วิหาร
วิหาร คืออาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคล้ายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า คู่กับอุโบสถ แต่ไม่มีวิสุงคามสีมาเหมือนอุโบสถ ไม่มีใบเสมา[1]
ความหมาย
[แก้]วิหารตามความหมายในทางพุทธศาสนา หมายถึง ที่พักอาศัยในป่า กระท่อม ที่อยู่อาศัย ที่พัก กุฏิ (สำหรับพระภิกษุ) สถานที่ประชุมของภิกษุ ตึกใหญ่สำหรับภิกษุทั้งหลายอยู่อาศัย วิหาร และวัด เป็นต้น
คำว่า วิหาร แต่เดิมใช้ในความหมายว่า วัด เช่นเดียวกับคำว่า อาราม อาวาส เช่น เวฬุวัน วิหาร เชตวันมหาวิหาร
คำว่า "วิหาร" ยังกำหนดใช้เป็นคำลงท้ายสร้อยนามพระอารามหลวงต่างๆ เพื่อแสดงให้รู้ว่าวัดที่มีสร้อยนามอย่างนี้เป็นพระอารามหลวงสำคัญ
จากหนังสือ ไตรภูมิโลกวินิจฉัยกถา ระบุเนื้อความในพุทธประวัติ ตอนที่พญานาคเข้าปรกกันพายุฝนให้พุทธองค์ จากหนังสือที่ยกมานี้อธิบายอย่างชัดเจนว่านาคนั้นแปลงปรกเป็นอาคาร โดยมีการ "ผกพังพานเป็นเพดานบังปิดเบื้องบน" จึงอาจสันนิษฐานว่า วิหารคือคือนาคที่แปลงมาเป็นอาคาร[2]
ที่มา
[แก้]วิหารแห่งแรก ได้ปรากฏในพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงกล่าวอนุญาต เสนาสนะ คือ ที่นอน ที่พำนัก 5 ชนิด หนึ่งในนั้น ได้แก่ วิหาร ซึ่งหมายถึงกุฏิมีหลังคา มีชายคา สองข้าง เป็นลักษณะของสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์เป็นที่เร้น เพื่อความ สำราญ เพื่อบำเพ็ญสมถวิปัสนา ยังประโยชน์แก่พระศาสนา[3]
ประเภท
[แก้]วิหารมีหลายแบบ เช่น[4]
- วิหารคด คือวิหารที่มีลักษณะคดอยู่ตรงมุมกำแพงแก้วของอุโบสถ อาจมีหลังเดียวก็ได้ โดยมากจะมี 4 มุม และประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ภายใน
- วิหารทิศ คือวิหารที่สร้างออกทั้ง 4 ด้านของพระสถูปเจดีย์ อาจอยู่ตรงมุมหรือด้านข้าง
- วิหารยอด คือวิหารที่มียอดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่นวิหารยอดเจดีย์ อาจอยู่ตรงมุมหรือด้านข้าง
- วิหารหลวง คือวิหารที่ด้านท้ายเชื่อมต่อกับพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "โบสถ์และวิหารแตกต่างกันอย่างไร".
- ↑ "วิหารคือนาคปรก". ศิลปวัฒนธรรม.
- ↑ "วิหาร". ล้านนาคดีศึกษา : ด้านที่ 2 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี.
- ↑ "ศัพท์ธรรมคำวัด : โบสถ์-วิหาร ศาลาการเปรียญ". ผู้จัดการออนไลน์.
บรรณานุกรม
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548