ภาษาม้ง
ภาษาม้ง | |
---|---|
Hmoob | |
ออกเสียง | [m̥ɔ̃́] |
ประเทศที่มีการพูด | จีน, เวียดนาม, ลาว, ไทย, และ สหรัฐ. |
ชาติพันธุ์ | ชาวม้ง |
จำนวนผู้พูด | ไม่ทราบ (3.7 ล้านคน (ไม่นับเวียดนาม) อ้างถึง1995-2009) |
ตระกูลภาษา | ม้ง-เมี่ยน
|
ระบบการเขียน | อักษรม้ง, อักษรละติน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | hmn |
ISO 639-3 | มีหลากหลาย:hmn – Hmong (generic)mww – ภาษาม้งเด๊อว (Laos, China)hmv – Hmong Do (Vietnam)hmf – Hmong Don (Vietnam)blu – ภาษาม้งจั๊ว (Laos, China)hmz – Hmong Shua (Vietnam)hmc – Hmong Central Huishui (China)hmm – Hmong Central Mashan (China)hmj – Hmong Chonganjiang (China)hme – Hmong Eastern Huishui (China) |
ภาษาม้ง (Nyiakeng Puachue: 𞄀𞄩𞄰, พ่าเฮ่า: 𖬌𖬣𖬵) เป็นภาษาในตระกูลเหมียว-เหยา หรือม้ง-เมี่ยน ใช้กันในชาวม้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ บางส่วนของจีนจัดเป็นภาษาคำโดด โดยหนึ่งคำมีเสียงพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ ไม่มีเสียงตัวสะกด มีวรรณยุกต์สนธิหรือการผสมกันของเสียงวรรณยุกต์เมื่อนำคำมาเรียงต่อกันเป็นประโยค ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
- ภาษาม้งเขียว หรือ ม้งจั๊ว (Hmong Njua)
- ภาษาม้งขาว หรือ ม้งเด๊อ (Hmong Daw)
ไวยากรณ์
[แก้]การเรียงคำเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม เช่น เด๋เตาะหมี (หมากัดแมว) ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงกาล แต่ใช้การเติมคำบอกกาลเช่นเดียวกับในภาษาไทย ถ้าเป็นประโยคบอกอดีตให้เติมคำว่า "เหลอะ" ไว้ท้ายประโยค แบบเดียวกับคำว่า "了" (เลอ) ที่ใช้ในภาษาจีนกลาง ตัวอย่างเช่น เด๋เตาะหมีเหลอะ (หมากัดแมวแล้ว) ถ้าเป็นประโยคบอกอนาคตก็ให้เติมคำว่า "หยัว" ไว้หน้ากริยา ซึ้งจะใช้คล้ายๆกับคำว่า "要" (เย่า) ในภาษาจีนกลาง ยกตัวอย่างเช่น เด๋หยัวเตาะหมี (หมาจะกัดแมว) ประโยคปฏิเสธเติมคำว่าไม่ (จี่ หรือ ทจี่) หน้าคำกริยา เช่น เด๋ทจี่เตาะหมี (หมาไม่กัดแมว) ประโยคคำถามเติมคำว่า "ปัว" หรือ "หล๋อ" เข้าในประโยค คำว่า "หล๋อ" นิยมวางไว้ท้ายประโยค ส่วนคำว่า "ปัว" นิยมวางไว้หน้ากริยา เช่น เด๋เตาะหมีหล๋อ? หรือ เด๋ปัวเตาะหมี? (หมากัดแมวหรือ?)
