นูซันตารา (เมือง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นูซันตารา

Nusantara
เมืองในอนาคต
นครหลวงนูซันตารา
Ibu Kota Nusantara
นูซันตาราตั้งอยู่ในกาลีมันตัน
นูซันตารา
นูซันตารา
นูซันตาราตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
นูซันตารา
นูซันตารา
พิกัด: 1°03′40″S 116°40′50″E / 1.06111°S 116.68056°E / -1.06111; 116.68056พิกัดภูมิศาสตร์: 1°03′40″S 116°40′50″E / 1.06111°S 116.68056°E / -1.06111; 116.68056
ประเทศธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
การปกครอง
 • องค์กรองค์การเมืองหลวงนูซันตารา
 • หัวหน้าบัมบัง ซูซันโตโน
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด2,561.42 ตร.กม. (988.97 ตร.ไมล์)
 • พื้นที่กลางเมือง561.80 ตร.กม. (216.91 ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+08:00
Area code(+62) 542
เว็บไซต์ikn.go.id

นูซันตารา (อินโดนีเซีย: Nusantara) เป็นเขตเมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ในขั้นตอนการวางแผนและก่อสร้าง ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ในอนาคตเมืองนี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการปกครองของอินโดนีเซียแทนจาการ์ตา[2][3] นูซันตาราจะได้รับการยกสถานะเป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซียในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2567[4]

คาดกันว่าการก่อสร้างนูซันตาราจะเริ่มต้นหลังเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565[5] ในขั้นต้น แรงงานกว่า 100,000 คนจากทั่วประเทศอินโดนีเซียจะถูกส่งไปยังนูซันตารา[6]

ชื่อ[แก้]

คำว่า "นูซันตารา" เป็นคำควบในภาษาชวา โดยคำว่า "นูซา" ในภาษาชวาโบราณหมายถึง "หมู่เกาะ" ส่วนคำว่า "อันตารา" แปลว่า "นอก" ดังนั้น คำว่า "นูซันตารา" จึงสามารถแปลได้คร่าว ๆ ว่า "หมู่เกาะรอบนอก" หมายถึงหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย แต่เดิมนั้น คำนี้ใช้กล่าวถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชปาหิต บริเวณประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน[7][8]

ชื่อเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซียได้รับการตั้งให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระดับชาติที่เรียกว่า วาวาซันนูซันตารา แปลว่า "วิสัยทัศน์แห่งหมู่เกาะอินโดนีเซีย" นอกจากนี้ การตั้งชื่อเมืองหลวงใหม่ว่านูซันตารายังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นรัฐหมู่เกาะของอินโดนีเซียอีกด้วย[2]

ประวัติ[แก้]

การย้ายเมืองหลวง[แก้]

โจโกวีและผู้ว่าราชการจังหวัดกาลีมันตันตะวันออกยืนสังเกตการณ์บริเวณที่จะมีการสร้างเมืองนูซันตารา

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 รัฐบาลของโจโก วีโดโด (โจโกวี) ได้พิจารณาย้ายเมืองหลวงจากจาการ์ตาไปที่อื่น โดยมีแผนจะประเมินที่ตั้งสำหรับเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซียให้เสร็จภายในสิ้น พ.ศ. 2560 ตามรายงานอย่างเป็นทางการจากกระทรวงวางแผนพัฒนาแห่งชาติของอินโดนีเซีย ระบุไว้ว่า รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซียออกจากเกาะชวา[9] ไม่นานหลังจากประกาศแผนย้ายเมืองหลวง โจโกวีก็ได้ไปเยือนสถานที่สองแห่งบนเกาะกาลีมันตัน ได้แก่ บูกิตโซฮาร์โตในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก และบริเวณสามเหลี่ยมใกล้ปาลังการายา ในจังหวัดกาลีมันตันกลาง[10] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ได้มีการประกาศแผน 10 ปีเพื่อย้ายส่วนราชการทั้งหมดไปยังเมืองหลวงใหม่[11] กระทรวงวางแผนพัฒนาแห่งชาติแนะนำให้ตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่ที่จังหวัดกาลีมันตันใต้ จังหวัดกาลีมันตันกลาง หรือจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วนในการตั้งเมืองหลวงใหม่ รวมทั้งค่อนข้างปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โจโกวีได้ยื่นจดหมายประธานาธิบดีหมายเลข R-34/Pres/08/2019 ซึ่งมีคำสั่งสองฉบับที่ส่งมาด้วย: (1) รายงานการศึกษาของประธานาธิบดีเกี่ยวกับการย้ายเมืองหลวง และ (2) คำร้องขอการสนับสนุน DPR สำหรับการย้ายเมืองหลวง[12] ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ที่รัฐสภาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โจโกวีได้ประกาศแผนการที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังกาลีมันตัน

