จักรวรรดิมองโกล
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
จักรวรรดิมองโกล ᠶᠡᠬᠡ ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠯᠤᠰ Ikh Mongol Uls | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1206–ค.ศ. 1368 | |||||||||||||||||
ธงชาติ | |||||||||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||||||||
เมืองหลวง | อาวาก้า คาราโคลัม (ปัจจุบันคือKharkhorin) | ||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป |
| ||||||||||||||||
ศาสนา | ลัทธิเตงกรี (นับถือเชมัน) ศาสนาพุทธ, อิสลาม, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่นในเวลาต่อมา | ||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง, ต่อมาเป็นราชาธิปไตยโดยสืบราชสันตติวงศ์ | ||||||||||||||||
ข่านผู้ยิ่งใหญ่ (จักรพรรดิ[หมายเหตุ 1]) | |||||||||||||||||
• ค.ศ. 1206–1227 | เจงกีส ข่าน | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1229–1241 | โอเกได ข่าน | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1246–1248 | กูยุก ข่าน | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1251–1259 | มองเกอ ข่าน | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1260–1294 | กุบไล ข่าน | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1333–1370 | ทอคอน ตีมูร์ ข่าน | ||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | คุรัลไต | ||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||
• เจงกีส ข่านรวบรวมชนเผ่าและสถาปนารัฐมองโกล | ค.ศ. 1206 | ||||||||||||||||
• เจงกีส ข่านสิ้นพระชนม์ | ค.ศ. 1227 | ||||||||||||||||
• ช่วงสันติภาพแห่งมองโกล | ค.ศ. 1210–1350 | ||||||||||||||||
• จักรวรรดิแตกแยก | ค.ศ. 1260–1264 | ||||||||||||||||
• ราชวงศ์หยวนล่มสลาย | ค.ศ. 1368 | ||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||
ไม่ทราบ | 4,000,000 ตารางกิโลเมตร (1,500,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||
1227 | 12,000,000 ตารางกิโลเมตร (4,600,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||
1294 | 23,500,000 ตารางกิโลเมตร (9,100,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||
1309 | 24,000,000 ตารางกิโลเมตร (9,300,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||
สกุลเงิน | หลายประเภท[หมายเหตุ 2] | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ |
จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; อังกฤษ: Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ
จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน ค.ศ. 1206 จักรวรรดิเติบโตอย่างรวดเร็วภายใต้การปกครองของเขาและภายใต้ผู้สืบเชื้อสายของเขาต่อ ๆ มา ซึ่งส่งการบุกครองไปทุกสารทิศ จักรวรรดิข้ามทวีปไพศาลนี้เชื่อมตะวันออกกับตะวันตกด้วยสันติภาพมองโกลซึ่งบังคับใช้ ทำให้การค้า เทคโนโลยี โภคภัณฑ์และอุดมการณ์แพร่หลายและมีการแลกเปลี่ยนทั่วยูเรเชีย
เจงกิสข่าน
[แก้]หลังจากได้รับตำแหน่งเจงกิสข่าน เจงกิสข่านก็ได้ทำการขยายอาณาจักรโดยสามารถพิชิตอาณาจักรเหลียว อาณาจักรซีเซี่ยและอาณาจักรจิน "หรือเมืองกิม" ปีคริสต์ศักราช 1219 เจงกิสข่านก็เริ่มยกทัพไปทางตะวันตกถึงเอเชียกลางและยุโรป และได้พิชิตไปทั่วทวีปเอเซีย เอเซียกลางจนถึงทวีปยุโรป ต่อมาปีคริสต์ศักราช 1227 เจงกิสข่านสวรรคตด้วยอาการประชวรระหว่างเดินทัพ ณะมีพระชนมายุ 65 พรรษา สุสานของพระองค์อยู่ที่ใดยังคงเป็นปริศนากระทั่งถึงทุกวันนี้
มองโกลกับชนชาติตะวันตก
[แก้]อิตาลี
[แก้]ในปี ค.ศ. 1246 กองทัพมองโกล เข้าโจมตีเมืองแคฟฟาของอิตาลี กองทัพของมองโกลตั้งทัพอยู่นอกกำแพงอยู่นานไม่อาจเข้าโจมตีเข้าไปในค่ายได้ ต่อมาเกิดกาฬโรคหรือโรคห่าระบาดในกองทัพของมองโกล ทหารล้มตายเป็นเบือศพทหารกองท่วมค่าย แต่แทนที่จะมีการนำศพนั้นไปฝังหรือเผา แม่ทัพมองโกลกลับมีความคิดที่ดีกว่านั้น ด้วยการนำศพทหารที่ตายด้วยโรคห่าใช้แทนก้อนหินเข้าเครื่องยิงข้ามเข้าไปในกำแพงเมืองแคฟฟา คนในเมืองแตกตื่นกับสภาพศพที่เห็น ที่ทั้งเนื้อทั้งตัวเป็นตุ่มพุพองช้ำเลือดช้ำหนองเน่าแฟะ หนำซ้ำเชื้อโรคยังระบาดสู่ชาวเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือรอดก็พากันหนีออกไปนอกเมือง จนในที่สุดไม่อาจต้านอาวุธเชื้อโรคของมองโกลได้เมืองจึงแตก
หลังจากที่เมืองแคฟฟา อิตาลีแตก กองทัพมองโกลจึงเคลื่อนทัพเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน เข้าโจมตีหมู่เกาะซิซิลี และยุโรปตะวันออกด้วยวิธีการเดียวกัน เพียงแค่ในเวลา 3 ปีในการทำสงคราม คาดว่ามีผู้คนล้มตายด้วยกาฬโรคไม่ต่ำกว่า 25 ล้านคน
นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการนำอาวุธเชื้อโรคเข้ามาทำสงคราม และถือว่าเป็นวิธีการที่ชาญฉลาดที่สุดในหน้าหนึ่งเท่าที่ประวัติศาสตร์เคยบันทึกเอาไว้
การสู้รบระหว่างมองโกลกับอียิปต์
[แก้]ฮูลากู (หลานชายคนหนึ่งของเจงกิสข่าน) ปกครองอาณาจักรมองโกลอิลข่านตอนช่วงนี้อยู่ระหว่างสมัยของมังกุข่าน นอกจากนั้นแล้วเขายังเป็นคนที่คุ้มดีคุ้มร้ายด้วย โดกุซ คอดูน ภรรยาของเขาซึ่งเป็นคริสเตียนในเผ่าเคเรสต์จึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธิพลในราชสำนัก ในปี ค.ศ. 1258 ฮูลากูได้ยกทัพมาทำลายนครบัฆดาดจนราพณาสูร และประชาชนชาวบัฆดาดทุกคนยกเว้นคริสเตียนถูกฆ่าตายหมด หลังจากนั้น ฮูลากูก็ถอนทัพกลับไปยังเมืองหลวงใกล้ทะเลสาบอูรมีอะฮฺในทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิรอน โดยมอบความไว้วางใจในการปฏิบัตการทางทหารในขั้นต่อไปให้กับขุนทัพเจนศึกของเขาชื่อ คิตบูกา เป็นผู้รับผิดชอบ หลังจากนั้นดินแดนและเมืองต่าง ๆ ของมุสลิมถูกพวกมองโกลตีรุกครั้งแล้วครั้งเล่าและสถานการณ์ของประเทศมุสลิมในเอเชียตะวันตกก็มีทีท่าว่าจะเลวร้ายยิ่งขึ้น เพราะปรากฏว่าพวกมองโกลและพวกคริสเตียนได้รวมกำลังกันเข้ารุมตีมุสลิม ดังจะเห็นได้จากเมื่อตอนที่พวกมองโกลยกทัพมาทำลายเมืองบัฆดาดนั้น กษัตริย์คริสเตียนแห่งจอร์เจีย และอาร์มีเนียก็มีส่วนร่วมด้วย และในตอนที่กองทัพของพวกเหล่านี้ยกเข้ามาในซีเรียนั้น พวกมองโกลก็ได้เสนอให้พวกครูเสดเป็นพันธมิตรกับตนในการต่อสู้กับมุสลิม
อาศัยความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของตนเอง พวกมองโกลมีปรัชญาการเมืองอย่างง่าย ๆ ว่า เพื่อนของตนจะต้องเป็นบริวารของตน และคนที่ไม่ยอมเป็นบริวารนั้นคือศัตรู กษัตริย์แห่งจอร์เจียและอาร์มีเนียได้ยอมรับอธิปไตยของพวกมองโกล แต่พวกขุนนางคริสเตียนไม่ยอมรับสภาพเช่นนั้นด้วย พวกขุนนางเหล่านี้ได้สังเกตว่าพวกมองโกลนั้นคิดแต่จะพิชิตซึ่งท่าเดียว และพวกนี้ก็เคยทำทารุณกับคนคริสเตียนในทางยุโรปตะวันออกเหมือนกับที่เคยทำกับคนมุสลิมมาแล้ว นอกจากนั้น พวกขุนนางคริสเตียนยังได้สังเกตเห็นว่า พวกเจ้าชายและเจ้าหญิงมองโกลซึ่งเป็นคริสเตียนนั้นเป็นพวกนิกายเนสโทเรียนและมีทีท่าว่าจะสนับสนุนพวกกรีกออร์โธดอกซ์ในการต่อต้านพวกโรมันคาทอลิก เมื่อรู้ดังนี้ พวกครูเสดจึงถอนตัวออกจากความเป็นพันธมิตรกับพวกมองโกล กองทหารของคิตบูกาและกองทหารคริสเตียนแห่งจอร์เจีย อาร์มีเนีย และอันติออค ได้รุกเข้าไปในซีเรียและฟิลิสตีน (ปาเลสไตน์) โดยมีพวกคริสเตียนในท้องถิ่นให้การสนับสนุน นี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ที่มุสลิมในอาณาเขตนี้พบว่าตัวเองกลายเป็นคนกลุ่มน้อยที่กำลังถูกกดขี่ปราบปราม ดังนั้น พวกนี้จึงคิดที่จะต่อต้านแก้แค้นพวกมองโกลขึ้นมาบ้าง
