ศิลปะล้านนา
ศิลปะล้านนา[1] หรือ ศิลปะเชียงแสน มีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องจากศิลปะทวารวดีและลพบุรีมาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อพญามังรายได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
ประติมากรรม[แก้]
ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา ซึ่งมักเรียกว่า แบบเชียงแสน คือ พระวรกายอวบอูม พระพักตร์อิ่ม ยิ้มสำรวม กระเกตุมาลาเป็นรูปต่อมกลม และดอกบัวตูม ไม่มีไรพระศก พระศกเป็นแบบก้นหอย พระขนงโก่งรับพระนาสิกงุ้มเล็กน้อย ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระอุระนูนดังราชสีห์ ท่านั่งขัดสมาธิเพชร
นาฏดุริยางคศิลป์[แก้]
จะเห็นได้ว่าเมื่อมีงานบุญงานทาน ชาวล้านนามักมีการแสดงรื่นเริง เนื่องด้วยความเชื่อต่าง ๆ ว่าเมื่อได้ร่วมแสดงในงานบุญ จะได้บุญกุลศลอย่างมาก
เครื่องดนตรี[แก้]
- ซึง
- สะล้อ
- กลองเต่งถิ้ง
- ขลุ่ย
- ปี่จุม
- กลองสะบัดชัย
- กลองตึ่งโนง
- ปี่แน
- ตะหลดปด (มะหลดปด)
- กลองปู่จา (กลองบูชา หรือ ปู่จา)
- วงกลองปูเจ่ (กลองปูเจ)
- วงปี่ป๊าดก้อง (วงปี่พาทย์ล้านนา)
- พิณเปี๊ยะ
การแสดง[แก้]
การร้อง[แก้]
การร้องแบบภาคเหนือแบ่งออกเป็น หลายอย่าง โดยการร้องจะมีความหลากหลายของทำนองเพื่อไม่ให้ผู้ฟังเกิดการเบื่อหน่าย เช่น ทำนอง ตั้งเชียงใหม่ อื่อ ล่องน่าน เชียงแสน เงี้ยวสิบชาติ ปั่นฝ้าย พม่า น่านก๋าย จะปุ เป็นต้น โดยการร้องแบ่งออกได้ดังนี้
การฟ้อน[แก้]
การฟ้อน คือการแสดงของชาวเหนือโดยมีลีลาอ่อนช้อยงดงามการฟ้อนจะฟ้อนไปตามจังหวะของดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้มักเป็นเครื่องดนตรีของพื้นเมืองเกือบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสะล้อ ซึง กลองต่าง ๆ เป็นต้น ชาวอำเภอป่าแดดมักใช้ฟ้อนในงานสำคัญต่าง ๆ เช่นงานบุญงานทาน งานฉลอง งานรื่นเริง โดยการฟ้อนอาจแบ่งเป็นฟ้อนผู้หญิง ฟ้อนผู้ชาย
ป้จจุบันผู้หญิงอาจฟ้อนของผู้ชาย ผู้ชายฟ้อนของผู่หญิงก็ได้ไม่ผิด โดยหลัก ๆ ฟ้อนแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
- ฟ้อนบ่าเก่า (ฟ้อนโบราณ)
- ฟ้อนประดิษฐ์ในพระราชสำนัก
- ฟ้อนแบบเงี้ยว และ
- ฟ้อนประยุค
โดยแยกได้ดังนี้
ฟ้อนประดิษฐ์ในพระราชสำนัก[แก้]
การฟ้อนแบบนี้หมายถึงการฟ้อนที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงประดิษฐ์ขึ้น หรือการฟ้อนที่ผู้ใกล้ชิดกับพระราชชายาฯ ได้ประดิษฐ์ ซึ่งพบว่ามี 9 กระบวนท่าฟ้อน คือ
- ฟ้อนเล็บ-ฟ้อนแห่ครัวทาน
- ฟ้อนเทียน
- ฟ้อนเงียว (แบบในวัง)
- ฟ้อนล่องน่าน (ฟ้อนน้อยไชยา)
- ฟ้อนกำเบ้อ
- ฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตา
- ฟ้อนมูเซอ
- ฟ้อนโยคีถวายไฟ
ฟ้อนแบบเงี้ยว[แก้]
หมายถึงการฟ้อนแบบไทใหญ่ พบว่ามีอยู่ 6 อย่าง คือ
ฟ้อนประยุค (ฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นในระยะหลัง)[แก้]
เมื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไปแล้ว ก็ได้มีผู้ประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นมาอีกหลายแบบ โดยชาวอำเภอป่าแดดมักนำการฟ้อนประยุคนี้มาฟ้อนในงานแห่ครัวทาน อาจจะรับอทธิพลจาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้าง ภาคกลาง ภาคใต้ก็ดี บ้างก็คิดเองขอเพียงมีจังหวะชาวอำเภอป่าแดดก็สามารถฟ้อนได้ในขบวนครัวทาน เช่นการฟ้อนภูไท ฟ้อนชาวเขา เซิ้ง ฟ้อนประยุค เป็นต้น
ในที่นี้จะขอยกการฟ้อนประยุคที่มีความนิยมทั่วไปไม่เฉพาะอำเภอป่าแดดเท่านั้น พบว่ามีหลายกระบวนท่าฟ้อนมาก ดังนี้
- ฟ้อนหริภุญชัย
- ฟ้อนร่ม
- ฟ้อนเก็บใบยาสูบ
- ฟ้อนยอง
- ฟ้อนศิลามณี
- ฟ้อนผางประทีป
- ฟ้อนล่องแม่ปิง
- ฟ้อนเชียงแสน
- ฟ้อนล่องน่าน
- ฟ้อนน่านนันทบุรี
- ฟ้อนวี (ฟ้อนพัด)
- ฟ้อนขันดอก
- ฟ้อนร่มฟ้าไท-ยวน (ฟ้อนร่มฟ้าล้านนา หรือฟ้อนยวนสาวไหม)
- ฟ้อนเบิกฟ้าป่าแดด
- ฟ้อนขันส้มป่อย