ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จาการ์ตา"

พิกัด: 6°12′S 106°49′E / 6.200°S 106.817°E / -6.200; 106.817
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 201: บรรทัด 201:


[[หมวดหมู่:เมืองในประเทศอินโดนีเซีย]]
[[หมวดหมู่:เมืองในประเทศอินโดนีเซีย]]
[[หมวดหมู่:เมืองหลวง]]
[[หมวดหมู่:เมืองหลวงในทวีปเอเชีย]]
[[หมวดหมู่:จาการ์ตา]]
[[หมวดหมู่:จาการ์ตา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:50, 20 มกราคม 2565

เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา

Daerah Khusus Ibukota Jakarta (อินโดนีเซีย)
ธงของเขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
ธง
ตราราชการของเขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
ตราอาร์ม
สมญา: 
  • J-Town
  • The Big Durian
คำขวัญ: 
Jaya Raya ("ชัยชนะและความยิ่งใหญ่")
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตาตั้งอยู่ในเกาะชวา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
Location in Java and Indonesia
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตาตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา (ประเทศอินโดนีเซีย)
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตาตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตาตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา (ทวีปเอเชีย)
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตาตั้งอยู่ในโลก
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา (โลก)
พิกัด: 6°12′S 106°49′E / 6.200°S 106.817°E / -6.200; 106.817
ก่อตั้งขึ้น22 มิถุนายน พ.ศ. 1527[1]
สถานะเมือง4 มีนาคม พ.ศ. 1621[1]
สถานะจังหวัด28 สิงหาคม พ.ศ. 1961[1]
การปกครอง
 • ประเภทเขตการปกครองพิเศษ
 • ผู้ว่าราชการAnies Baswedan
 • รองผู้ว่าการAhmad Riza Patria
 • นิติบัญญัติสภาผู้แทนประชาชนภูมิภาคจาการ์ตา
พื้นที่
 • เขตเมืองหลวงพิเศษ662.33 ตร.กม. (255.73 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล6,392 ตร.กม. (2,468 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 34 ในอินโดนีเซีย
ความสูง8 เมตร (26 ฟุต)
ประชากร
 (พ.ศ. 2563)[2]
 • เขตเมืองหลวงพิเศษ10,770,487 คน
 • อันดับที่ 6 ในอินโดนีเซีย
 • ความหนาแน่น14,464 คน/ตร.กม. (37,460 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล(ประมาณการ พ.ศ. 2558 )[3]31,689,592 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล4,958 คน/ตร.กม. (12,840 คน/ตร.ไมล์)
 • ศาสนา (พ.ศ. 2553)อิสลาม (83.68%), โปรเตสแตนต์ (8.59%), คาทอลิก (3.93%), พุทธ (3.60%), ฮินดู (0.19), ขงจื๊อ (0,01)
 • เผ่า (พ.ศ. 2553)ชวา (36.17%), เบอตาวี (28.29%), ซุนดา (14.61%), จีนอินโดนีเซีย (6.62%), บาตัก (3.42), มีนัง (2.85), มลายู (0.96), ฯลฯ
เขตเวลาUTC+07:00 (เวลาอินโดนีเซียตะวันตก)
HDIเพิ่มขึ้น 0.807 (Very High)
HDI rankที่ 1 ในอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2562)
GRP Nominalเพิ่มขึ้น$200.91 billion[4]
GDP PPP (พ.ศ. 2562)เพิ่มขึ้น$660.32 billion[4]
GDP rankที่ 1 ในอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2562)
Nominal per capitaUS$ 19,029 (พ.ศ. 2562)[4]
PPP per capitaUS$ 62,549 (พ.ศ. 2562)[4]
Per capita rankที่ 1 ในอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2562)
เว็บไซต์รัฐบาลอย่างเป็นทางการของจาการ์ตา

จาการ์ตา (อินโดนีเซีย: Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาฟียา หรือ ปัตตาเวีย (Batavia) หรือ “บัตเตเวีย” ตามพระราชนิพนธ์ “ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน” ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คนไทยในอดีตเรียก กะหลาป๋า

ประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในพื้นที่ของจาการ์ตาในปัจจุบัน เท่าที่ปรากฏคือท่าเรือเกอลาปา (Kelapa) ซึ่งเอกสารไทยโบราณเรียกว่า กะหลาป๋า ใกล้ปากแม่น้ำจีลีวุง ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากถิ่นที่ตั้งของฮินดูตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 กะหลาป๋าเป็นท่าเรือใหญ่สำหรับราชอาณาจักรฮินดู ชื่อว่าซุนดา มีการบันทึกว่าชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ไปถึงกะหลาป๋า กษัตริย์ฮินดูทรงอนุญาตให้พ่อค้าชาวโปรตุเกสสร้างป้อมที่กะหลาป๋าในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตอนต้น ท่าเรือของจาการ์ตาในปัจจุบันยังคงมีชื่อว่า ซุนดาเกอลาปา (Sunda Kelapa) ตามชื่อถิ่นฐานยุคแรก

