ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอหางดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอหางดง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Hang Dong
วัดต้นเกว๋น
คำขวัญ: 
เศรษฐกิจดี สตรีแสนสวย ร่ำรวยหัตถกรรม
วัฒนธรรมมั่นคง หางดงพัฒนา
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอหางดง
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอหางดง
พิกัด: 18°41′13″N 98°55′8″E / 18.68694°N 98.91889°E / 18.68694; 98.91889
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่
 • ทั้งหมด277.1 ตร.กม. (107.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด93,740 คน
 • ความหนาแน่น338.29 คน/ตร.กม. (876.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50230,
50340 (เฉพาะตำบลหนองตอง)
รหัสภูมิศาสตร์5015
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอหางดง เลขที่ 181
หมู่ที่ 3 ตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หางดง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในเขตปริมณฑลของนครเชียงใหม่[1]ที่มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อำเภอหางดงมีความพร้อมทุก ๆ ด้าน มีการเติบโตอย่างอสังหาริมทรัพย์ บ้านจัดสรร[2] โรงแรมรีสอร์ท ธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้าจำนวนมาก

หางดงปัจจุบันมีสภาพเมืองที่กลมกลืนกับนครเชียงใหม่จนเรียกได้ว่าคือเมืองเดียวกัน อำเภอหางดงมีสภาพทางเศรษฐกิจดีมาก มีการจราจรที่คับคั่งที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นอำเภอที่รองรับความเจริญของนครเชียงใหม่เพื่อขยายไปยังศูนย์กลางทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย

วัดหางดง (อำเภอหางดง) เดิมชื่อว่า วัดสันดอนแก้ว หรือ วัดดอนแก้ว สร้างในปลายสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1985–2030) เมื่อทางราชการได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการตั้งแขวงแม่ท่าช้าง เป็นอำเภอหางดง จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดบ้านดง เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน และเปลี่ยนมาเป็น "วัดหางดง" จนถึงปัจจุบัน
วัดทุ่งอ้อ เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดทุ่งอ้อหลวง แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดทุ่งอ้อ" สันนิษฐานว่าวัดทุ่งอ้อเป็นศูนย์กลางร่วมสมัยในยุคของเวียงมโน ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่กว่า 13 ปี

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอหางดงมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

วัดท้าวคำวัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2030 เดิมเป็นที่วัดร้าง เชื่อกันว่าผู้สร้างวัดคือท้าวคำวัง มีตำนานกล่าวไว้ว่า มีท้าวสามคน คือ ท้าวคำวัง ท้าวบุญเรือง และท้าวผายู มาตั้งหมู่บ้านอยู่ในเขตชนบทย่านนี้ และตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อของตน
วัดขุนคง เดิมเป็นวัดร้างชื่อว่าวัดบ้านหง และต่อมาในยุคพระเจ้ากาวิละ ช่วงยุคเก็บผ้าใส่ซ้าเก็บผ้าใส่เมือง พระองค์ได้นำพวกละว้า จากอำเภอสันป่าตอง มาอยู่ที่หมู่บ้านร้างหมู่บ้านหง โดยมีผู้นำหมู่บ้านคือ ปู่ขุนคง

ประวัติ

[แก้]

อำเภอหางดง เดิมมีนามว่า “แขวงแม่ท่าช้าง” เป็นเขตการปกครองที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ จัดระบบการปกครองที่เรียกว่า มณฑลเทศาภิบาล กำหนดแบ่งเมืองเชียงใหม่เป็นหัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองชั้นในแขวงแม่ท่าช้างจัดอยู่ในเขตหัวเมืองชั้นในหัวหน้าผู้รับผิดชอบเรียกว่า “นายแขวง” นายแขวงคนแรกของแขวงแม่ท่าช้าง คือ หลวงคชดิษฐาภิบาล (ไผ่) ระหว่างปี พ.ศ. 2451–2453  แขวงแม่ท่าช้างได้เปลี่ยนฐานะเป็นชื่ออำเภอหางดง พื้นที่อำเภอหางดงก่อนนี้มีสภาพรกร้างว่างเปล่าทั้งหมู่บ้านและราษฎรมีน้อย เวลานั้นมีพญามะโน เจ้าน้อยมหาอินทร์ และพญาประจักร์ ได้ครอบครองขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

