แม่น้ำมูล
แม่น้ำมูล | |
แม่น้ำ | |
แม่น้ำมูลบริเวณเขื่อนราษีไศลที่จังหวัดศรีสะเกษ
| |
ประเทศ | ประเทศไทย |
---|---|
จังหวัด | นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี |
ต้นกำเนิด | |
- ตำแหน่ง | ทิวเขาสันกำแพงลงมาสู่เขื่อนมูลบล, อำเภอครบุรี, จังหวัดนครราชสีมา, ประเทศไทย |
ปากแม่น้ำ | แม่น้ำโขง |
- ตำแหน่ง | อุบลราชธานี, อำเภอโขงเจียม, ประเทศไทย |
ความยาว | 640 km (398 mi) |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 69,701 ตร.กม. (26,912 ตร.ไมล์) |
การไหล | for แม่น้ำโขง อุบลราชธานี |
- เฉลี่ย | 725 m3/s (25,603 cu ft/s) |
- สูงสุด | 10,015 m3/s (353,676 cu ft/s) |
แผนที่ลุ่มน้ำมูล
|
แม่น้ำมูล เป็นแม่น้ำสายหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีความยาวประมาณ 640 กิโลเมตร ขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 69,701 ตร.กม.[1] ทำให้เป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากที่สุดของภาคอีสาน[2] ไหลจากต้นน้ำจากบริเวณเขื่อนมูลบน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ไปสู่ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ และไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี
ปัจจุบัน ชื่อของแม่น้ำสายนี้ สะกด "มูล" แต่เดิมนั้น ชาวบ้านในท้องถิ่นใช้คำสะกด "มูน" ซึ่งเป็นภาษาถิ่น หมายถึง สิ่งมีค่าน่าหวงแหน เป็นมรดกของบรรพบุรุษสั่งสมเก็บไว้ให้ลูกหลาน[3] แต่ทางราชการได้กำหนดภาษาราชการตามเสียงเรียก โดยสะกด "มูล" ด้วย ล
เส้นทางแม่น้ำ
[แก้]แม่น้ำมูล มีต้นน้ำจากเทือกเขาสันกำแพง บริเวณเหนือเขื่อนมูลบน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านอำเภอครบุรี อำเภอโชคชัย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโนนสูง อำเภอพิมาย อำเภอชุมพวง (จังหวัดนครราชสีมา), อำเภอพุทไธสง อำเภอคูเมือง อำเภอแคนดง อำเภอสตึก (จังหวัดบุรีรัมย์), อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี (จังหวัดสุรินทร์), อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย (จังหวัดร้อยเอ็ด), อำเภอราษีไศล อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ (จังหวัดศรีสะเกษ) บรรจบกันกับแม่น้ำชีบริเวณรอยต่อบ้านขอนไม้ยูง ตำบลห้วยขะยูง อำเภอวารินชำราบ (จังหวัดอุบลราชธานี) และบ้านหนองแวง ตำบลหนองแวง อำเภอกันทรารมย์ (จังหวัดศรีสะเกษ)แล้วไหลผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอสว่างวีรวงศ์ อำเภอดอนมดแดง อำเภอตาลสุม อำเภอพิบูลมังสาหาร และไหลลงสู่ แม่น้ำโขง ที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดย มีความยาวทั้งหมดประมาณ 640 กิโลเมตร ลำน้ำสาขาที่สำคัญได้แก่ ห้วยทับทัน (ลำทับทันหรือคลองทับทัน) ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำเชียงไกร ลำปลายมาศ ลำสะแทด ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย ลำน้ำเสียว ลำชี ลำเซบาย ลำเซบก ลำมูลน้อย ห้วยขะยูง และห้วยตุงลุงเป็นต้น ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
สองฝั่งเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงลุ่มน้ำมูลมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 69,701 ตร.กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 13.6 ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งประเทศครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ปริมาณน้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขงเฉลี่ยประมาณ 26,655 ล้าน ลูกบาศก์เมตรปี [4]
หนึ่งจุดที่บริเวณแม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขง จุดดังกล่าวเรียกว่า แม่น้ำสองสี หรือ โขงสีปูน มูลสีคราม
เขื่อนที่สำคัญในลุ่มแม่น้ำมูล
[แก้]- เขื่อนมูลบน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
- เขื่อนลำแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
- เขื่อนพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
- เขื่อนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
- เขื่อนหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
- เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
- เขื่อนปากมูล อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ลำน้ำ
[แก้]- ลำพระเพลิง
- ลำน้ำครบุรี
- คลองพิมาย
- ลำตะคอง
- ลำเชิงไกร
- ลำแชะ
- ลำจักราช
- ลำปลายมาศ
- ลำนางรอง
- แม่น้ำชี
- แม่น้ำโขง
- ลำพลับพลา
- ห้วยสำราญ
- ห้วยทับทัน
- ห้วยยาง
- ห้วยผักไหม
- คลองจานแสนไชย
- ห้วยเสียว
- ห้วยภูสิงห์
- ห้วยศิลาลาด
- ห้วยหลุมแก้ว
- ห้วยตาโด
- คลองหนองบัว
- ห้วยกุดหวาย
- ห้วยกุดเตอะ
- ห้วยตาแซง
- ห้วยติ๊กซู
- ห้วยน้ำคำ
- ห้วยขะยุง
- คำน้ำแซ่บ
- กุดเมืองฮาม
- ลำพังชู
- ลำเสียวใหญ่
- ลำเสียวน้อย
- แม่น้ำมูลน้อย
- ลำมูลน้อย
- ลำเซบาย
- ลำเซบก
- ห้วยตุงลุง
- ลำโดมใหญ่
- ลำโดมน้อย
- ลำน้ำยัง
- คลองสิรินธร
- ห้วยปากมูล
- พัทยาน้อย
- ห้วยตาดโตน
- คลองชลประทาน
- ห้วยแก่งโดม
- ห้วยแจระแม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Patchamuthu Illangovan; Manida Unkulvasapaul; และคณะ (ธันวาคม 2001). สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยปี 2000 (PDF) (Report). กรุงเทพฯ: ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย. หน้า 6.
- ↑ "แม่น้ำสายสำคัญของเมืองไทย". สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี). 16 มกราคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มิถุนายน 2021.
- ↑ "เกริ่นนำลำมูน". อุบลราชธานี: มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007.
- ↑ แม่น้ำมูลในวันนั้นและวันนี้. เดลินิวส์. 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ แม่น้ำมูล
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์