เทศบาลนครนครสวรรค์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เทศบาลนครนครสวรรค์ | |
---|---|
ภาพมุมสูงของเทศบาลนครนครสวรรค์ มองจากเขากบ | |
สมญา: เมืองสี่แคว | |
คำขวัญ: สุขภาพดีถ้วนหน้า การศึกษาได้มาตรฐาน สาธารณูปโภคก้าวไกล ร่วมใจพัฒนา พาเศรษฐกิจรุ่งเรือง | |
พิกัด: 15°42′48″N 100°08′07″E / 15.71333°N 100.13528°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครสวรรค์ |
อำเภอ | เมืองนครสวรรค์ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | จิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 27.87 ตร.กม. (10.76 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 76,664 คน |
• ความหนาแน่น | 2,750.77 คน/ตร.กม. (7,124.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03600102 |
ทางหลวง | |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์ 112 ถนนอรรถกวี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000 |
เว็บไซต์ | www |
นครสวรรค์ เป็นเทศบาลนครในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดนครสวรรค์ เดิมเป็นสุขาภิบาลเมืองนครสวรรค์ และเทศบาลเมืองนครสวรรค์ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลนครนครสวรรค์เมื่อ พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลปากน้ำโพทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลนครสวรรค์ตก ตำบลนครสวรรค์ออก ตำบลวัดไทรย์ และตำบลแควใหญ่ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 27.78 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรประมาณ 85,931 คน
ประวัติ
[แก้]เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลเมืองนครสวรรค์ ในท้องที่ตำบลปากน้ำโพตะวันตก และตำบลแควใหญ่ ของอำเภอเมืองนครสวรรค์[2] ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ปกครองประมาณ 1.47 ตารางกิโลเมตร[3] และได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ขยายพื้นที่เป็น 8.85 ตารางกิโลเมตร[4] ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2522 มีพื้นที่ปกครองประมาณ 27.87 ตารางกิโลเมตร[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 ก็ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลนครนครสวรรค์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา[6]
ภูมิศาสตร์
[แก้]นครสวรรค์อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือประมาณ 250 กิโลเมตร ที่ตั้งของเมืองนครสวรรค์เป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายหลักของประเทศไทยสองสาย ได้แก่ แม่น้ำปิง และแม่น้ำน่าน กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไหลลงใต้สู่กรุงเทพมหานครและออกสู่อ่าวไทย สภาพแวดล้อมของเมืองส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และมีเนินเขาสูงประมาณ 110 เมตร
เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ในปัจจุบัน ครอบคลุมตำบลต่าง ๆ ในอำเภอเมืองนครสวรรค์ ได้แก่ ตำบลปากน้ำโพทั้งตำบล ตำบลนครสวรรค์ตกเฉพาะหมู่ที่ 1, 4, 5, 9 และ 10 ตำบลนครสวรรค์ออก เฉพาะหมู่ที่ 1, 4, 5, 6 และ 7 ตำบลวัดไทรย์เฉพาะหมู่ที่ 10, 11, 12 และ 13 และตำบลแควใหญ่ เฉพาะหมู่ที่ 4, 7 และ 10 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 27.78 ตารางกิโลเมตร
เศรษฐกิจ
[แก้]ในเขตเทศบาลบริเวณใจกลางเมืองส่วนใหญ่จะเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและธุรกิจต่าง ๆ และพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องจะเป็นบริเวณที่เป็นย่านที่อยู่อาศัยเดิม
การเมืองการปกครอง
[แก้]เทศบาลนครนครสวรรค์เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล มีนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลมาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลออกเป็น 4 เขต มีสมาชิกทั้งหมด 24 คน[7] แบ่งเขตการปกครองออกเป็นชุมชน รวมทั้งหมด 71 ชุมชน[8]
สำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ถนนอรรถกวี บริเวณเชิงเขาทางทิศใต้ของเขากบ ซึ่งเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2536 โดยรื้ออาคารหลังเดิมออก อาคารหลังปัจจุบันนี้ได้รับพระราชทานนามอาคารว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" เพื่อเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 และได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
การศึกษา
[แก้]- โรงเรียนรัฐบาล
- โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์
- โรงเรียนอนุบาลเมืองนครสวรรค์
- โรงเรียนเทศบาล
- โรงเรียนเทศบาลวัดไทรใต้
- โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำโพใต้
- โรงเรียนเทศบาลวัดพรหมจริยาวาส
- โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต
- โรงเรียนเทศบาลวัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม
- โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต
- โรงเรียนเทศบาลวัดสุคตวราราม
- โรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ
- โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครสวรรค์
- โรงเรียนมัธยม สพฐ.
- โรงเรียนเอกชน
- โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์
- โรงเรียนโพฒิสารศึกษา
- โรงเรียนอนุชนวัฒนา
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์
- ระดับอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์
- วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
- วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคเหนือ
- โรงเรียนสหพานิชยการ อำเภอเมืองนครสวรรค์
- ระดับอุดมศึกษา
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]- การรถไฟแห่งประเทศไทย – สายเหนือ
- สายหลัก: สถานีรถไฟนครสวรรค์ – สถานีรถไฟปากน้ำโพ – สถานีรถไฟบึงบอระเพ็ด
- สายแยกจากสถานีรถไฟปากน้ำโพไปท่าข้าวกำนันทรง (ยกเลิกการใช้งาน)
ทางหลวง
[แก้]สถานที่สำคัญ
[แก้]- บึงบอระเพ็ด
- วัดจอมคีรีนาคพรต
- อุทยานสวรรค์
- ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม
- วัดวรนาถบรรพต
- วัดนครสวรรค์
- หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
- วัดคีรีวงศ์
- หอชมเมืองนครสวรรค์
- ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา (ปากน้ำโพ)
- พาสาน (อาคารสัญลักษณ์ ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา)
ปากน้ำโพ
[แก้]บ้างเล่าว่าที่เรียกว่า ปากน้ำโพ ก็คือว่าเป็นบริเวณที่แม่น้ำปิง และน่านมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า "ปากน้ำโผล่" และเพี้ยนมาเป็น "ปากน้ำโพ" แต่ในปัจจุบันนักโบราณคดีระบุว่า พื้นที่บริเวณนี้เป็นปากน้ำของคลองโพ (คือส่วนหนึ่งของแม่น้ำน่านในปัจจุบัน โดยบรรจบกับแม่น้ำน่านก่อนแล้ว จึงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา) และชาวจีนพูดคำว่า "ปากน้ำโผล่" ได้ไม่ชัดเจน จึงเรียกว่า ปากน้ำโพ ดังเช่น ปากยม ปากชม ปากลัด และปากน้ำอื่น ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ระบบสถิติทางการทะเบียน : สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ข้อมูล ปี 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate/Area/statpop [ม.ป.ป.]. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมืองนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32: 367–369. 21 พฤศจิกายน 2458.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช 2478" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52: 1682. 10 ธันวาคม 2478.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2493" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (71 ก): 1259. 26 ธันวาคม 2493.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (56): 2522. 21 เมษายน 2522.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 10–13. 24 กันยายน 2538.
- ↑ "สมาชิกสภาเทศบาล". เทศบาลนครนครสวรรค์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข้อมูลพื้นฐาน เทศบาลนครนครสวรรค์". เทศบาลนครนครสวรรค์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)