ที่เรียกว่า “แม่ท่าช้าง” นั้น กล่าวกันว่า ในท้องที่นี้มีดงกรรมอยู่ดงหนึ่งเป็นดงไม้สัก มีลำน้ำแม่ท่าช้างไหลผ่านดงนี้ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนี้ขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร เวลาเมื่อเจ้านายทางเชียงใหม่จะไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอนหรือขุนยวมก็เดินผ่านทางนี้ เมื่อมาถึงดงนี้จำต้องลงจากหลังช้างแล้วข้ามท่านี้เข้าดงไปจึงเรียกลำน้ำนี้ว่า “แม่ท่าช้าง” ในสมัย  ร.ศ.120 ทางการได้มีการให้จัดตั้งแขวงขึ้น โดยพิจารณาถึงหมู่บ้านใหญ่ๆ หลายตำบลรวมกันในระยะทางที่จะไปมาถึงได้ภายใน 6 ชั่วโมงหรือมีราษฎรมากกว่าหมื่นคนจึงจัดเป็นหนึ่งๆ ทำนองอำเภอหนึ่งในขณะนั้นจึงเรียกว่า “แขวงแม่ท่าช้าง” บ้างก็ว่า “แม่ท่าช้าง” มาจากคำว่า “แม่ต๋าจ้าง” หรือ “แม่ตาช้าง” ซึ่งหมายถึงลำน้ำแม่ท่าช้าง ที่ต้นน้ำออกมาจากช่องน้ำเล็กๆ เหมือนตาช้าง จึงเรียกว่า “แม่ต๋าจ้าง”

ในปี พ.ศ. 2460 ทางการได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อให้ตรงกับนามตำบลที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่เป็นอำเภอ “หางดง”   เพราะอยู่ทางทิศใต้ของดงกรรมดังกล่าว คำว่า หาง แปลว่า ท้าย คือทางทิศใต้หรือท้ายของดงกรรม ต่อมาวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2481 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศว่า “ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยุบอำเภอหางดงเป็นกิ่งอำเภอ ขนานนามว่า กิ่งอำเภอหางดง[3] และให้ไปขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ในเดือนเดียวกันนี้กระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งที่ 206/2481 ลงวันที่ 19 กันยายน 2481 อนุมัติให้ตำบลหารแก้ว ตำบลสันกลาง และตำบลหนองตอง ไปขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอบ้านแม (อำเภอสันป่าตอง) กับโอนตำบลขัวมุงและตำบลสันทรายไปขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอสารภี คงเหลืออยู่ 8 ตำบลเท่านั้น การไปขึ้นกับอำเภอเมืองเชียงใหม่นั้นต่อมาปรากฏว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากต้องเดินทางไปติดต่อราชการที่อำเภอเมืองฯ   ระยะทางถึง 15 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้พิจารณาขึ้นเป็นอำเภอหางดงอีกครั้ง[4] ให้รวมตำบลหารแก้วและตำบลหนองตอง กลับมาขึ้นกับอำเภอหางดงเหมือนเดิม[5] และแต่งตั้งในให้นายเที่ยง ถีระวงษ์ ตำแหน่งผู้ตรวจการเทศบาลจังหวัดตาก มาดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอหางดงเป็นคนแรก

