ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน

พิกัด: 51°30′50.40″N 0°07′0.12″W / 51.5140000°N 0.1167000°W / 51.5140000; -0.1167000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก London School of Economics)
วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
ตราสัญญาลักษณ์ของวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
คติพจน์ละติน: Rerum cognoscere causas
คติพจน์อังกฤษ
"To Know the Causes of Things"
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนา1895
ทุนทรัพย์£119.2m ( 31 กรกฎาคม 2016)
นายกสภาฯAlan Elias
อธิการบดีHRH The Princess Royal (as Chancellor of the University of London)
อธิบดีจูเลีย แบลค์
VisitorThe Rt Hon David Lidington
As Lord President of the Council ex officio
อาจารย์1,655 (2015/16)[1]
ผู้ศึกษา10,440 (2015/16)[2]
ปริญญาตรี4,700 (2015/16) [2]
บัณฑิตศึกษา5,740 (2015/16)[2]
ที่ตั้ง
ลอนดอน
,
สหราชอาณาจักร

51°30′50″N 0°07′00″W / 51.51389°N 0.11667°W / 51.51389; -0.11667
วิทยาเขตUrban
Newspaperเดอะ บีเวอร์
สีม่วง ดำ และทอง[3]
            
เครือข่ายACU, CEMS, EUA, G5, Russell Group, มหาวิทยาลัยลอนดอน, Universities UK, Golden Triangle
มาสคอต
บีเวอร์
เว็บไซต์lse.ac.uk

วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (อังกฤษ: The London School of Economics and Political Science) หรือที่รู้จักในชื่อย่อว่า แอลเอสอี (LSE - London School of Economics) เป็นหนึ่งในวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยลอนดอน โดยเป็นสถาบันเฉพาะทางสายสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์ อันดับ 1 ในสหราชอาณาจักรและทวีปยุโรป และเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยการจัดอันดับมาตรฐานมหาวิทยาลัยโลกจากคอกโครัลลีไซมอนส์ โดยแอลเอสอีมีห้องสมุดด้านสังคมศาสตร์ การเมือง และ การปกครองที่ใหญ่ที่สุดในโลกและยังเป็นสถาบันแห่งแรกของโลกที่คิดค้นหลักสูตรและเปิดสอนวิชาด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่ปัจจุบันมีสอนในเกือบทุกมหาวิทยาลัย เช่น มานุษยวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคมวิทยา และนโยบายและการวางแผนสังคม ผู้นำประเทศและองค์กรนานาชาติจำนวนมากก็ได้รับการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ อาทิ จอห์น เอฟ. เคนเนดี และ ลี กวนยู อีกทั้งนักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย ป๋วย อึ้งภากรณ์ ปัจจุบันมีประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่าไม่ต่ำกว่า 34 คน นอกจากนี้ยังมีนักเรียนและบุคลาการจากแอลเอสอีได้รับรางวัลโนเบลจำนวน 18 คน[4] ปัจจุบัน อธิการบดี ของแอลเอสอีคือ เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ พระวรราชกุมารี พระราชธิดาใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และมี เซอร์ ฮาวเวิร์ด เดวีส์ (รองผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติอังกฤษ) เป็นผู้อำนวยการ

แอลเอสอีมีอัตราส่วนการรับนักเรียนเข้าศีกษาเพียง 5 ต่อ 100 คน ระดับปริญญาตรี และต่ำถึง 3 ต่อ 100 คน ในบางคณะระดับปริญญาโท[5] จึงถูกจัดว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ารับการศึกษาได้ยากที่สุดในสหราชอาณาจักร ได้มีอัตราการแข่งขันจำนวนผู้สมัครและจำนวนที่เปิดรับที่สูงกว่า มหาวิทยาลัยอื่นๆทั้งหมดในสหราชอาณาจักร รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่รู้จักกันดีในประเทศไทย อย่างเคมบริดจ์และออกซฟอร์ด การจบการศึกษานั้นถือว่ามีมาตรฐานที่สูงและได้รับการยอมรับทั่วโลก นักศึกษาที่จบจากสถาบันแห่งนี้ได้รับการจัดอันดับอัตราเงินเดือนสูงสุดเมื่อเทียบกับนักศึกษาที่จบจากสถาบันอื่นๆทั้งหมดในสหราชอาณาจักร[6]

แต่ละปีแอลเอสอียังมีการบรรยายและกิจกรรมทางวิชาการจำนวนมากที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสามารถติดตามการบรรยายได้ทางพอดแคสต์[7]

บุคคลสำคัญที่ได้รับการศึกษาจากแอลเอสอี

[แก้]

ชาวไทย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Table 1: Staff by HE provider, academic contract marker and mode of employment". Higher Education Statistics Agency. สืบค้นเมื่อ 16 March 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 แม่แบบ:HESA citation
  3. "Woolen Scarf with Crest Embroidery". LSE Students' Union. สืบค้นเมื่อ 15 January 2017.
  4. http://www.lse.ac.uk/about-lse/lse-people
  5. [1], Programmes and Admissions
  6. http://www.independent.co.uk/student/news/london-school-of-economics-graduates-are-earning-more-than-those-from-any-other-uk-university-a6982456.html
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-05.
  8. www.polsci.chula.ac.th http://www.polsci.chula.ac.th/?lecturer=%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%94%E0%B8%A3-%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-10. สืบค้นเมื่อ 2014-05-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


51°30′50.40″N 0°07′0.12″W / 51.5140000°N 0.1167000°W / 51.5140000; -0.1167000{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้