ถึงแม้ความหวังจะน้อยก็ตาม แต่พวกมุสลิมเองก็ยังมีความคิดที่จะต่อต้านมองโกลอยู่ ในทางตะวันตกขณะนั้น ปรากฏว่าอียิปต์ซึ่งมีสภาพคล้ายกับรัฐทหารภายใต้การนำของ ซัยฟุคดีน กุตูซ ได้กลายเป็นแหล่งลี้ภัยของพวกมุสลิมที่หลบลี้หนีภัยมาจากที่ต่าง ๆ ทั้งนี้รวมทั้งบรรดาหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ และบรรดาทหารทั้งหลายด้วย
อัยบัค ซึ่งเป็นพวกมัมลุ้กและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์มัมลุก (หรือราชวงศ์ทาส) แห่งอียิปต์ขึ้น ได้ปกครองอียิปต์ตั้งแต่ ค.ศ. 1250-1257 (พ.ศ. 1793-1800) หลังจากที่เกิดสภาวะว่างผู้นำอยู่ระยะหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1259 (พ.ศ. 180) กุตูซ ซึ่งเป็นมัมลู้กอีกคนหนึ่งก็ก้าวขึ้นมามีอำนาจ กุตูซเป็นคนที่กล้าหาญและเฉลียวฉลาด และได้รับการฝึกการอบรมมาจากโรงเรียนทหารของ อัสซอลิฮฺ อัยยูบ ในสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำไนล์ นอกจากตัวเขาแล้ว หัวหน้าที่ปรึกษาของเขาคือ บัยบัรฺ อัล-บันดุคดารี ซึ่งเป็นพวกมัมลู้กอีกคนหนึ่ง คน ๆ นี้ยิ่งมีความกล้าหาญและเหี้ยมเกรียมยิ่งกว่าเขาเสียอีก ทั้ง 2 คนได้รับบรรดาพวกที่หนีภัยมาไว้ทั้งหมด เพราะพวกเขากำลังต้องการกำลังทหาร จริงอยู่ ถึงแม้นักรบมัมลู้กจะเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพก็ตามแต่ก็มีจำนวนน้อย แต่ทหารที่หนีมาจากซีเรียและแม้แต่ที่หนีมาจากอาณาจักรควาริซมีก็ยอมอยู่ใต้ผู้นำมัมลู้ก ดังนั้น กุตูซจึงมีกำลังรบพร้อมที่จะรับมือกับพวกมองโกลถ้าหากว่าพวกนั้นยกมา พวกมองโกลเข้ามาเร็วเกินกว่าที่กุตูซคาดไว้ ขณะที่ทหารจากเมืองต่าง ๆ กำลังทยอยเข้ามาหลบภัยในอียิปต์นั้น พวกมองโกลได้ส่งทูตของตนเข้ามายื่นคำขาดให้ผู้ปกครองอียิปต์ยอมจำนนต่อพวกตน กุตูซ จึงได้เรียกประชุมสภาขุนศึกทันที นะซีรุดดีน คอยมารี ซึ่งเป็นทหารชาวซีเรียคนหนึ่งและรู้จักพวกมองโกลเป็นอย่างดีได้เสอให้รบกับพวกมองโกล เพราะเขารู้ดีว่าพวกมองโกลนั้นจะทำสัญญาก็เพื่อให้ข้าศึกตายใจเท่านั้น บัยบัรฺก็เห็นด้วยกับความคิดนี้อย่างเต็มที่ หลังจากที่ตกลงกันแล้ว กุตูซก็ได้รับมอบอำนาจเต็มในการที่จะจัดการกับพวกมองโกล หลังจากการประชุม กุตูซและบัยบัรฺได้ปรึกษาหารือเป็นการส่วนตัวตามลำพังเพียง 2 คน เพราะเขายังสงสัยว่าพวกซีเรียจะยืนอยู่ได้นานขนาดไหนเมื่อต้องประจัญหน้ากับพวกมองโกล และจะทำอย่างไรในอันที่จะป้องกันมิให้พวกทหารซีเรียหนีศึก บัยบัรฺจึงเสนอความคิดหนึ่งขึ้นมา และกุตูซก็ยอมรับ
วันรุ่งขึ้น ชาวเมืองไคโรก็ได้เห็นศพคนนำสารของพวกมองโกลถูกแขวนอยู่ 4 มุมเมือง เมื่อพวกซีเรียเห็นก็รู้ทันทีว่าขณะนี้กุตูซได้ท้าทายพวกมองโกลโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว และพวกซีเรียก็รู้ดีว่าพวกตนจะต้องรบกับพวกมองโกลอย่างไม่มีทางเลี่ยงแน่ เพราะถึงจะหนีไปไกลถึงฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก พวกมองโกลก็จะต้องตามไปฆ่าพวกตนเป็นการแก้แค้นแน่นอน ดังนั้พวกซีเรียจึงตัดสินใจที่จะเผชิญหน้ากับพวกมองโกลอย่างเต็มที่ แต่ก็มีพวกหัวหน้าบางคนเท่านั้นที่ไม่กล้าเผชิญหน้ากับพวกมองโกล และกุตูซก็ยอมให้พวกขี้ขลาดเหล่านี้หนีไปทางตะวันตกหรือทางใต้ ขณะที่ยังมีเวลา แต่ก็มีเงื่อนไขว่าจะต้องทิ้งทหารของตนไว้ที่อียิปต์ กุตูซจัดการเตียมทัพอย่างรวดเร็ว โดยให้บัยบัรฺคุมกองทัพส่วนหนึ่งพร้อมกับทหารม้ามัมลู้กเป็นกองระวังหน้า ส่วนกุตูซคุมกองกำลังทหารมัมลู้กส่วนที่เหลือพร้อมกับทหารอื่น ๆ ที่หนีมาหลบภัยในอียิปต์มุ่งหน้าจากโอซุสสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อเขามาถึงพรมแดนอียิปต์พวกทหารและผู้คนที่หนีมาก็ปฏิเสธที่จะเดินหน้าต่อไป เพราะพวกนี้ต้องการที่จะให้ต่อสู้กับพวกมองโกลในอียิปต์ กุตูซรู้สึกโกรธมาก แม้เขาจะทั้งขู่ทั้งปลอบอย่างไรก็ตามก็ไม่บังเกิดผล ดังนั้น เขาจึงประกาศว่า เขาจะต่อสู้กับพวกศัตรูนอกศาสนาด้วยกองกำลังของเขาเอง และถ้าหากใครผู้ใดต้องการที่จะหนีไปไหนก็มีสิทธิที่จะไปได้ หลังจากนั้นเขาก็พาทหารมัมลู้กเดินทัพมุ่งหน้าออกไปทันที พวกซีเรียและพวกอื่น ๆ ส่วนหนึ่งที่เกิดความรู้สึกละอายใจ และส่วนหนึ่งเกิดความรู้สึกที่ประทับใจในความเป็นผู้นำของกุตูซจึงได้ตามเขาไป ในไม่ช้ากองทัพของกุตูซก็มาถึงหน้ากาซา โดยปกติแล้วพวกมองโกลนั้นจะเคลื่อนที่เร็วกว่าศัตรูของตนเสมอแต่ตอนนี้ กุตูซได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเร็วกว่า ดังนั้น กองทัพย่อยของพวกมองโกลจึงได้ถอนตัวออกจากกาซาเพื่อถอยไปรวมพลกับกองทัพหลัก เนื่องจากพวกคริสเตียนอนุญาตให้เดินทัพผ่านเขตแดนของตนได้ ดังนั้นกุตูซจึงได้เดินทัพเลียบไปตามชายฝั่งขึ้นไปยังซีซาเรีย (Caesarea) แล้วเลี้ยวมาทางตะวันออกผ่านหุบเขาแห่งแม่น้ำ "ไคซอน" ข้ามทุ่งราบเมกิดโดและเข้าไปยังแม่น้ำญาลูต กองทหารม้าเคลื่อนที่เร็วของบัยบัรฺได้เข้าโจมตีค่ายของพวกมองโกลและสามารถยังความเสียหายให้แก่พวกมองโกลได้ส่วนหนึ่ง หลังจากนั้นจึงได้ถอนตัวกลับมายังกองทัพของตนซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของอัยน์ ญาลูต (ตาน้ำญาลูต) ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำญาลูต ส่วนคิตบูกา ซึ่งอยู่ที่บาลาบัคในซีเรียได้เคลื่อนทัพลงมาตามถนนระหว่างภูเขาเลบานอนและแอนตี้เลบานอน ผ่านเมืองซาเฟตและเรื่อยลงมาตามหุบเขาจอร์แดน เมื่อมาถึงแม่น้ำบัยซาน เขาได้เลี้ยวมาทางตะวันตกและมุ่งตรงไปยังหุบเขาญาลูตเพื่อไปเผชิญกับพวกอียิปต์โดยมรแม่น้ำบัยซานอยู่ทางด้านหลัง ในบริเวณหุบเขาแคบ ๆ ซึ่งมีภูเขากิลบัวปิดล้อมอยู่ทางด้านใต้และแม่น้ำญาลูตอยู่ทางด้านเหนือนี้แหละที่กองทัพของทั้ง 2 ฝ่ายได้มาเผชิญหน้ากัน ฝ่ายหนึ่งคือพวกมองโกลซึ่งพิชิตอาณาจักรต่าง ๆ มาแล้วเป็นจำนวนมากมาย และอีกฝ่ายหนึ่งคือพวกมัมลู้ก ในครั้งนั้นพวกมัมลู้กซึ่งเป็นแกนนำของกองทัพอียิปต์มีกำลังคนเพียง 12,000 คนเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับกองกำลังอันมากมายมหาศาลของพวกมองโกลแล้ว กองทัพของอียิปต์ก็ยังเหมือนกับลูกแกะที่อยู่กลางฝูงหมาป่านั่นเอง