ภาษาม้งมีการใช้คำลักษณนามโดยจะเรียงคำแบบ จำนวนนับ-ลักษณนาม-นาม เช่น อ๊อตู่เนง (สอง-ตัว-ม้า) คำลักษณนามที่สำคัญคือ "ตู่" ใช้ได้กับทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตอย่าง สัตว์ คน และต้นไม้ ส่วนคำว่า "เล่ง" (人) นั้นให้ใช้เฉพาะสำหรับคนอย่างเดียว เช่น อ๊อเล่ง (二人) (คนสองคน) "ตร๊า" ใช้กับเครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธ "ได่" ใช้กับสิ่งที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ "จ้อ" ใช้กับสิ่งที่เป็นเส้นยาว "ลู้" แปลว่า อัน/ลูก/ก้อน/คัน เช่น อ๊อลู้เช้ (รถสองคัน) "จ๋อ" ใช้กับคำนามที่มีมากกว่าหนึ่ง เช่น จ๋อเนง (ม้าหลายตัว)
ระบบการเขียน
[แก้]ไม่มีอักษรเป็นของตนเอง มีผู้สนใจภาษาม้งพยายามประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้เขียน เช่น อักษรม้ง อักษรพอลลาร์ด เมียว ที่เป็นที่นิยมแพร่หลายคืออักษรละติน ในประเทศไทยบางครั้งเขียนด้วยอักษรไทย สำหรับการเขียนด้วยอักษรละตินมี พยัญชนะที่ใช้ทั้งหมด 26 ตัว วรรณยุกต์ มี 8 และสระมี 14 ตัว ได้แก่
พยัญชนะ
[แก้]ในภาษาม้งมีทั้งหมด 57 ตัวแยกเป็น พยัญชนะตัวเดียว พยัญชนะควบกล้ำ 2 ตัว พยัญชนะควบกล้ำ 3 ตัว และพยัญชนะควบกล้ำ 4 ตัว ดังต่อไปนี้คือ
- พยัญชนะตัวเดียว มีทั้งหมด 18 ตัว t k p s x l n h m g q v r z y c f d
เทียบกับอักษรไทย ต ก ป ซ ซ ล น ฮ ม _ ก ว จ ย ย จ ฟ ด
- พยัญชนะควบกล้ำ 2 ตัว มีทั้งหมด 22 ตัว kh qh ch ts ny hn th nt np ph tx xy hl nk nr dh rh nc pl hmเหมือนhn ml nl
เทียบกับอักษรไทย ค ค ช จ ญ หน ท ด บ พ จ ซ หล ก จ ธ ช จ ปล หม หน มล นล
- พยัญชนะควบกล้ำ 3 ตัว มีทั้งหมด 14 ตัว tsh nth txh nts nph nrh hmlหรือhnl nkh nqh nch ntx npl plh hny
เทียบกับอักษรไทย ช ด ช จ จ ภ ฌ หมล หนล ฆ ฆ ฌ จ บล พล หญ
- พยัญชนะควบกล้ำ 4 ตัว มีทั้งหมด 3 ตัว ntsh ntxh nplh
เทียบกับอักษรไทย ฌ ฌ ภล
วรรณยุกต์
[แก้]วรรณยุกต์ของม้งมีทั้งหมด 7 รูป 8 เสียงดังต่อไปนี้คือ
- สั๊วบัว(suab npua) เสียงสามัญไม่มีพยัญชนะกำกับ เช่น qhia tsua ya zoo qee ntshua xyoo
- สั๊วนือ (suab nws) ใช้ตัว s เช่น ntuas tsoos nplias moos ntses qhuas
- สั๊วก้อ (suab koj) ใช้ตัว j เช่น yeej tshaj khauj noj nroj yaj phuaj phwj
- สั๊วเป๊ (suab peb) ใช้ตัว b เช่น neb coob qaub iab suab wb nyab cob
- สั๊วกู๋ (suab kuv) ใช้ตัว v เช่น qhiav ntxoov qhauv ntsev ntuav xav
- สั๊วป่อ (suab pom) ใช้ตัว m เช่น niam nyiam yuam twm nyem cuam kam
- สั๊วยอห์ (suab yog) ใช้ตัว g เช่น tog loog taug neeg lwg nag tseg yiag
- สั๊วเต๋อ (suab ntawd) ใช้ตัว d ใช้ในกรณีของการบอกทิศทางเท่านั้นเช่น ntawd tod saud haud nrad ped tid
สระ
[แก้]- ได้แก่ สระอา (a) สระอี (i) สระ เอ (e) สระอื (w) สระอู (u) สระออ (o) สระโอง (oo) สระอาง (aa) สระเอง (ee) สระเออ (aw) สระเอีย (ia) สระเอา (au) สระอัว ( ua) สระ ไอ (ai)
อ้างอิง
[แก้]- สุริยา รัตนกุล. พจนานุกรมภาษาไทย-ม้ง. กทม. โรงพิมพ์เกษมสัมพันธ์การพิมพ์. 2515
- สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธ์: ม้ง. กทม. สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท. 2538
- ศัพทานุกรมไทย-คำเมือง-ม้งขาว-กะเหรี่ยงสะกอ-มูเซอดำสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์และสัตวแพทย์เพื่อการพัฒนุณภาพชีวิตของชาวชนบท. กทม. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2530
- สุนิสา เจริญธรรมอักษร ชาวม้งเขียว บ้านแม่แรม ต.เตาปูน อ.สอง จ.แพร่