ในพ.ศ. 2070 เมืองถูกยึดครองโดยฟาตาฮิลลอฮฺหรือฟาเลเตฮาน (Fatahillah or Faletehan) ผู้นำอายุน้อยจากอาณาจักรใกล้เคียงจากทางเหนือ ฟาตาฮิลลอฮฺได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากเกอลาปาเป็น จายาการ์ตา (Jayakarta แปลว่า "มีชัยและเจริญรุ่งเรือง" ในภาษาชวา) หรือตรงกับ "ชยะ - กฤต" ใน ภาษาสันสกฤต แปลว่า "ชัยชนะอันเกิดขึ้นสมบูรณ์แล้ว" เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2070 ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันก่อตั้งกรุงจาการ์ตา ชื่อ “จายาการ์ตา” นี้เองที่ต่อมาได้กลายมาเป็นชื่อ จาการ์ตา ในปัจจุบัน

ชาวดัตช์เข้ามาถึงจายาการ์ตาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในพ.ศ. 2162 กองกำลังของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) นำโดยยัน ปีเตอร์โซน กุน (Jan Pieterszoon Coen) ยึดครองเมืองและเปลี่ยนชื่อจายาการ์ตาเป็นบาตาฟียา (Batavia) ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของชนเผ่าที่อาศัยในเนเธอร์แลนด์ในสมัยโรมัน (เอกสารไทยในสมัยก่อน เช่นพระราชนิพนธ์ “ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน” เรียกว่าเมือง “บัตเตเวีย” ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ เมืองบัตเตเวียภายใต้การปกครองของดัตช์นี้ถึงสามครั้งใน พ.ศ. 2413, 2439 และ 2444) บาตาฟียาหรือบัตเตเวียเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East Indies) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการขยายเมืองเมื่อชาวดัตช์เริ่มย้ายไปทางใต้ ไปที่พื้นที่สูงที่คาดว่ามีความอุดมสมบูรณ์กว่า ชาวอังกฤษยึดครองชวาใน พ.ศ. 2354 และครองอยู่ 5 ปีระหว่างที่เนเธอร์แลนด์ทำสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars) ในยุโรป ก่อนคืนให้ดัตช์

หลังจากที่การปกครองโดยตรงของเนเธอร์แลนด์ขยายไปทั่วทั้งหมู่เกาะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ตอนต้น ความสำคัญของบาตาฟียาได้เพิ่มขึ้น กลยุทธ์ของดัตช์ที่จะยังคงอำนาจและรายได้ภาษี ทำให้การส่งออกจากพื้นที่ใด ๆ ในภูมิภาคแทบทั้งหมดจะต้องผ่านบาตาฟียา ทำให้เมืองมีความสำคัญทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจตราบจนถึงปัจจุบัน

ประเทศญี่ปุ่นยึดครองบาตาฟียาในพ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเปลี่ยนชื่อเมืองโดยกลับมาใช้ชื่อ จาการ์ตา เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากคนในท้องถิ่น หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามใน พ.ศ. 2488 กองกำลังชาวดัตช์กลับเข้ายึดครองเมืองอีกครั้งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ชาวอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชไปก่อนแล้วในช่วงปลายสงคราม เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 จาการ์ตาเป็นศูนย์กลางของความพยายามของชาวดัตช์ที่จะยังคงอำนาจเหนืออาณานิคมเดิมระหว่างสงครามเอกราชอินโดนีเซีย ซึ่งยุติลงด้วยการรับรองการก่อตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเต็มรูปแบบเมื่อ พ.ศ. 2492

ภูมิประเทศ

ภาพพาโนรามากรุงจาการ์ตา

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของJakarta
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.5
(88.7)
32.3
(90.1)
32.5
(90.5)
33.5
(92.3)
33.5
(92.3)
34.3
(93.7)
33.3
(91.9)
33.0
(91.4)
32.0
(89.6)
31.7
(89.1)
31.3
(88.3)
32.0
(89.6)
32.6
(90.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 24.2
(75.6)
24.3
(75.7)
25.2
(77.4)
25.1
(77.2)
25.4
(77.7)
24.9
(76.8)
25.1
(77.2)
24.9
(76.8)
25.5
(77.9)
25.5
(77.9)
24.9
(76.8)
24.9
(76.8)
24.8
(76.6)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 389.7
(15.343)
309.8
(12.197)
100.3
(3.949)
257.8
(10.15)
139.4
(5.488)
83.1
(3.272)
30.8
(1.213)
34.2
(1.346)
30.0
(1.181)
33.1
(1.303)
175.0
(6.89)
123.0
(4.843)
1,706.2
(67.173)
ความชื้นร้อยละ 85 85 83 82 82 81 78 76 75 77 81 82 81
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 26 20 15 18 13 17 5 5 6 9 22 12 168
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 189 182 239 255 260 255 282 295 288 279 231 220 2,975
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization[5]
แหล่งที่มา 2: Danish Meteorological Institute (sun and relative humidity)[6]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "Profil Daerah > DKI Jakarta" (ภาษาอินโดนีเซีย). Ministry of Home Affairs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2013. สืบค้นเมื่อ 14 August 2019.
  2. "Data Jumlah Penduduk DKI Jakarta". Jakarta Open Data. Pemerintah Provinsi DKI Jakarta, Dinas Kependudukan dan Catatan Sipil. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 5 December 2015.
  3. see sum from table
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Indonesia". Badan Pusat Statistik. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
  5. "World Weather Information Service – Jakarta". World Meteorological Organization. June 2011. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013.
  6. Cappelen, John; Jensen, Jens. "Indonesien - Jakarta, Java" (PDF). Climate Data for Selected Stations (1931-1960) (ภาษาเดนมาร์ก). Danish Meteorological Institute. p. 128. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น