ระบบทหารของพวกมองโกลนั้นเป็นระบบง่าย ๆ ซึ่งคล้าย ๆ กับสภาพการดำรงชีวิตในท้องทุ่งของพวกตนนั่นเอง ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาพวกมองโกลเป็นพวกที่เร่ร่อนทำมาหาดินอยู่ตามทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลในเอเชียกลาง กินไขมันและนมม้าเป็นอาหารประจำ ร่งกายจึงกำยำล่ำสัน ดังนั้น พวกนี้จึงไม่รู้จักกับคำว่าสิ่งกีดขวาง พวกมองโกลรู้จักการข้ามแม่น้ำด้วยการใช้ถุงหนังที่พองลมเป็นเครื่องพยุงตัวมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว และด้วยเหตุที่มีชีวิตความเป็นอยู่ง่าย ๆ ดังนั้นพวกมองโกลจึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องมีการจัดระเบียบสังคม เจงกิสข่านเองก็ใช้ยุทธศาสตร์ลักษณะประจำชาติง่าย ๆ นี้ในการทำศึก กล่าวคือ เมื่อเกิดศึกสงครามขึ้นมา พวกมองโกลก็จะกลายสภาพมาเป็นทหารภายใต้บังคับบัญชาของเขาทุกคน พวกมองโกลขี่มาเก่งมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้นจึงมีความสามารถในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและมักจะเข้าโจมตีข้าศึกโดยวิธีการบีบทางด้านข้างแล้วก็ปลีกตัวออก อาวุธที่พวกมองโกลใช้คือธนูซึ่งยาวกว่าปกติและสามารถยิงได้ระยะไกล พวกมองโกลจึงใช้ธนูให้เป็นประโยชน์โดยจะยิงข้าศึกจากระยะไกลจนข้าศึกแตกระส่ำระสายเสียก่อนแล้วจึงเข้าตี นอกจากนั้นแล้ว พวกทหารม้าขมังธนูมองโกลยังมีม้าสำรองที่บรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำสงครามติดตาทเป็น "คลังแสงเคลื่อนที่" ด้วย ถ้าหรม้าตัวหนึ่งตัวใดถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บหรือเหนื่อยพวกมองโกลก็จะใช้ม้าสำรองแทน และขณะเดียวกันม้าสำรองเหล่านี้ก็จะกลายเป็น "เสบียงที่มีชีวิต" ของพวกมองโกลไปในตัวด้วหากต้องอยู่ในสภาพฉุกเฉิน หากจะกล่าวโดยสรุปแล้ว องค์ประกอบในความเป็นทหารของพวกมองโกลก็คือ ความสามารถขี่ม้าได้อย่างคล่องแคล่ว และยิงธนูได้อย่างแม่นยำในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่จะสามารถต่อกรกับพวกมองโกลได้ก็ต้องมีคุณสมบัติดังกล่าวทัดเทียมกับพวกมองโกลและระหว่างทะเลญี่ปุ่นไปจนถึงพรมแดนออสเตรียก็ยังหาคนที่มีคุณสมบัติเช่นนั้นไม่พบเสียด้วยนอกจากกุตูซ และพวกมัมลู้ก
พวกมัมลู้กแห่งอาณาจักรอัยยูบนั้นมีเชื้อสายเติร์ก และเป็นพวกที่เร่ร่อนอยู่ในทุ่งหญ้าเอเชียกลาง ทุกคนขี่ม้าเก่งและรู้จักการใช้ธนูมาตั้งแต่ยังเด็ก นอกจากนั้นแล้วยังได้รับการฝึกอบรมมาให้มีระเบียบวินัยเคร่งครัด แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พวกมองโกลยังมีความได้เปรียบทางด้านอาวุธอยู่ เพราะธนูของพวกมองโกลมีขนาดยาวกว่าและสามรถยิงได้ไกลกว่าธนูของพวกมัมลู้ก กุตูซรู้ถึงความเสียเปรียบนี้เป็นอย่างดี และเขาก็ไม่บ้าบิ่นหรือมุทะลุอย่างที่คิตบูกาคิดไว้ ดังนั้น ในในหุบเขาญะลูตแคบ ๆ นี้เองชนสองเผ่าที่มาจากทุ่งหญ้าในเอเชียกลางได้มาเผชิญซึ่งกันและกัน (ที่จริงในเนื้อหามันมีแผนที่, ลักษณะกองทัพ, การจัดทัพอยู่ด้วย)
ทางตอนใต้ของหุบเขาญาลูตซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างธารน้ำและภูเขากิลบัวนั้นมีความกว้าง 2 ไมล์ หุบเขานี้จะยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้จนกระทั่งไปรวมกับหุบเขาจอร์แดนซึ่งอยู่ไกลออกไป 35 ไมล์ ดังนั้นพวกมองโกลจึงเผชิญหน้าพวกอียิปต์ในช่องเขาซึ่งกว้างพอที่พวกมัมลู้กจะตรึงกำลังไว้ได้ขณะเดียวกัน พวกมองโกลซึ่งมีกำลังมากกว่าต้องออกไปแออัดกันและไม่มีที่พอที่จะเคลื่อนไหวได้สะดวกความเฉลียวฉลาดในการเลือสมรภูมิของกุตูซนั้นทำให้ปีกทั้งสองของกองทัพของเขาปลอดภัยจากการถูกโจมตีโดยทหารม้าของพวกมองโกล และคิตบูกาเองก็มีความเชื่อมั่นเสียเหลือเกินว่า เขาคงจะบดขยี้มุสลิมได้โดยง่ายจนไม่จำเป็นที่จะต้องโอบปีกตี หรือใช้ทหารม้าหน่วยย่อยเข้าตีลวงตามตำรับของพวกมองโกล แต่ก็จะไปประมาณคิตบูกาทั้งหมดไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการที่พวกมัมลู้กได้เลือกชัยภูมิก่อนนั้นเป็นการปิดโอกาสมิให้พวมองดกลสามารถเข้าตีทางด้านปีกตามความถนัดได้
กุตุซได้ให้ทหารม้าของเขาจัดแนวรบขึ้น โดยให้แนวรบด้านหน้าประกอบด้วย หน่วยทหารซีเรียและทหารควาริซมี โดยมีหน่วยทหารราบมัมลู้กคุ้มกันเป็นหน่วย ๆ อีกชั้นหนึ่ง ส่วนแนวที่สองประกอบด้วยทหารราบมัมลู้กแปรขบวนเป็นแถวหน้ากระดานอยู่ระหว่างหน่วยทหารมัมลู้กและทหารซีเรีย ส่วนแนวรบด้านหลังสุดเป็นทหารม้าภายใต้การบังคับบัญชาของบัยบัรฺ กุตูซเป็นผู้บังคับบัญชากองทหารมุสลิมทั้งหมดเหมือนกับที่คิตบูกาควบคุมพวกมองโกล พวกผู้นำซีเรียมีความเหก็นว่าเป็นเรื่องไม่ถูกที่เอากองทหารที่มิใช่อียิปต์ซึ่งอ่อนแอไปวางไว้ข้างหน้าเพื่อต้านการบุกของพวกมองโกล แต่เรื่องนี้ กุตูซและบัยบัรฺได้ปรึกษาหารือกันและวางแผนไว้อย่างรอบคอบแล้ว พวกมองโกลเป็นผู้เปิดฉากรบก่อนตามแบบฉบับ โดยใช้ทหารม้าขมังธนูควบม้าเข้ามายิงะนูใส่กองทหารมุสลิมระลอกแล้วระลอกเล่าแล้วก็ถอยกลับไปก่อนที่จะเข้ามาถึงระยะรัศมีธนูของทหารฝ่ายมุสลิม ด้วยความที่กลัวพวกมองโกลมาก่อน ประกอบกับไม่สามารถตีโต้และได้รับความเสียหายจากธนูของฝ่ายตรงข้ามทำให้ทหารแนวหน้าของมุสลิมเริ่มปั่นป่วน นายทหารที่ทำหน้าที่บังคับบัญชาอยู่ได้พยายามที่จะคุมกำลังไว้ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะทหารแตกกระจายและบางคนเริ่มวิ่งหนีออกจากสนามรบ
อย่างไรก็ตาม พวกทหารที่มิใช่ชาวอียิปต์ก็มิได้ทำให้ทหารราบมัมลู้กที่อยู่ทางด้านหลังต้องประสบความยุ่งยาก เพราะระหว่างแนวหน้ากับแนวที่สองนั้นยังมีช่องว่างพอที่จะให้ทหารในแนวหน้าหนีวิถีลูกธนูของพวกมองโกลได้ เมื่อเห็นทหารศัตรูแตกทัพและวิ่งหนี คิตบูกา ก็สั่งให้ทหารของตนตามตีทันที การโจมตีของพวกมองโกลเป็นไปอย่างหนักหน่วงและสามารถส้างความเสียหายให้แก่ทหารซีเรียอย่างหนัก คิตบูกาจึงคิว่าเขาชนะศึกแล้ว แต่เมื่อเขานำทัพตามติดเข้ามาเขาก็พบว่าตัวเองได้หลงเข้ามาติดกับเสียแล้ว
เมื่อพวกทหารซีเรียซึ่งเป็นแนวหน้าเกิดความปั่นป่วนและถอยหนีนั้น ปีกทั้งสองข้างของกองทหารมัมลู้กซึ่งมีภูเขากิลบัวและแม่น้ำญาลูตเป็นแนวป้องกันอยู่ยังคงตั้งมั่นอย่างไม่หวั่นไหว และแนวที่สองของอียิปต์ซึ่งประกอบด้วยพวกมัมลู้กภายใต้การบังคับบัญชาของ กุตูซก็สามารถยันการรุกของพวกมองโกลไว้ได้ ดังนั้นการรุกหน้าของพวกมองโกลจึงช้าลงขณะเดียวกันก็เริ่มตกอยู่ในวงล้อมของพวกซีเรียที่กำลังล่าถอยด้วย (อลหม่านน่าดู) หลังจากนั้นพวกมัมลู้กก็เริ่มจัดขบวนปิดล้อมทหารพวกมองโกลอีกชั้นหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้เนื้อที่การสู้รบของพวกมองโกลแคบลงจนเคลื่อนไหวไม่สะดวกและไม่สามารถใช้อาวุธของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากพวกมองโกลถือว่าพวกตนมีกำลังมากกว่าพวกมองโกลจึงไม่ยอมถอย พวกอียิปต์จึงสาดฝนธนูเข้าใส่พวกมองโกลอย่างไม่ยั้งมือ ด้วยกลยุทธ์นี้ กุตูซไม่เพียงแต่จะทำให้พวกมองโกลตกเข้ามาอยู่ในรัศมีการสังหารด้วยลูกธนูของพวกอียิปต์เท่านั้น แต่ยังสามารถทำให้กองทหารม้าเคลื่อนที่เร็วที่สุดในสมัยกลางต้องมีสภาพเหมือนกับคนที่กำลังจะเป็นอัมพาตไป หลังจากนั้นสถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เมื่อพวกมุสลิมซีเรียเห็นว่าพวกตนกำลังหลุดรอดปลอดภัยจากการถูกตามสังหารแล้ว พวกนี้ก็เริ่มรวมพลกันอีกครั้งหนึ่งแล้วกลับเข้าสู่สมรภูมิช่วยหนุนพวกมัมลู้กเข้าตีฝ่ายมองโกลจนล่าถอยไป