  • วันที่ 6 ธันวาคม 2451 ยกเลิกอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และโอนพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านทุ่งตอง (ตำบลหนองตอง) มาขึ้นกับอำเภอแม่ท่าช้าง[6]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนชื่ออำเภอแม่ท่าช้าง จังหวัดเชียงใหม่ เป็น อำเภอหางดง[7][8]
  • วันที่ 12 กันยายน 2481 ยุบท้องที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ลงเป็น กิ่งอำเภอหางดง[3] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองเชียงใหม่
  • วันที่ 19 กันยายน 2481 โอนพื้นที่หมู่ 5,6 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองฮะ อำเภอสะเมิง ไปขึ้นกับตำบลบ้านปง อำเภอหางดง กับโอนพื้นที่ตำบลสันกลาง ตำบลหารแก้ว ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง ไปขึ้นกับอำเภอบ้านแม และโอนพื้นที่ตำบลขัวมุง ตำบลสันทราย อำเภอหางดง ไปขึ้นกับอำเภอสารภี[9]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลสบแม่ข่า แยกออกจากตำบลสันผักหวาน ตำบลบ้านแหวน และตำบลขุนคง[10]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2490 ยกฐานะกิ่งอำเภอหางดง อำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็น อำเภอหางดง[4] อีกครั้ง
  • วันที่ 16 สิงหาคม 2492 โอนพื้นที่ตำบลหารแก้ว และตำบลหนองตอง (ยกเว้นหมู่ที่ 8–10) อำเภอสันป่าตอง มาขึ้นกับอำเภอหางดง กับโอนพื้นที่หมู่ 8–9 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองตอง ไปขึ้นกับตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง และโอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองตอง ไปขึ้นกับตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง[5]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลหางดง ในท้องที่หมู่ 1–5 ตำบลหางดง[11]
  • วันที่ 15 กันยายน 2513 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองตองพัฒนา ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลหนองตอง[12]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2516 จัดตั้งตำบลหารแก้ว ตำบลหนองควาย ตำบลบ้านแหวน ตำบลสันผักหวาน ตำบลหนองแก๋ว ตำบลขุนคง ตำบลสบแม่ข่า ตำบลบ้านปง และตำบลหางดง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลหางดง) เป็น สภาตำบลหารแก้ว สภาตำบลหนองควาย สภาตำบลบ้านแหวน สภาตำบลสันผักหวาน สภาตำบลหนองแก๋ว สภาตำบลขุนคง สภาตำบลสบแม่ข่า สภาตำบลบ้านปง และสภาตำบลหางดง[13]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2528 ตั้งตำบลน้ำแพร่ แยกออกจากตำบลหางดง[14]
  • วันที่ 25 กรกฎาคม 2531 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอหางดงกับอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยโอนพื้นที่หมู่ 7 บ้านดอยปุย (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านปง อำเภอหางดง ไปขึ้นกับตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่[15]
  • วันที่ 17 ตุลาคม 2532 กำหนดเขตตำบลบ้านปง อำเภอหางดง โดยตัดหมู่ที่ 7 บ้านดอยปุย (เดิม) ของตำบลบ้านปง อำเภอหางดง ไปตั้งและกำหนดเป็นหมู่ 11 ของตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่[16]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลหนองควาย สภาตำบลบ้านแหวน สภาตำบลบ้านปง สภาตำบลสันผักหวาน สภาตำบลน้ำแพร่ สภาตำบลหารแก้ว สภาตำบลขุนคง สภาตำบลหนองแก๋ว สภาตำบลหางดง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลหางดง) และสภาตำบลสบแม่ข่า เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองควาย องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหวน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปง องค์การบริหารส่วนตำบลสันผักหวาน องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแพร่ องค์การบริหารส่วนตำบลหารแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลขุนคง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก๋ว องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง และองค์การบริหารส่วนตำบลสบแม่ข่า[17]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลหางดง และสุขาภิบาลหนองตองพัฒนา เป็นเทศบาลตำบลหางดง และเทศบาลตำบลหนองตองพัฒนา ตามลำดับ[18] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหารแก้ว เป็น เทศบาลตำบลหารแก้ว[19] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหวน เป็น เทศบาลตำบลบ้านแหวน[20] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสันผักหวาน เป็น เทศบาลตำบลสันผักหวาน[21]
  • วันที่ 6 เมษายน 2555 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่[22]
  • วันที่ 5 กันยายน 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองควาย เป็น เทศบาลตำบลหนองควาย[23]
  • วันที่ 6 กันยายน 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง เป็น เทศบาลตำบลแม่ท่าช้าง[24] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก๋ว เป็น เทศบาลตำบลหนองแก๋ว[25] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปง เป็น เทศบาลตำบลบ้านปง[26] กับเปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแพร่พัฒนา[27] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแพร่พัฒนา เป็น เทศบาลตำบลน้ำแพร่พัฒนา[28]
วัดทรายมูล เดิมชื่อว่า วัดคงหลุมดอนชัย เพราะว่าบริเวณวัดมีแต่หลุมทรายเป็นหลุม ๆ กับก้อนหินเป็นกองอยู่เป็นแห่ง ๆ ตามประวัติแจ้งว่า วัดนี้ได้สร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้างนั้นไม่ทราบ วิหารศิลปะล้านนา ประดับด้วยไม้แกะสลักลายเมฆ
วัดป่าพุทธพจนาราม เคยเป็นที่ตั้งวัดเก่ามาแต่โบราณกาล ปัจจุบันยังมีเนินเจดีย์ วิหารหลงเหลืออยู่ มีอิฐแกร่งก้อนโตที่คนสมัยนั้นใช้สร้างศาสนสถานอยู่จำนวนมาก

