ข้ามไปเนื้อหา

ชุดตัวอักษรอิสมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุดตัวอักษรอิสมาน
𐒍𐒖𐒇𐒂𐒖 𐒋𐒘𐒈𐒑𐒛𐒒𐒕𐒖
ชนิด
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาโซมาลี
ISO 15924
ISO 15924Osma (260), ​Osmanya
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Osmanya
ช่วงยูนิโคด
U+10480–U+184AF
เครื่องพิมพ์ดีดที่มีอักษรอิสมานจากบริติชโซมาลีแลนด์

ชุดตัวอักษรอิสมาน (โซมาลี: Farta Cismaanya, 𐒍𐒖𐒇𐒂𐒖 𐒋𐒘𐒈𐒑𐒛𐒒𐒕𐒖) มีอีกชื่อว่า ฟาร์ซอมาลี (𐒍𐒖𐒇 𐒘𐒝𐒈𐒑𐒛𐒘, "ระบบการเขียนโซมาลี") และในภาษาอาหรับว่า อัลกิตาบะฮ์ อัลอุษมานียะฮ์ (الكتابة العثمانية; "ระบบการเขียนอุษมาน") เป็นอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นในช่วง ค.ศ. 1920 ถึง 1922 โดยอิสมาน ยูซุฟ เคนาดีด (Cismaan Yuusuf Keenadiid) โอรสในสุลต่านยูซุฟ อาลี เคนาดีด และพระอนุชาในสุลต่านอาลี ยูซุฟ เคนาดีด แห่งรัฐสุลต่านฮอบยอ เพื่อใช้เขียนภาษาโซมาลี

ประวัติ

[แก้]
อิสมาน ยูซุฟ เคนาดีด

ในขณะที่อักษรอิสมานได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางพอสมควรในประเทศโซมาเลีย และมีการผลิตวรรณกรรมจำนวนมากอย่างรวดเร็ว แต่เป็นเรื่องยากที่อักษรนี้จะแพร่หลายในหมู่ประชากร เนืองจากการแข่งขันที่รุนแรงกับอักษรอาหรับที่ดำรงมาอย่างยาวนาน กับชุดตัวอักษรละตินโซมาลีที่เกิดขึ้นใหม่ ได้รับการพัฒนาโดยนักวิชาการภาษาโซมาลีชั้นนำ เช่น Musa Haji Ismail Galal, B. W. Andrzejewski และ Shire Jama Ahmed[1][2]

เมื่อความรู้สึกชาตินิยมเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากภาษาโซมาเลียสูญเสียอักษรโบราณไปนานแล้ว[3] การนำระบบการเขียนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมาปรับใช้สำหรับภาษาโซมาลีกลายเป็นประเด็นสำคัญของการสนทนา หลังเป็นเอกราช การพูดคุยในเรื่องนี้ไม่ค่อยมีความก้าวหน้า เนื่องมีความเห็นต่างกันว่าควรใช้อักษรอาหรับหรืออักษรละตินในการเขียนภาษานี้

เนื่องด้วยความเรียบง่ายของอักษรละติน การรองรับเสียงในภาษานี้ทั้งหมด และการมีอยู่ของเครื่องจักรและเครื่องพิมพ์ดีดที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานอย่างกว้างขวาง[4][5] ทำให้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1972 ประธานาธิบดีมาฮัมเหม็ด ซิยาด บาร์รี ต้องการให้ใช้อักษรละตินในการเขียนภาษาโซมาลีแทนอักษรอาหรับหรืออิสมาน[6]

ระบบการเขียนอักษรอิสมานสำหรับภาษาโซมาลี

รายละเอียด

[แก้]

อักษรอิสมานเขียนและอ่านจากซ้ายไปขวา ชื่อตัวอักษรอิงมาจากชื่ออักษรในอักษรอาหรับ และสระยาว uu และ ii แทนที่ด้วยอักษร waaw และ yaa ตามลำดับ

อักษร

[แก้]
อิสมาน ชื่อ อักษรละติน สัทอักษรสากล อิสมาน ชื่อ อักษรละติน สัทอักษรสากล อิสมาน ชื่อ อักษรละติน สัทอักษรสากล
𐒀 alef ʼ [ʔ] 𐒁 ba b [b] 𐒂 ta t [t]
𐒃 ja j [d͡ʒ] 𐒄 xa x [ħ] 𐒅 kha kh [χ]
𐒆 deel d [d] 𐒇 ra r [r] 𐒈 sa s [s]
𐒉 shiin sh [ʃ] 𐒊 dha dh [ɖ] 𐒋 cayn c [ʕ]
𐒌 ga g [ɡ] 𐒍 fa f [f] 𐒎 qaaf q [q]
𐒏 kaaf k [k] 𐒐 laan l [l] 𐒑 miin m [m]
𐒒 nuun n [n] 𐒓 waw, uu w, uu [w, ʉː, ] 𐒔 ha h [h]
𐒕 ya, ii y, ii [j, , ɪː] 𐒖 a a [æ, ɑ] 𐒗 e e [e, ɛ]
𐒘 i i [i, ɪ] 𐒙 o o [ɞ, ɔ] 𐒚 u u [ʉ, u]
𐒛 aa aa [æː, ɑː] 𐒜 ee ee [, ɛː] 𐒝 oo oo [ɞː, ɔː]

ตัวเลข

[แก้]
หน่วย 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
อิสมาน 𐒠 𐒡 𐒢 𐒣 𐒤 𐒥 𐒦 𐒧 𐒨 𐒩

อ้างอิง

[แก้]
  1. Abdullahi, Mohamed Diriye (2001). Culture and Customs of Somalia (ภาษาอังกฤษ). Greenwood Publishing Group. p. 73. ISBN 978-0-313-31333-2.
  2. Lewis, I. M. (1999). A Pastoral Democracy: A Study of Pastoralism and Politics Among the Northern Somali of the Horn of Africa (ภาษาอังกฤษ). James Currey Publishers. ISBN 978-0-85255-280-3.
  3. Ministry of Information and National Guidance, Somalia, The writing of the Somali language, (Ministry of Information and National Guidance: 1974), p.5
  4. Andrew Simpson, Language and National Identity in Africa, (Oxford University Press: 2008), p.288
  5. Economist Intelligence Unit (Great Britain), Middle East annual review, (1975), p.229
  6. Mohamed Diriye Abdullahi, Culture and Customs of Somalia, (Greenwood Press: 2001), p.73

ข้อมูล

[แก้]
  • I.M. Lewis (1958) Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London, Vol. 21 pp 134–156.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]