อย่างไรก็ ตามนี่ยังไม่ใช่การสิ้นสุดศึก ตลอดการสงครามอันตึงเครียด บัยบัรฺกับกองทหารม้ามัมลู้กของเขาต่างจด ๆ จ้อง ๆ ด้วยความกระวนกระวาย เมื่อศึกบยกแรกสิ้นสุดลง บัยบัรและทหารของเขาจึงได้คลายความกระวนกระวายลง บัยบัรฺนั้นเป็นคนที่ดุดันเหี้ยมเกรียมตลอดชีวิตของเขานั้น เขามิเคยขอหรือให้ความกรุณากับใคร เขาต้อนพวกมองโกลให้ถอยร่นไปยังหนองบึงบัยซาน หลังจากนั้นก็สั่งให้ทหารตารมเด็ดชีวิตศัตรูให้มากที่สุด พวกมองโกลที่หนีภัยไปหลบอยู่ในพงอ้อถูกเผาตายนับเป็นพัน ๆ คน อีกส่วนหนึ่งที่หนีไปก็ถูกไล่ต้อนไปจนมุมที่แม่น้ำจอร์แดน และถูกฆ่าตายไปจำนวนมาก แต่ บัยบัรฺจะมิได้เป็นบัยบัรฺถ้าหากว่าเขาหยุดอยู่แค่นั้น จากแม่ฯํ้สจอร์แดนเขาได้พากองทหารของเขาออกติดตามรบรันพันตูกับข้าศึกอย่างดุเดือด ตลอกระยะทาง 300 ไมล์ที่เขาติดตามศึกนั้น เขาตามเข่นฆ่าพวกมองโกลทุกคนที่เขาพบเห็นอย่างไม่ปราณี มีแต่พวกที่ลอยข้ามแม่น้ำยูเฟรตีสไปได้เท่านั้นที่หลุดรอดจากการเอาชีวิตของเขา หลังจากนั้นไม่นาน บัยบัรฺ อัล-บันดุคดารี ก็ได้กลายเป็นสุลฏอนมัมลู้กที่มีชื่อเสียงที่สุดของอียิปต์
คิตบูกาถูกจับได้ในสนามรบ ก่อนที่เขาจะถูกสังหาร เขาได้กล่าวทายล่วงหน้าเอาไว้ว่า ทันทีที่ Hulaku รู้ข่าวเรื่องศึกที่อัยน์ ญาลูต นี้เข้าแผ่นดินมุสลิมระหว่างแม่น้ำยูเฟรติสและแม่น้ำไนล์จะต้องสั่นสะเทือนไปด้วยการเดินทัพอันมหึมาของ Hulaku และในกระเป๋าอานม้าของพวกมองโกลนั้นจะเต็มไปด้วยทรายจากแผ่นดินอียิปต์ แต่อย่างไรก็ตาม นายของคิตบูกาก็ไม่มีโอกาสได้มุ่งหน้ามาทางตะวันตก เพราะมองคา ข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ได้เสียชีวิตลงและกุบไลข่าน น้องชายของ Hulaku กับอาริคโบกาได้ต่อสู้แก่งแย่งกันเพื่อที่จะก้าวขึ้นมาเป็นข่านผู้นำ Hulaku ต้องการที่จะอยู่ใกล้ ๆ คาราโครัม เผื่อที่จะกระโดดเข้าไปเล่นเกมส์ชิงความเป็นผู้นำกับเขาด้วยถ้าหากโอกาสเอื้ออำนวย นอกากนั้นแล้ว พวกหัวหน้าเผ่ามองดกลในทรานสโอเซียนาก็ได้กลายมาเป็นมุสลิมขณะที่พวกมองดกลที่เข้าไปตียุโรปในทางตอนใต้ของรัสเซียได้เกิดความเห็นใจมุสลิมและเริ่มรุกเข้าไปในเขตแดนของ Hulaku ดังนั้น Hulaku จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกทัพมาตีข้าศึกของเขาในอียิปต์ เพราะต้องคอยป้องกันพรมแดนทางด้านเหนืออยู่ อาณาจักรของ Hulaku คือ "อาณาจักรอิลข่าน"
สงครามอัยน์ ญาลูต เป็นสงครามที่สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ชัยชนะของพวกมัมลู้กได้ช่วยปกป้องคุ้มครองอิสลามให้รอดพ้นจากการข่มขู่คุกคามที่อันตรายที่สุดที่มุสลิมเคยพบมาถ้าหากว่าพวกเขามองโกลสามารถตีอียิปต์ได้ ทางด้านตะวันออกของโมร็อกโคก็จะไม่มีรัฐมุสลิมหลงเหลืออีกเลยถ้าหากพวกมองโกลสามารถครอบครองฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันออกและด้านใต้ได้ พวกทมองโกลก็อาจจะตกอยู่ใต้อิทธิพลคริสเตียน แล้วถ้าหากพวกมองโกลดำเนินรอยตามเจ้าชายคริสเตียนอย่างวเช่นคิตบูกา ศาสนาคริสต์ก็อาจจะมารุ่งโรจน์อยู่ตรงใจกลางของแผ่นดินอิสลามได้ ดังนั้น การสงครามที่อัยน์ ญาลูต จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางเดินของกระแสประวัติศาสตร์อิสลามทั้งในแง่ของศาสนาและในแง่ของการทหารด้วย หลังจากนั้นพวกมัมลู้กได้เข้ายึดครองฟิลิสตีน (ปาเลสไตน์) ซีเรีย อิร็อก (อิรัก) ตะวันตก และอนาโตเลียทางตอนใต้ไว้ และพวกมองโกลหลังจากที่ได้นั่งอยู่บนรั้วตรงกลางระหว่างอิสลามกับคริสเตียนอยู่เป็นเวลานานแล้ว ก็ได้มาเข้าฝ่ายมุสลิมอยู่ที่นั่นในที่สุด
สงครามต้าหลี่
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม ปี 1252 เจ้าชายคูบิไล (หลานของเจงกิสข่านและอนาคตได้ขึ้นเป็นกุบไลข่าน) ได้รับพระราชโองการของมังกุข่านให้เคลื่อนทัพโจมตีอาณาจักรต้าหลี่ แต่เจ้าชายคูบิไลก็มิได้เคลื่อนทัพทันทีจนกระทั่งถึงเดือนกันยายน ปี 1253 ทรงใช้เวลาเตรียมทัพอย่างเต็มที่ พระองค์ทรงเชื่อว่ากองทัพของพระองค์ต้องพร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียง
การทำสงครามกับอาณาจักรต้าหลี่ ในช่วงปลายฤดูร้อน ปี 1253 เจ้าชายคูบิไลเริ่มกรีธาทัพจากเมืองหลิน-เตา ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของฆฌฑลเชนสีมุ่งตรงไปยังทางทิศใต้ถึงที่ราบยูนนาน พระองค์และกองทัพต้องประสบความลำบากในการเคลื่อนทัพ และต้องผ่านมณฑลเสฉวนตรงไปยังหุบเขาลัดเข้าสู่อาณาจักรต้าหลี่ดินแดนที่แหล่งต้นน้ำแยงชีขณะประทับอยู่ที่เมืองหลินเตา เจ้าชายคูบิไลได้ส่งคณะทูตไปยื่นข้อเสนอแก่กษัตริย์อาณาจักรต้าหลี่ ทรงพระนามว่าพระเจ้าทวน สิง จี ซึ่งได้กลายเป็นหุ่นเชิดของขุนนางชื่อเก๋าไตเชียงผู้กุมอำนาจสูงสุดอยู่เบื้องหลัง เก๋าไตเชียงได้บังอาจท้าทายอำนาจกองทัพเจ้าชายคูบิไลโดยสั่งให้ประหารชีวิตทูตของเจ้าชายคูบิไลทุกคน
ด้วยเหตุนี้เจ้าชายคูบิไลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องทรงปฏิบัติการลงโทษศัตรูเพียงสถานเดียว การโจมตีแบบสายฟ้าแลบพร้อมกันทั้งสามด้านนี้เริ่มต้นในปลายเดือนตุลาคม ปี 1253 ซึ่งเจ้าชายคูบิไลทรงคาดว่าคงเป็นสงครามนองเลือดครั้งใหญ่ที่จะบดขยี้อาณาจักรต้าหลี่ จนกว่าผู้นำและกองทัพของอาณาจักรต้าหลี่จะยอมแพ้
กองทัพของเจ้าชายคูบิไลได้เคลื่อนไปถึงริมฝั่งแม่น้ำแยงซีตรงข้ามฝั่งที่ตั้งค่ายพักของกองทัพตาหลี่ในเดือนพฤศจิกายน เจ้าชายคูบิไลได้รับสั่งให้ทหารสร้างแพที่ทำด้วยถุงนอนหนังแกะ เพื่อลำเลียงทหารเสบียงและอาวุธเบาข้ามน้ำไปภายใต้การควบคุมของขุนพลบายัน ขุนพลบายันได้นำกองทหารหน่วยกล้าตายลุยข้ามน้ำในเวลากลางคืน เมื่อรวมกำลังพลแล้วจึงรีบโจมตีทหารกองทัพของขุนนางเก๋าไตเซียงอย่างรวดเร็ว ฝ่ายทหารกองทัพขุนนางเก๋าไตเซียงต่างตกใจและคาดไม่ถึงว่าจะถูกโจมตียามดึกจึงวิ่งหนีแตกพ่ายกระเจิดกระเจิงไม่เป็นขบวน ต่อมาเจ้าชายคูบิไลได้ยึดเมืองหลวงของอาณาจักรต้าหลี่โดยปราศจากการต่อต้าน ตกดึกของคืนวันหนึ่งเก๋าไตเซียงขุนนางผู้กุมอำนาจสูงสุดของอาณาจักรต้าหลี่ได้หนีออกไปจากวังพร้อมทหารคู่ใจแต่ไปไม่ได้ไกลนักถูกทหารของเจ้าชายคูบิไลตามจับได้และประหารชีวิตด้วยการตัดหัวหน้าบริเวณหอคอยทางประตูด้านทิศใต้ของเมือง นอกจากนั้นเจ้าชายคูบิไลยังได้รับสั่งให้ประหารชีวิตทหารทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการสังหารคณะทูตของพระองค์ และให้ฝังศพคณะทูตอย่างสมเกียรติโดยมีป้ายหินเขียนคำสรรเสริญยกย่องเกียรติคุณไว้ และสั่งให้ขุนนางมองโกลระดับสูงร่วมกับราชวงศ์ตวนปกครองอาณาจักรต้าหลี่ต่อไป
ส่วนจอมทัพอูริยังกาได โอรสองค์โตของอดีตจอมทัพข่านสุโบไตยังคงทำสงครามขยายดินแดนทางดินแดนทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ จนกระทั่งยึดดินแดนทั้งหมดเข้ามารวมอยู่ภายใต้อาณาจักรมองโกล ดินแดนดังกล่าวประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ มากมายรวมทั้งทิเบตด้วย
พิชิตเกาหลี
[แก้]บรรพบุรุษของกุบไลข่านเคยผิดหวังที่จะพิชิตคาบสมุทรเกาหลีมาก่อนในช่วงปี พ.ศ. 1761 (ค.ศ. 1218) สมัยจอมทัพเจงกิลข่าน และในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1774 ถึง พ.ศ. 1776 เคยส่งทหารไปพิชิตดินแดนตะวันออกไกล แม้ว่าจะประสบความสำเร็จมีอำนาจเหนือดินแดนส่วนใหญ่ของเกาหลี แต่ก็ไม่อาจควบคุมได้เบ็ดเสร็จ ในปี พ.ศ. 1776 (ค.ศ. 1233) พระเจ้าโกจงแห่งราชวงศ์โครยอได้เสด็จหนีกองทัพมองโกลไปยังเกาะคังฮวา ใกล้ฝั่งตะวันตกของแผ่นดินเกาหลี
