เขื่อนราษีไศล
เขื่อนราษีไศล | |
---|---|
ชื่อทางการ | เขื่อนราษีไศล |
ที่ตั้ง | อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ |
เริ่มก่อสร้าง | พ.ศ. 2535 |
เปิดดำเนินการ | พ.ศ. 2536 |
งบก่อสร้าง | 871.9 ล้านบาท |
ผู้ดำเนินการ | กรมชลประทาน |
เขื่อนและทางน้ำล้น | |
ปิดกั้น | แม่น้ำมูล |
อ่างเก็บน้ำ | |
พื้นที่กักเก็บน้ำ | 18.11 ตารางกิโลเมตร |
เขื่อนราษีไศล เป็นเขื่อนคอนกรีต มีบานประตูระบายน้ำ 7 บาน กั้นแม่น้ำมูลที่บ้านห้วย-บ้านดอน ตั้งอยู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เขื่อนเริ่มเก็บกักน้ำในปี พ.ศ. 2536[1]
ประวัติ
[แก้]เขื่อนราษีไศล เป็นเขื่อนในกลุ่มโครงการผันน้ำโขง-ชี-มูล ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน เพื่อทำการผันน้ำจากแม่น้ำโขง แม่น้ำชี แม่น้ำมูล มาแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ 4.98 ล้านไร่ในเขตภาคอีสาน โดยใช้งบประมาณกว่า 2.28 แสนล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 2 ปี[2]
เขื่อนราษีไศล ก่อสร้างโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2532 ให้ก่อสร้างเขื่อนปิดกั้นแม่น้ำมูลที่บริเวณบ้านห้วย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นฝายยางเก็บน้ำไม่เกินตลิ่ง ตั้งงบประมาณไว้ 140.97 ล้านบาท แต่มีการดำเนินการก่อสร้างจริงในระหว่างปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2536 และก่อสร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก งบประมาณ 871.9 ล้านบาทแทน
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ป้ายเขื่อนราษีไศล
-
พื้นที่เขื่อนราษีไศล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ความเป็นมา". โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง. สำนักชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 สิงหาคม 2015.
- ↑ "เขื่อนราษีไศล". องค์กรแม่น้ำเพื่อชีวิต. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2010.