นฺหวี่ชู
นฺหวี่ชู | |
---|---|
คำว่า นฺหวี่ชู เขียนด้วยตัวหนังสือนฺหวี่ชู | |
ชนิด | ตัวหนังสือพยางค์
|
ทิศทาง | แนวตั้งขวาไปซ้าย |
ภาษาพูด | Xiangnan Tuhua |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Nshu (499), Nüshu |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Nushu |
ช่วงยูนิโคด |
|
นฺหวี่ชู (จีนตัวย่อ: 女书; จีนตัวเต็ม: 女書; พินอิน: Nǚshū; 𛆁𛈬 หนังสือผู้หญิง) เป็นชุดตัวหนังสือพยางค์ที่ประดิษฐ์และใช้โดยผู้หญิงในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ผู้หญิงถูกกีดกันจากระบบการศึกษาที่เป็นทางการเป็นเวลาหลายศตวรรษ และได้พัฒนานฺหวี่ชูเพิ่อใช้ระหว่างกัน ตัวหนังสือนี้ใช้ปักลงบนผ้าหรือเขียนลงหนังสือและพัดกระดาษ ใช้ในการประดิษฐ์ซัน เชา ชุ หรือสารวันที่สามที่เป็นหนังสือขนาดเล็ก ห่อด้วยผ้าที่แม่จะมอบให้ลูกสาวในวันแต่งงานหรือเพื่อนผู้หญิงที่สนิทกัน ซัน เชา ชุ ประกอบด้วยบทเพลง ความหวังและความปวดร้าว ผู้หญิงจะได้หนังสือนี้ในวันที่สามหลังการแต่งงาน ผู้เชี่ยวชาญนฺหวี่ชูคนสุดท้าย ยัง ฮวนยี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2547 ขณะอายุได้ 98 ปี ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจนฺหวี่ชูและผู้หญิงหันมาเรียนตัวหนังสือนี้เพื่อนำมาใช้อีกครั้ง
นฺหวี่ชูนี้มีสัญลักษณ์ 1,800–2,500 ตัว เขียนในแนวตั้งจากบนลงล่าง และจากขวาไปซ้าย มีพื้นฐานมาจากอักษรจีน มีการสอนกันเฉพาะในหมู่ผู้หญิงเท่านั้น ใช้เขียนสำเนียงเฉิงกวาน (城關, Chéngguān) ของภาษาจีนฮกเกี้ยน