ในปี พ.ศ. 1796 (ค.ศ. 1253) แม่ทัพมังกุข่านได้รับสั่งให้แม่ทัพชา-ลา-เออร์-ไต นำกองทัพไปโจมตีเกาหลี และอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 1801 (ค.ศ. 1258)
ต่อมามกุฎราชกุมารชอนจากเกาหลีเสด็จไปเยือนมองโกลเพื่อแสดงถึงการยอมแพ้ของชาวเกาหลี และเสนอให้พระองค์เองเป็นตัวประกัน เมื่อกุบไลข่านเห็นถึงความจงรักภักดีพระองค์จึงให้มกุฎราชกุมารปกครองแคว้นเกาหลีต่ามเช่นเดิม และให้ส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกลมาทุกปี
ในปี พ.ศ. 1812 (ค.ศ. 1269) กุบไลข่านทรงทราบข่าวว่ามีการกบฏต่อต้านมกุฎราชกุมาร พระองค์ทรงรีบส่งทหารไปช่วยเหลือ และสามารถล้อมจับหัวหน้ากบฏคืออิม ยอน อดีตผู้บัญชาการกองทัพ พระเจ้าวอนจงแห่งโครยอจึงยกพระธิดาซึ่งมีพระนามว่า ฮู ตู ลู ชี หลี่ มี ชี ให้กับมกุฎราชกุมารเพื่ออภิเษกสมรส
รุกรานญี่ปุ่น
[แก้]จักรวรรดิมองโกลได้รุกรานญี่ปุ่นสองครั้ง ในปี ค.ศ. 1274 และ 1281 โดยมีเกาหลีและจีนเป็นแนวร่วม ในครั้งแรก ได้นำไพร่พลไปราวสองหมื่นนาย ญี่ปุ่นไม่อาจทัดทหารและยุทธวิธีการรบของมองโกลได้ และในภาวะเสียเปรียบของญี่ปุ่น แต่ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นขึ้นอย่างกะทันหัน พัดทำลายกองเรือของฝ่ายมองโกลอัปปางจนเกือบหมดสิ้น จนทหารมองโกล จีน และเกาหลี ต่างขวัญหนีดีผ่อ จมน้ำตายบ้าง ส่วนที่รอดชีวิตก็ถูกญี่ปุ่นประหารหรือเป็นเชลยมาก ชาวญี่ปุ่นจึงตั้งชื่อพายุนี้ว่า "คะมิกะเซะ" (วายุเทพ) ที่ช่วยปกป้องญี่ปุ่น
จากที่การรบคราวแรกรบแพ้ ศึกครั้งที่สอง กุบไล ข่าน จึงรับสั่งให้ต่อเรือรบ มากกว่า 4,000 ลำ และกำลังทหารนับ 140,000 นาย ซึ่งใช้เวลาตระเตรียมมากกว่า 6 ปี มองโกลหวังจะพิชิตญี่ปุ่นให้หมดสิ้น แต่ทั้งนี้ ญี่ปุ่นก็ได้เตรียมรับมือเป็นอย่างดี โดยมีการสร้างป้อมและกำแพงหิน ซึ่งมีความทนทานจนปืนใหญ่ของฝ่ายมองโกลไม่อาจพิชิตได้ การรบดำเนินต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าฝ่ายใดจะเพลียงพล้ำ แต่แล้ว ก็บังเกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิ พัดเข้าสู่ที่ตั้งของกองเรือมองโกลจนพินาศย่อยยับเกือบทั้งหมด ทหารมองโกลเสียชีวิตจากการจมน้ำไปนับแสนนาย ส่วนที่รอดก็ถูกญี่ปุ่นประหารและจับเป็นเชลย โดยมีทหารรอดกลับเกาหลีเพียงไม่กี่พันนายจากที่ยกทัพมาเรือนแสน
จากการแพ้ครั้งยิ่งใหญ่นี้ทำให้กุบไลข่านทรงพิโรธเป็นอย่างมาก และในปี 1283 รับสั่งให้เตรียมการบุกญี่ปุ่นครั้งที่ 3 แต่เนื่องจากบรรดาขุนนาง ทหาร และราษฎรคัดค้านอย่างหนัก เพราะศึกสองครั้งที่ผ่านมา ได้สูญเสียทรัพย์สินและไพร่พลไปอย่างมหาศาลแล้ว ทำให้การบุกครั้งที่สาม ต้องล้มเลิกลงในปี 1286
การขยายดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมองโกล
[แก้]กุบไลข่านใช้วิธีการขยายดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากการส่งทูตไปให้ยอมจำนนและยอมรับอำนาจกองทัพมองโกล หากไม่ยอมจำนนจะใช้สงครามเป็นทางเลือกสุดท้าย
อาณาจักรพุกาม
[แก้]ในปี พ.ศ. 1816 (ค.ศ. 1273) กุบไลข่านได้ทรงส่งคณะทูตสามชุดมายังอาณาจักรพุกาม (พม่า) เพื่อให้ยอมจำนนต่ออาณาจักรมองโกล แต่กษัตริย์พม่าในขณะนั้นทรงถือว่าพระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่ นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงโจมตีรัฐควนไกทางภาคเหนือของอาณาจักรพุกาม ทำให้ชาวมองโกลโกรธแค้น ต่อมากุบไลข่านจึงสั่งให้แม่ทัพนาเซอร์ อัลดินบุตรชายของขุนนางไซยิด อาจัลล์ ขุนนางมุสลิมซึ่งเป็นที่วางพระทัยของกุบไลข่านคนหนึ่ง นำทัพโจมตีอาณาจักรพุกาม ขณะเดียวกันพระเจ้านรสีหบดีของพม่า พระองค์ทรงวางกำลังช้างศึก 2000 เชือก นำหน้ากระบวนทัพ และวางกำลังกองทหารม้าไว้สองด้าน ตามด้วยกองกำลังทหารราบ ผลจากสงครามครั้งนี้กองทัพพม่าปราชัยอย่างย่อยยับ มองโกลได้ยึดเมืองที่มีประชากรกว่า 110,200 ครอบครัว ตามชายแดนพม่า
ต่อมาในปี พ.ศ. 1830 (ค.ศ. 1287) กุบไลข่านได้ส่งกองทัพเพื่อพิชิตอาณาจักรพุกาม ภายใต้การบังคับบัญชาโดยแม่ทัพอีเซน เตมูร์ พระราชนัดดาของพระองค์ แม่ทัพอีเซนได้นำทัพบุกไปถึงเมืองหลวงของอาณาจักรพุกาม และยึดเมืองหลวงอาณาจักรพุกามไว้ได้ พระเจ้านรสีหบดีของพม่าจึงได้ยอมจำนนต่อมองโกลและส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อมองโกลทุกปี มีข่าวว่ากษัตริย์พม่าได้ปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการเสวยยาพิษเพราะด้วยความเสียพระทัยอย่างใหญ่หลวง
อาณาจักรอันนัมและอาณาจักรจามปา
[แก้]กุบไลข่านได้ส่งทูตเชิญพระเจ้าตรัน ถั่น ทอน กษัตริย์อาณาจักรอันนัม และพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 6 แห่งอาณาจักรจามปา เสร็จไปเยือนราชสำนักของพระองค์ที่เมืองต้าตูอาณาจักรมองโกล แต่ปรากฏว่าไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดเสร็จไป เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง ในปี พ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281) กุบไลข่านจึงตัดสินพระทัยที่จะปฏิบัติการโต้ตอบอย่างรุนแรง โดยให้แม่ทัพโซดูพร้อมด้วยทหาร 5,000 นาย เรือ 100 ลำ เดินทางถึงอาณาจักรจัมปา และยึดเมืองหลวง ซึ่งก็สามารถยึดได้อย่างรวดเร็ว และพบว่าพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 6 ได้นำทัพล่าถอยไปซ่อนอยู่ตามภูเขาภายในเขตตะวันตก ต่อมากุบไลข่านได้ส่งกำลังเสริมไปช่วยแม่ทัพโซดูอีก 15,000 นาย แต่ปรากฏว่าต้องประสบปัญหายุ่งยากหลายประการ เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศ ต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนชื้นและโรคภัยต่าง ๆ ทำให้การทำสงครามดำเนินไปได้น้อยมาก กุบไลข่านจึงส่งกองทัพที่แข็งแกร่งนำโดยเจ้าชายโตกอนเพื่อไปเสริมกับกองทัพของแม่ทัพโซดูโดยใช้เส้นทางของอาณาจักรอันนัมเป็นทางผ่านแต่พระเจ้าตรัน ถั่น ทอนทรงปฏิเสธไม่ยอมให้ใช้ดินแดนของอาณาจักรอันนัมเป็นทางผ่านไปบุกรุกอาณาจักรจัมปา ดังนั้นเจ้าชายโตกอนจึงต้องรวมทัพใหญ่ทำสงครามกับอาณาจักรอันนัม
การทำสงครามกับอาณาจักรอันนัมในช่วงแรก กองทัพมองโกลต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างเช่นอากาศร้อนชื้น ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 1830 (ค.ศ. 1287) พวกเขาได้รวมกันเข้าเป็นกองทัพใหญ่ นำโดยเจ้าชายโตกอน และมุ่งตรงไปกรุงฮานอย และพบว่ากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมและพระโอรสได้เสร็จหนีไปแล้ว ต่อมากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมก็ได้ตัดสินใจยอมจำนนโดยส่งทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวาย และปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อราชสำนักกุบไลข่านต่อไป ด้วยเหตุผลคล้ายกันทางพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 6 แห่งอาณาจักรจามปาก็ได้ยอมจำนนและส่งเครื่องราชบรรณาการไปสวามิภักดิ์ราชสำนักกุบไลข่านเช่นเดียวกัน
