยละ 62 และกำลังศึกษาต่อในระดับต่าง ๆ อีกร้อยละ 23

สถานศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง
    • โรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขต หมู่ที่ 3
    • โรงเรียนนุ่มประสงค์วิทยา หมู่ที่ 6
  • ศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติ 1 แห่ง
  • ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 2 แห่ง
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขต หมู่ที่ 3
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนนุ่มประสงค์วิทยา หมู่ที่ 6

ศาสนา[แก้]

มีวัด 2 แห่ง ได้แก่ วัดใหม่ผดุงเขต หมู่ที่ 3 วัดป่ามณีกาญจณ์ หมู่ที่ 3 นอกจากนี้ยังมีวัดจีน (ศาลเจ้า) อีก 1 แห่ง

สาธารณสุข[แก้]

สถานีอนามัย 1 แห่ง ได้แก่ สถานีอนามัยตำบลศาลากลาง

คมนาคม[แก้]

  • เส้นทางคอนกรีตเสริมเหล็ก 6 สาย
  • เส้นทางลาดยาง 3 สาย
  • ถนนลูกรัง 9 สาย
  • ถนนดิน 3 สาย

โทรคมนาคม[แก้]

โทรศัพท์เข้าถึงทั้ง 6 หมู่บ้าน

ไฟฟ้า[แก้]

ไฟฟ้าเข้าถึงทั้ง 6 หมู่บ้าน

แหล่งน้ำ[แก้]

แหล่งน้ำธรรมชาติ[แก้]

มีคลองทั้งหมด 8 สาย

  • คลองมหาสวัสดิ์
  • คลองปลายบาง
  • คลองบางนา
  • คลองยายส่อน
  • คลองผู้ใหญ่ฮง
  • คลองพระยาสงคราม
  • คลองหลังวัดใหม่ผดุงเขต
  • คลองจีนบ่าย

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น[แก้]

บ่อน้ำประปาและบ่อน้ำบาดาลรวม 8 แห่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 เทศบาลตำบลศาลากลาง. "ข้อมูลสภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.salaklang.go.th/default.php?bmodules=html&html=general เก็บถาวร 2009-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  2. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. "ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt150851.pdf เก็บถาวร 2011-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  3. 3.0 3.1 3.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (พิเศษ 34 ง): 104–127. 6 พฤษภาคม 2541. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-13. สืบค้นเมื่อ 2010-04-17.
  4. เทศบาลตำบลปลายบาง. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.plaibang.go.th/main.php?menu=1&maintypeid=2 เก็บถาวร 2009-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2552. สืบค้น 16 เมษายน 2553.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]