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอหางดงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 ตำบล 109 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวน
หมู่บ้าน
ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2566)[29]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2566)[29]
1. หางดง Hang Dong 9 11,147 6,733 (ทต.หางดง)
4,414 (ทต.แม่ท่าช้าง)
2. หนองแก๋ว Nong Kaeo 9 5,938 5,938 (ทต.หนองแก๋ว)
3. หารแก้ว Han Kaeo 9 5,913 5,913 (ทต.หารแก้ว)
4. หนองตอง Nong Tong 14 8,185 8,185 (ทต.หนองตองพัฒนา)
5. ขุนคง Khun Khong 9 5,395 5,395 (อบต.ขุนคง)
6. สบแม่ข่า Sop Mae Kha 5 2,540 2,540 (อบต.สบแม่ข่า)
7. บ้านแหวน Ban Waen 13 11,798 11,798 (ทต.บ้านแหวน)
8. สันผักหวาน San Phak Wan 7 18,305 18,305 (ทต.สันผักหวาน)
9. หนองควาย Nong Khwai 12 11,243 11,243 (ทต.หนองควาย)
10. บ้านปง Ban Pong 11 5,411 5,411 (ทต.บ้านปง)
11. น้ำแพร่ Nam Phrae 11 7,865 7,865 (ทต.น้ำแพร่พัฒนา)
รวม 109 93,740 85,805 (เทศบาล)
7,935 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอหางดงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

อ้างอิง

[แก้]
  1. สมศักดิ์ คณาคำ ปั้น “อำเภอหางดง” เมืองการค้าท่องเที่ยว-เกษตร
  2. “ถนนเชียงใหม่-หางดง” ทำเลแห่งที่อยู่อาศัยหลากหลายระดับราคา
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2067. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2481
  4. 4.0 4.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (50 ง): 2661–2662. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30. วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2490
  5. 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและเขตอำเภอในท้องที่ อำเภอสันป่าตอง และอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (46 ง): 3865–3866. วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2492
  6. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (36): 1027. วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2451
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๕ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ หน้า ๖๕, ๖๖ เล่ม 34 วันที่ 3 มิถุนายน 2460
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2090. วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2481
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 31-32. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2500
  12. 12.0 12.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองตองพัฒนา อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (86 ง): 2584–2585. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2513
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสันกำแพง อำเภอฝาง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (152 ง): (ฉบับพิเศษ) 29-40. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-04. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03. วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2528
  15. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอหางดงกับอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (119 ก): (ฉบับพิเศษ) 5-7. วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหางดง และอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (177 ง): 7693–7697. วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2532
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-04-14. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  18. 18.0 18.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-02 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  19. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล หารแก้ว เป็น เทศบาลตำบลหารแก้ว". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  20. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล บ้านแหวน เป็น เทศบาลตำบลบ้านแหวน". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  21. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล สันผักหวาน เป็น เทศบาลตำบลสันผักหวาน". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  22. "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555
  23. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองควาย เป็น เทศบาลตำบลหนองควาย". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556
  24. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง เป็น เทศบาลตำบลแม่ท่าช้าง". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
  25. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก๋ว เป็น เทศบาลตำบลหนองแก๋ว". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
  26. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปง เป็น เทศบาลตำบลบ้านปง". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
  27. "ปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแพร่ ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแพร่พัฒนา". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
  28. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแพร่พัฒนา เป็น เทศบาลตำบลน้ำแพร่พัฒนา". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
  29. 29.0 29.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]