การออกแบบและผังเมือง[แก้]

รัฐบาลอินโดนีเซียได้จัดการแข่งขันออกแบบเมืองหลวงใหม่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม จนถึงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยงานออกแบบที่ชนะเลิศ คือ "ประเทศแห่งหมู่เกาะป่าไม้" (Nagara Rimba Nusa, "Forest Archipelagic Country") ออกแบบโดยกลุ่ม URBAN+[13] รัฐบาลอินโดนีเซียได้ร่วมมือกับผู้ชนะเลิศอันดับ 1 จนถึงผู้ชนะเลิศอันดับ 3 และร่วมมือกับนักออกแบบจากต่างประเทศ เพื่อออกแบบและพัฒนาผังเมืองหลวงใหม่[14] มีนักออกแบบจากประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐ เสนอเข้าร่วมโครงการนี้[15]

การคมนาคม[แก้]

ในอนาคต จะมีการสร้างท่าอากาศยานที่เมืองเปนาจัมเพื่อใช้เป็นท่าอากาศยานหลักของเมืองนูซันตารา[16][17][18] นอกจากนี้ จะมีการสร้างทางด่วนเพื่อเชื่อมต่อท่าอากาศยานและศูนย์ราชการในเมืองนูซันตาราด้วย ทางด่วนดังกล่าวจะมีความยาว 47 กิโลเมตร[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. Media, Kompas Cyber. "Berapa Luas Cakupan Wilayah IKN Nusantara?". KOMPAS.com.
  2. 2.0 2.1 "Nusantara Becomes The Name Of The New Capital City, This Is What It Means". VOI.id. 2022-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-19. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
  3. "Nusantara Is the Name of Indonesia's New Capital". TheIndonisia.id. 2022-01-17. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
  4. "Explained: Why Nusantara has been selected as the new capital of Indonesia". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-19.
  5. Hamdani, Trio (2022-02-03). "Konstruksi Ibu Kota Baru Dimulai Setelah Juli 2022". detikfinance (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-02-02.
  6. Shobah, Rita Noor (2022-05-24). "Pembangunan IKN Nusantara Segera Dimulai, 100 Ribu Tenaga Kerja Mulai Pindah ke PPU pada Juli 2022". Tribun Kaltim (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-06-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Nusantara". Kamus Besar Bahasa Indonesia (3 ed.). Badan Pengembangan dan Pembinaan Bahasa. 2016.
  8. Rais, Mohamed Amien; Ng, Taryn; Irwan, Omar; Najib, Muhammad (2004). Putra Nusantara: Son of the Indonesian Archipelago (ภาษาอังกฤษ). Singapore: Stamford Press. ISBN 9810499078.
  9. "Indonesia studies new sites for capital city". The Jakarta Post. Jakarta. 10 April 2017.
  10. Gorbiano, Marchio Irfan (26 August 2019). "BREAKING: Jokowi announces East Kalimantan as site of new capital". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 26 August 2019.
  11. "Indonesia to move capital city". BBC. 29 April 2019. สืบค้นเมื่อ 29 April 2019.
  12. Astuti, Nur Azizah Rizki (2019-08-27). "Surat Jokowi soal Ibu Kota Baru Dibacakan di Paripurna DPR". detiknews (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. Maulia, Erwida (23 December 2019). "'Forest Archipelago' wins design contest for new Indonesia capital". Nikkei Asian Review. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  14. "'Nagara Rimba Nusa' announced as winner of new capital city design contest". The Jakarta Post. 23 December 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  15. Nasution, Rahmad (3 January 2020). "Three countries offer to design Indonesia's new capital". Antara News. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  16. "Menteri Perhubungan Tinjau Calon Bandara Ibu Kota Negara di Penajam". Pikiran Rakyat (ภาษาอินโดนีเซีย). February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
  17. "Respon Plt Bupati Hamdam Soal Bandara Ibu Kota Negara dan Menhub Budi ke Titik Nol". Tribun News (ภาษาอินโดนีเซีย). February 2022.
  18. "Kemenhub Siapkan Calon Bandara Baru untuk Ibu Kota Negara". Langgam (ภาษาอินโดนีเซีย). March 2022.
  19. Laksono, Muhdany Yusuf (2022-01-21). Alexander, Hilda B (บ.ก.). "Menilik Rencana Pembangunan Jalan di IKN Nusantara, Ada Tol Lintasi Teluk Halaman all". สืบค้นเมื่อ 2022-01-31.