อักษรตักบันวา
อักษรตักบันวา ᝦᝪᝯ | |
---|---|
ชนิด | |
ช่วงยุค | ประมาณ ค.ศ. 1300–ปัจจุบัน |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | กลุ่มภาษาปาลาวัน |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบพี่น้อง | ในฟิลิปปินส์: ไบบายิน บูฮิด ฮานูโนโอ Kulitan ในประเทศอื่น: บาหลี บาตัก ชวา ลนตารา ซุนดา เรินจง เรอจัง |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Tagb (373), Tagbanwa |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Tagbanwa |
ช่วงยูนิโคด | U+1760–U+177F |
[a] ต้นกำเนิดของเซมิติกของอักษรพราหมียังไม่เป็นที่ยอมรับ |
อักษรตักบันวา เป็นหนึ่งในอักษรพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ที่ใช้โดยชาวตักบันวาและชาวปาลาวัน[1]
ต้นกำเนิด
[แก้]มีการใช้งานอักษรตักบันวาในฟิลิปปินส์จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความใกล้ชิดกับอักษรไบบายิน คาดว่ามาจากอักษรกวิของชวา บาหลี และสุมาตรา ซึ่งพัฒนามาจากอักษรปัลลวะ หนึ่งในอักษรของอินเดียใต้ ที่มาจากอักษรพราหมีอีกทอดหนึ่ง[2]
ลักษณะ
[แก้]อักษรตักบันวาเป็นอักษรพยางค์ที่พยัญชนะแต่ละตัวมีเสียงอะ (/a/) เป็นพื้นเสียง ส่วนสระอื่นระบุด้วยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรข้างบน (สำหรับ /i/) หรือข้างล่าง (สำหรับ /u/) พยัญชนะ[3] สระต้นพยางค์เป็นอักษรเดี่ยว พยางค์ที่มีพยัญชนะอยู่ด้านหลังจะไม่เขียนพยัญชนะท้าย[4] อักษรตักบันวามีความแตกต่างจากอักษรไบบายินที่รูปร่างของบางตัวอักษร โดยเฉพาะอักษร ‹k› และ ‹w›[1]
ปกติเขียนบนไม้ไผ่ในแนวตั้ง จากล่างขึ้นบน และจากซ้ายไปขวา ส่วนในแนวนอนอ่านจากซ้ายไปขวา[2]
สระ
[แก้]สระตักบันวา[4] | |||||
---|---|---|---|---|---|
ต้น | เชื่อม | ||||
ถอดเสียง | a | i | u | i | u |
อักษร | ᝠ | ᝡ | ᝢ | ᝲ | ᝳ |
พยัญชนะ
[แก้]พยางค์ตักบันวา[4] | ||||||||||||||||
ถอดเสียง | k | g | ng | t | d | n | p | b | m | y | l | w | s | |||
พยัญชนะ + a | ᝣ | ᝤ | ᝥ | ᝦ | ᝧ | ᝨ | ᝩ | ᝪ | ᝫ | ᝬ | ᝮ | ᝯ | ᝰ | |||
พยัญชนะ + i | ᝣᝲ | ᝤᝲ | ᝥᝲ | ᝦᝲ | ᝧᝲ | ᝨᝲ | ᝩᝲ | ᝪᝲ | ᝫᝲ | ᝬᝲ | ᝮᝲ | ᝯᝲ | ᝰᝲ | |||
พยัญชนะ + u | ᝣᝳ | ᝤᝳ | ᝥᝳ | ᝦᝳ | ᝧᝳ | ᝨᝳ | ᝩᝳ | ᝪᝳ | ᝫᝳ | ᝬᝳ | ᝮᝳ | ᝯᝳ | ᝰᝳ |
อักษรตักบันวามีเครื่องหมายวรรคตอนแบบเดี่ยว (᜵) และแบบคู่ (᜶)[4]
ยูนิโคด
[แก้]ตักบันวา Unicode.org chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+176x | ᝠ | ᝡ | ᝢ | ᝣ | ᝤ | ᝥ | ᝦ | ᝧ | ᝨ | ᝩ | ᝪ | ᝫ | ᝬ | ᝮ | ᝯ | |
U+177x | ᝰ | ᝲ | ᝳ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Miller, Christopher (2014). "A survey of indigenous scripts of Indonesia and the Philippines". สืบค้นเมื่อ 21 May 2020.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 2.0 2.1 Omniglot: Tagbanwa. Accessed October 13, 2016.
- ↑ Everson, Michael (1998-11-23). "N1933 Revised proposal for encoding the Philippine scripts in the UCS" (PDF).
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Chapter 17: Indonesia and Oceania" (PDF). Unicode Consortium. March 2020.