อาณาจักรสุโขทัย
[แก้]กุบไลข่านทรงส่งกองทัพแผ่อำนาจลงทางใต้เพื่อล้มล้างราชวงศ์ซ่งทางตอนใต้ของจีน ซึ่งผลจากการยกทัพตามไล่ล่าพวกราชวงศ์ซ่งดังกล่าว เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้กองทัพมองโกลรุกรานลงมายังเขตมณฑลยูนนานในปี พ.ศ. 1796 (ค.ศ. 1253)
หลังจากเคลื่อนกองทัพเข้ายึดมณฑลยูนนานและโจมตีอาณาจักรน่านเจ้าในยูนนานแตกแล้ว ตามข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ถือว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของไทย ที่ถูกกองทัพมองโกลโจมตีจึงได้อพยพลงมาทางใต้มาอยู่ในเขตแหลมทอง และได้ตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นแต่ข้อมูลดังกล่าวนี้ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า อาณาจักรน่านเจ้าเป็นของไทยจริงหรือไม่
สรุปได้ว่าช่วงที่กองทัพมองโกลแผ่แสนยานุภาพโดดเด่นที่สุดเป็นช่วงเดียวกับการตั้งกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1800 (1257) ซึ่งเป็นอาณาจักรของตนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก
หลักฐานสำคัญในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับราชวงศ์มองโกลได้สรุปไว้ว่ากุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการเตรียมทัพไปปราบปรามแคว้นต่าง ๆ ทางใต้ มีสุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่น ๆ เป็นเมืองขึ้น ปรากฏว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่าต๋าไม่เห็นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดนต่าง ๆ อ่อนน้อมยอมสนับสนุนก่อน หากไม่ยอมจึงยกกองทัพไปโจมตี นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และขอให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักมองโกล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล ปราฏว่ามีอาณาจักรในดินแดนต่าง ๆ กว่า 20 อาณาจักรยอมรับข้อเสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย (ช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ. 1822 - 1825)
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 12 เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงคณะทูตชุดแรกจากอาณาจักรมองโกลในสมัยกุบไลข่าน เดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) ทูตคณะนี้นำโดยเหอจี จี่ นายทหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะ แต่ขณะนังเรือแล่นผ่านฝั่งทะเลอาณาจักรจามปา ได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต ผลจากคณะทูตนี้ถูกประหารชีวิตก่อนจะเดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัยทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่ทราบว่ามองโกลพยายามส่งทูตมาติดต่อ
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 17 กล่าวถึงคณะทูตมองโกลชุดที่สองเดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. 1835 (ค.ศ. 1292) ภายหลังจากข้าหลวงใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของมณฑลกวางตุ้ง ได้ส่งคนอัญเชิญพระราชสาส์นอักษรทองคำของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยไปยังนครหลวงข่านมาลิก (ต้าตู หรือปักกิ่งปัจจุบัน) คณะทูตมองโกลชุดที่สองได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของกุบไลข่านให้พ่อขุนรามคำแหงเสร็จไปเฝ้า พระบรมราชโองการนี้แสดงให้เห็นนโยบายของอาณาจักรมองโกลเรียกร้องให้ผู้นำของอาณาจักรต่าง ๆ ไปเฝ้ากุบไลข่าน แต่มิได้บังคับให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่นที่ 18 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน
อาณาจักรสิงหะส่าหรี
[แก้]พระเจ้าเกียรตินครแห่งชวาทรงแข็งข้อต่อต้านมหาอำนาจของกุบไลข่าน เนื่องมาจากพระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการรวมดินแดนเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรใหญ่ จนทำให้พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงศาสนาไปเป็นศาสนาพุทธแบบตันตระ และได้สถาปนาสัมพันธไมตรีด้วยการอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์อาณาจักรจัมปา พระองค์ทรงแสวงหาทางควบคุมการค้าขายเครื่องเทศที่มีกำไรงาม ซึ่งมีฐานอยู่ในเขตหมู่เกาะโมลุกกะ และต้องอนุรักษ์ให้ชาวชวาเป็นกลางเกี่ยวกับการค้าขายโดยเฉพาะ พระองค์ทรงเกรงว่ากุบไลข่านทรงตั้งพระทัยที่จะกำจัดการควบคุมการค้านี้
พระองค์ทรงมีพฤติกรรมต่อต้านขุนนางเม่ง จี หนึ่งในคณะทูตของกุบไลข่านที่เดินทางไปถึงชวาในปี พ.ศ. 1832 (ค.ศ. 1289) และได้กราบทูลให้พระองค์ทรงยอมจำนนแก่อาณาจักรมองโกล การตอบสนองของพระองค์อย่างหยิ่งยโสคือทรงใช้เหล็กประทับตราที่เผาไฟร้อนจัดประทับลงใบหน้าของทูตผู้โชคร้ายคนนี้อย่างโหดเหี้ยม เหตุร้ายแรงดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นข้ออ้างของกุบไลข่าน ทรงเริ่มส่งกองทัพไปปราบปรามกษัตริย์ชวาทันที โดยให้แม่ทัพชี่ปี และแม่ทัพอิโก มู ซุ รวบรวมกำลังพลและเสบียงจากมณฑลฝูเจี้ยน กวางซี และหูกวาง เป็นทัพใหญ่ไปโจมตีชวา
แม่ทัพชี่ปีได้รับมอบหมายให้บังคับบัญชาทหารภาคพื้นดิน ส่วนแม่ทัพอิโก มู ซู ชาวอิกเกอร์ สายเลือกมองโกล ได้รับมอบหมายให้เตรียมเรือ และรวบรวมทหารเรือที่เชี่ยวชาญด้านยุทธนาวี ปลายปี พ.ศ. 1835 กองทัพใหญ่ได้เคลื่อนพลออกจากมณฑลจวนโจว พร้อมด้วยกำลังทหารจำนวน 20,000 นาย เรือลำเลียงพล 1,000 ลำเสบียงกรังสำหรับใช้ทั้งปี และแท่งเงินบริสุทธิ์น้ำหนักรวม 40,000 ออนซ์สำหรับใช้ซื้อหาสิ่งของเพิ่มเติม
ในช่วงต้นปี พ.ศ. 1836 กองกำลังทหารราบของแม่ทัพชี่ปีได้ยกทัพขึ้นฝั่งส่วนแม่ทัพอิโก มู ซุ คุมกองเรือใกล้ชายฝั่ง พระเจ้าเกียรตินครแห่งชวาทรงทราบข่าวการโจมตีของกองทัพมองโกลใกล้จะเกิดขึ้น ดังนั้นพระองค์จึงรีบส่งกองทัพขนาดใหญ่ไปยังอาณาจักรจามปาและบางส่วนในคาบสมุทรมลายู ซึ่งพระองค์ทรงคาดว่าเป็นจุดที่กองทัพข้าศึกจะยกพลขึ้นฝั่งก่อนที่จะเคลื่อนพลมุ่งหน้าไปชวา แต่การส่งกองทัพใหญ่ไปอยู่ห่างไกล กลายเป็นจุดอ่อนของพระเจ้าเกียรตินคร สำหรับผู้นำอีกหลายฝ่ายที่ต่อต้านพระองค์ หนึ่งในกลุ่มผู้นำที่เป็นปรปักษ์พระองค์ก็คือ พระเจ้าชัยขัตติยวงศ์ผู้นำรัฐเคดิรี (ดาหา) ได้ก่อการปฏิวัติต่อต้านพระองค์โดยโจมตีกองทัพรักษาพระองค์จนแตกพ่าย และได้ปลงพระชนม์พระเจ้าเกียรตินครด้วยพระองค์เอง ในที่สุดอำนาจของพระเจ้าเกียรตินครก็ตกไปอยู่ในพระหัตถ์ของเจ้าชายวิชัยพระชามาดา (ราชบุตรเขย) ของพระองค์ผู้เปี่ยมด้วยเล่ห์เหลี่ยม พระองค์ทรงคิดหาทางแก้แค้นให้กับความพ่ายแพ้ของพระสัสสุระ (พ่อตา หมายถึง พระเจ้าเกียรตินคร) โดยพระองค์ได้ทรงเสนอยอมจำนนแก่กองทัพมองโกล ในทางกลับกันเพื่อให้ช่วยปราบปรามผู้ก่อการปฏิวัติอีกทอดหนึ่ง นายทหารคนสนิทของพระองค์เป็นคนนำความลับไปแจ้งแก่กองทัพมองโกลเกี่ยวกับการเข้าเมือง ท่าเรือ แม่น้ำ และแผนที่รัฐเคดิรี ทางกองทัพมองโกลตกลงร่วมปฏิบัติการโดยได้นำกองเรือแล่นตรงไปยังเมืองท่ารัฐเคดิรี ส่วนแม่ทัพชี่ปีนำกองทหารราบบุกขึ้นฝั่งแล้วเตรียมทัพโจมตี ภายในสัปดาห์เดียว กองทัพของเขาก็ได้เข้าปะทะกับกองทัพรัฐเคดิรี ผลการสู้รบกันอย่างหนักทำให้สังหารทหารรัฐเคดิรีได้ถึง 5,000 นายในที่สุดพระเจ้าชัยขัตติยวงศ์ทรงยอมแพ้และถูกตัดสินให้ปลงพระชนม์ทันที
