ข้ามไปเนื้อหา

ชุดตัวอักษรอุยกูร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชุดตัวอักษรอุยกูร์ เริ่มแรกภาษาอุยกูร์เขียนด้วยอักษรออร์กอนซึ่งเป็นอักษรรูน อักษรอุยกูร์นี้พัฒนามาจากชุดตัวอักษรซอกเดียที่มาจากชุดตัวอักษรแอราเมอิกอีกต่อหนึ่ง ใช้ในระหว่าง พ.ศ. 1300–2100 อักษรนี้ต่างจากอักษรซอกเดียคือเขียนในแนวตั้งจากซ้ายไปขวา (ในขณะที่อักษรซอกเดียเขียนจากขวาไปซ้าย แนวนอน) โดยหมุนรูปอักษรไป 90 องศา ต่อมาช่วง พ.ศ. 2100–2500 ภาษาอุยกูร์เขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลงที่เรียกชะกะไต หลังจากนั้นได้นำอักษรละตินและอักษรซีริลลิกมาใช้ แต่อักษรละตินไม่เป็นที่นิยมมากนัก พ.ศ. 2530 อักษรอาหรับได้รับการยกฐานะเป็นอักษรราชการสำหรับภาษาอุยกูร์ในจีน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]