แม้ว่ากองทัพมองโกลจะประสบความสำเร็จดังกล่าว แต่ผู้นำทั้งสองถูกหลอกโดยไม่มีใครคาดคิด เมื่อเจ้าชายวิชัยได้ตรัสขอให้จัดกำลังทหารมองโกลไม่ต้องติดอาวุธจำนวน 200 นาย คอยอารักขาตามเสร็จพระองค์ไปยังเมืองมัชปาหิต ซึ่งทรงอ้างว่าที่เมืองนั้นพระองค์ทรงเตรียมพิธียื่นข้อเสนอยอมจำนนผู้แทนกุบไลข่านอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าผู้นำทั้งสองของกองทัพมองโกลได้กราบทูลตกลงและเห็นด้วย โดยมิได้สงสัยพฤติกรรมการหลอกลวงของเจ้าชายวิชัยเลยแม้แต่น้อย
เหตุการณ์ร้ายได้เกิดขึ้น ระหว่างทางมุ่งหน้าไปยังเมืองมัชปาหิตกองกำลังทหารของเจ้าชายวิชัยได้ลอบซุ่มโจมตีทหารมองโกลที่ตามเสด็จไป ส่วนกองทัพมองโกลภายใต้การบังคับบัญชาของแม่ทัพชี่ปีและแม่ทัพอิโก มู ซุ ซึ่งรออยู่ที่เมืองเคดิรี ถูกกองทัพใหญ่ของเจ้าชายวิชัยโอบล้อมโจมตีโดยที่ไม่มีใครคาดคิด แม่ทัพมองโกลทั้งสองได้นำกองกำลังตีฝ่าวงล้อมเพื่อมุ่งหน้าไปยังกองเรือที่จอดอยู่ท่าเรือ ในที่สุดแม่ทัพชี่ปีถึงกับต้องล่าถอย และตัดสินใจวิ่งหนีไปยังเรือที่จอดอยู่ที่ท่าเรือ แต่ปรากฏว่าเขาต้องสูญเสียชีวิตของทหารราบไปกว่าสามพันคน เมื่อกลับไปถึงมองโกล กุบไลข่านก็ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 1837 และก็ไม่มีผู้นำคนใดที่จะนำกองทัพไปปราบปรามอาณาจักรสิงหะส่าหรี (อินโดนีเซีย) อีกเลย
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Before Kublai Khan announced the dynastic name "Great Yuan" in 1271, Khagans (Great Khans) of the Mongol State (Ikh Mongol Uls) already started to use the Chinese title of Emperor (จีน: 皇帝; พินอิน: Huángdì) practically in the Chinese language since Genghis Khan (as 成吉思皇帝; "Genghis Emperor").
- ↑ Including coins such as dirhams and paper currencies based on silver (sukhe) or silk, or the later small amounts of Chinese coins and paper Jiaochao currency of the Yuan dynasty.
อ้างอิง
[แก้]อ่านเพิ่มเติม
[แก้]General surveys
[แก้]- Atwood, Christopher, P. Encyclopedia of Mongolia and the Mongol Empire , New York: Facts on File (2004)
- Bartold, Vasily. Turkestan Down to the Mongol Invasion (Trans. T. Minorsky & C.E. Bosworth), London: Luzac & Co. (1928)
- Bartold, Vasily. Four Studies on Central Asia, vol. 1 (Trans. V, Minorsky and T. Minorsky), Leiden: Brill. (1956)
- The Cambridge History of Inner Asia: The Chinggisid Age, (ed.) Nicola Di Cosmo, Allen J. Frank, Peter B. Golden
- Chapter 2: P. Jackson. The Mongol age in Eastern Inner Asia, pp. 26-45
- Chapter 3: M. Biran. The Mongols in Central Asia from Chinggis Khan's invasion to the rise of Temür: the Ögödeid and Chaghadaid realms, pp. 46-66
- Chapter 4: I. Vásáry. The Jochid realm: the western steppe and Eastern Europe, pp. 67-86
- Chapter 5: A.P. Martinez. Institutional development, revenues and trade, pp. 89-108
- Chapter 6: P.B. Golden. Migrations, ethnogenesis, pp. 109-119
- Chapter 7: D. Deweese. Islamization in the Mongol Empire, pp. 120-134
- Chapter 8: T.T. Allsen. Mongols as vectors for cultural transmission, pp. 135-154
- The Cambridge History of China, vol. 6: Alien Regimes and Border States, 907–1368, (ed.) Herbert Franke, Denis C. Twitchett
- Chapter 4: T.T. Allsen. The rise of the Mongolian empire and Mongolian rule in north China, pp. 321-413
- Chapter 5: M. Rossabi. The reign of Khubilai khan, pp. 414-489
- Chapter 6: Hsiao Ch'i-ch'ing. Mid-Yüan politics, pp. 490-560
- Chapter 7: J. Dardess. Shun-ti and the end of Yüan rule in China, pp. 561-586
- Chapter 8: E. Endicott-West. The Yüan government and society, pp. 587-615
- Chapter 9: F. W. Mote. The Chinese society under Mongol rule, 1215–1368, pp. 616-664
- The Cambridge History of Iran, vol. 5: The Saljuq and Mongol Periods, (ed.) J. A. Boyle
- Chapter 4: J. A. Boyle. Dynastic and Political History of The Il-Khāns, pp. 303-421
- Chapter 6: I. P. Petrushevsky. The Socio-Economic Condition of Iran Under The Īl-Khāns, pp. 483-537
- Chapter 7: A. Bausani. Religion under the Mongols, pp. 538-549
- Chapter 10: E. S. Kennedy. The Exact Sciences in Iran under the Saljuqs and Mongols, pp. 659-680
- Buell, Paul. 'Historical Dictionary of the Mongol World Empire, 1200-1370' 2003
- Howorth, Henry. History of the Mongols: From the 9th to the 19th Century, part 1. The Mongols proper and the Kalmuks (1876)
- Howorth, Henry. History of the Mongols: From the 9th to the 19th Century, part 2. The so-called Tartars of Russia and Central Asia, 2 divions (1880)
- Howorth, Henry. History of the Mongols: From the 9th to the 19th Century, part 3. The Mongols of Persia (1880)
- Morgan, David. The Mongols (2007)
- Jackson, Peter. The Mongols and the Islamic World: From Conquest to Conversion, Yale University Press (2017). isbn 9780300125337
Administration, Economy and Finance
[แก้]- Allsen, Thomas T. (1987). Mongol Imperialism: The Policies of the Grand Qan Möngke in China, Russia, and the Islamic Lands, 1251-1259. University of California Press. ISBN 9780520055278.
- Thomas, Allsen. (1989). Mongolian Princes and Their Merchant Partners, 1200-1260. Asia Major, 2(2), third series, 83-126. Retrieved November 3, 2020, from http://www.jstor.org/stable/41645437
- Badarch, Nyamaa (2005). The Coins of Mongol Empire and Clan Tamgha of Khans (XIII - XIV [Centuries]). Ulaanbaatar. ISBN 9789992904237.
- Ciocîltan, Virgil (2012). The Mongols and the Black Sea Trade in the Thirteenth and Fourteenth Centuries. Brill. ISBN 978-90-04-22666-1.
- Enkhbold, Enerelt. (2019). "The role of the ortoq in the Mongol Empire in forming business partnerships", Central Asian Survey, 38:4, 531-547, DOI: 10.1080/02634937.2019.1652799
- Endicott-West, Elizabeth (1989). Mongolian Rule in China: Local Administration in the Yuan Dynasty. Harvard University Asia Center. ISBN 9780674585256.
- Kim, Hodong. "The Unity of the Mongol Empire and Continental Exchange over Eurasia," Journal of Central Eurasian Studies 1 (2009): 15–42.
- Kolbas, Judith (2006). The Mongols in Iran: Chingiz Khan to Uljaytu, 1220-1309. Routledge. ISBN 9780700706679.
- Lambton, Ann, K.S. (1988). Continuity and Change in Medieval Persia: Aspects of the Administrative Econmic and Social History, 11th-14th Century. SUNY Press. ISBN 9780887061332.
- Lane, George (2003). Early Mongol Rule in Thirteenth-Century Iran: A Persian Renaissance. Routledge. ISBN 978-0415297509.
- Ostrowsk, David (2010). Muscovy and the Mongols: Cross-Cultural Influences on the Steppe Frontier, 1304-1589. Cambridge University Press. ISBN 978-0521894104.
- Prajakti, Kalra (2018). The Silk Road and the Political Economy of the Mongol Empire. Routledge. ISBN 9780415786997.
- Vogel, Hans-Ulrich (2012). Marco Polo Was in China: New Evidence from Currencies, Salts and Revenues. Brill. ISBN 9789004231931..
- Schurmann, Herbert (1956). Economic Structure of the Yüan Dynasty. Translation of Chapters 93 and 94 of the Yüan shih. Harvard University Press. ISBN 978-0674432925.
- Schurmann, Herbert. (1956). "Mongolian Tributary Practices of the Thirteenth Century," Harvard Journal of Asiatic Studies, 19(3/4), 304-389. doi:10.2307/2718506
- Smith, John (1970). "Mongol and Nomadic Taxation," Harvard Journal of Asiatic Studies, 30, 46-85. doi:10.2307/2718765
Culture, Arts and Science
[แก้]- Allsen, Thomas (1997). Commodity and Exchange in the Mongol Empire: A Cultural History of Islamic Textiles. Cambridge University Press. ISBN 9780521583015.
- Allsen, Thomas (2009). Culture and Conquest in Mongol Eurasia. Cambridge University Press. ISBN 9780511497445.
- Biran, Michal (ed.). (2019). Mobility Transformations and Cultural Exchange in Mongol Eurasia, Journal of the Economic and Social History of the Orient 62(2-3).
- Blair, Sh. Muslim-style Mausolea across Mongol Eurasia: Religious Syncretism, Architectural Mobility and Cultural Transformation, pp. 318–355
- Jackson, P. Reflections on the Islamization of Mongol Khans in Comparative Perspective, pp. 356-387
- Yang, Q. Like Stars in the Sky: Networks of Astronomers in Mongol Eurasia, pp. 388–427
- Biran, M. Libraries, Books, and Transmission of Knowledge in Ilkhanid Baghdad, pp. 464-502
- Buell, Paul (2010). A Soup for the Qan: Chinese Dietary Medicine of the Mongol Era As Seen in Hu Sihui's Yinshan Zhengyao. Brill. ISBN 978-90-47-44470-1.
- Kadoi, Yuka (2009). Islamic Chinoiserie: The Art of Mongol Iran. Edinburgh University Press. ISBN 978-0748635825.
- Pfeiffer, Judith (2014). Politics, Patronage and the Transmission of Knowledge in 13th–15th Century Tabriz. Brill. ISBN 978-90-04-26257-7.
- Prazniak, Roxann (2019). Sudden Appearances: The Mongol Turn in Commerce, Belief, and Art. University of Hawaii Press. ISBN 978-0824876579.
- “Islamic and Chinese Astronomy under the Mongols: a Little-Known Case of Transmission”, in : Yvonne Dold-Samplonius, Joseph W. Dauben, Menso Folkerts & Benno van Dalen, éds., From China to Paris. 2000 Years Transmission of Mathematical Ideas. Series: Boethius 46, Stuttgart (Steiner), 2002, pp. 327-356.
- Weatherford, Jack (2004). Genghis Khan and the Making of the Modern World. Crown and Three Rivers Presss. ISBN 0-609-80964-4.
Institutions
[แก้]- Allsen, Thomas T. (1986). Guard and Government in the Reign of The Grand Qan Möngke, 1251-59. Harvard Journal of Asiatic Studies, 46(2), 495-521. doi:10.2307/2719141
- Allsen, Thomas T. (2011). "Imperial Posts, West, East and North: A Review Article: Adam J. Silverstein, Postal Systems in the Pre-Modern Islamic Morld," Archivum Eurasiae Medii Aevi, 17:1, 237-76
- Atwood, Christopher P. "Ulus Emirs, Keshig Elders, Signatures, and Marriage Partners: The Evolution of a Classic Mongol Institution," Imperial Statecraft: Political Forms and Techniques of Governance in Inner Asia, Sixth-Twentieth Centuries, (ed.) Sneath, D. (Bellington WA, 2006), pp. 141–174 Google Scholar.
- Jackson, Peter. "YĀSĀ," Encyclopædia Iranica, online edition, 2013, available at http://www.iranicaonline.org/articles/yasa-law-code (accessed on 20 September 2016)
- Munkuyev, N.Ts. (1977). A NEW MONGOLIAN P'AI-TZŬ FROM SIMFEROPOL. Acta Orientalia Academiae Scientiarum Hungaricae, 31(2), 185-215. Retrieved November 9, 2020, from http://www.jstor.org/stable/23682673
- Ostrowski, Donald. The tamma and the Dual-Administrative Structure of the Mongol Empire Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London, vol. 61, no 2, 1998, p. 262-277 doi: 10.1017/S0041977X0001380X
- Vasary, Istvan. (1976). THE GOLDEN HORDE TERM DARUĠA AND ITS SURVIVAL IN RUSSIA. Acta Orientalia Academiae Scientiarum Hungaricae, 30(2), 187-197. Retrieved November 9, 2020, from http://www.jstor.org/stable/23657271
Biography, society and gender
[แก้]- Biran, Michal (ed.) (2017). In the Service of the Khans: Elites in Transition in Mongol Eurasia. Asiatische Studien 71(4). ISBN 9781108347990.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Biran, Michal, Jonathan Brack & Francesca Fiaschetti (ed.). Along the Silk Roads in Mongol Eurasia: Generals, Merchants, and Intellectuals. Univ of California Press, 2020
- Broadbridge, Anne (2018). Women and the Making of the Mongol Empire. Cambridge University Press. ISBN 9781108347990.
- Paul Buell, “Some Royal Mongol Ladies: Alaqa-beki, *Ergene-Qatun and Others,” World History Connected, 2010
- Lane, George (2009). Daily Life in the Mongol Empire. Hackett Publishing Company. ISBN 978-0872209688.
- In the service of the Khan. Eminent personalities of the early Mongol-Yüan period (1200–1300). (ed.) Igor de Rachewiltz, Hok-Lam Chan, Ch'i-Ch'ing Hsiao and Peter W. Geier (Wiesbaden, Harrassowitz Verlag, 1993)
- McLynn, Frank (2016). Genghis Khan: His Conquests, His Empire, His Legacy. Da Capo Press. ISBN 978-0306825170.
- Ratchnevsky, Paul (1993). Genghis Khan: His Life and Legacy. Wiley-Blackwell. ISBN 978-0631189497.
- Rossabi, Morris (1988). Khubilai Khan: His Life and Times. University of California Press. ISBN 978-0306825170.
- Weatherford, Jack (2011). The Secret History of the Mongol Queens: How the Daughters of Genghis Khan Rescued His Empire. Broadway Books. ISBN 978-0307407160.
Diplomatic and military
[แก้]- Amitai-Preiss, Reuven (1995). Mongols and Mamluks: The Mamluk-Ilkhanid War, 1260–1281 (Cambridge Studies in Islamic Civilization). Cambridge: Cambridge University Press. https://doi.org/10.1017/CBO9780511563485
- Dashdondog, Bayarsaikhan (2011). The Mongols and the Armenians (1220–1335). Leiden: Brill. DOI: https://doi.org/10.1163/9789004192119
- Fiaschetti, Francesca (ed.). (2019). Diplomacy in the Age of Mongol Globalization, Eurasian Studies 17(2)
- Halperin, Charles (1988). Russia and The Golden Horde (Pennsylvania: Indiana University Press)
- Henthorn, W.E. (1963). Korea: the Mongol invasions (Leiden: Brill)
- Hsiao, Chi-chi'ng (1978). The Military Establishment of the Yuan Dynasty (Cambridge: Harvard University Press)
- Jackson, Peter. (2005). The Mongols and the West, 1221–1410 (Harlow and New York: Pearson Longman)
- May, Timothy (2007). The Mongol Art of War: Chinggis Khan and the Mongol Military System (Yardley: Westholme Publishing)
- Vernadsky, George (1953). The Mongols and Russia (New Haven: Yale University Press)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Genghis Khan and the Mongols
- The Mongol Empire
- Mongols
- The Mongols in World History
- The Mongol Empire for students เก็บถาวร 2020-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Paradoxplace Insight Pages on the Mongol Emperors
- William of Rubruck's Account of the Mongols
- Mongol invasion of Rus (pictures)
- Worldwide Death Toll
- Neumann, Iver B.; Wigen, Einar. "Remnants of the Mongol imperial tradition" (PDF). The London School of Economics and Political Science.
- Mongol Empire Google Earth[ลิงก์เสีย]
- บทความที่รอการตรวจลิขสิทธิ์ด้วยบอต
- ประวัติศาสตร์มองโกล
- จักรวรรดิ
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 13
- สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 14
- มองโกล
- จักรวรรดิมองโกล
- รัฐสิ้นสภาพในเอเชียกลาง
- รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป
- รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย
- รัฐสิ้นสภาพในประวัติศาสตร์จีน
- บทความเกี่ยวกับ ประเทศและเขตการปกครอง ที่ยังไม่สมบูรณ์
- รัฐสิ้นสภาพในประวัติศาสตร์มองโกล
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศรัสเซีย
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศจีน
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศมองโกเลีย