สุริยุปราคา 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563
สุริยุปราคา 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | |
---|---|
คราสวงแหวนในเทศมณฑลยฺหวินหลิน ไต้หวัน | |
ประเภท | |
ประเภท | วงแหวน |
แกมมา | 0.1209 |
ความส่องสว่าง | 0.9940 |
บดบังมากที่สุด | |
ระยะเวลา | 38 วินาที (0 นาที 38 วินาที) |
พิกัด | 30°30′N 79°42′E / 30.5°N 79.7°E |
ความกว้างของเงามืด | 21 กิโลเมตร |
เวลา (UTC) | |
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน | 03:45:33 |
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด | 04:47:38 |
บดบังมากที่สุด | 06:41:15 |
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด | 08:30:55 |
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน | 09:33:57 |
แหล่งอ้างอิง | |
แซรอส | 137 (36 จาก 70) |
บัญชี # (SE5000) | 9553 |
สุริยุปราคาวงแหวนเกิดขึ้นในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาวงแหวนเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมปรากฏของดวงจันทร์ มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงส่วนมากจากดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงอาทิตย์มีลักษณะเหมือนแผ่นวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวนจะปรากฏสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร
สภาพมองเห็นได้
[แก้]ศูนย์กลางของคราสจะผ่านบางส่วนของทวีปแอฟริกา ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศคองโก และประเทศเอธิโอเปีย ในทวีปเอเชีย ได้แก่ ตอนใต้ของประเทศปากีสถาน ตอนเหนือของประเทศอินเดีย และประเทศจีน[1] ส่วนประเทศไทยเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน[2]
อุปราคาที่เกี่ยวข้อง
[แก้]อุปราคาในปี พ.ศ. 2563
[แก้]- จันทรุปราคาเงามัว 10 มกราคม พ.ศ. 2563
- จันทรุปราคาเงามัว 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563
- สุริยุปราคาวงแหวน 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563
- จันทรุปราคาเงามัว 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
- จันทรุปราคาเงามัว 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
- สุริยุปราคาเต็มดวง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ทีโซลคิเนกซ์
[แก้]- ก่อนหน้า: สุริยุปราคา 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
- ถัดไป: สุริยุปราคา 2 สิงหาคม พ.ศ. 2570
วงรอบครึ่งแซรอส
[แก้]- ก่อนหน้า: จันทรุปราคา 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554
- ถัดไป: จันทรุปราคา 26 มิถุนายน พ.ศ. 2572
ตริโตส
[แก้]- ก่อนหน้า: สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
- ถัดไป: สุริยุปราคา 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2574
ชุดแซรอสดวงอาทิตย์ 137
[แก้]- ก่อนหน้า: สุริยุปราคา 10 มิถุนายน พ.ศ. 2545
- ถัดไป: สุริยุปราคา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2581
อีเนกซ์
[แก้]- ก่อนหน้า: สุริยุปราคา 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
- ถัดไป: สุริยุปราคา 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2592
ชุดสาม
[แก้]- ก่อนหน้า: สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2476
- ถัดไป: สุริยุปราคา 23 เมษายน พ.ศ. 2650
สุริยุปราคา พ.ศ. 2561–2564
[แก้]อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[3]
หมายเหตุ: สุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 และ 11 สิงหาคม 2561 เกิดขึ้นระหว่างชุดเทอมก่อนหน้า
ชุดอนุกรมสุริยุปราคา ระหว่าง พ.ศ. 2561–2564 | ||||
---|---|---|---|---|
โหนดขึ้น | โหนดลง | |||
แซรอส | แผนที่ | แซรอส | แผนที่ | |
117 เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย |
13 กรกฎาคม 2561 บางส่วน |
122 นาโคตา ประเทศรัสเซีย |
6 มกราคม 2562 บางส่วน | |
127 ลาเซเรนา ประเทศชิลี |
2 กรกฎาคม 2562 เต็มดวง |
132 นิลัมบูร์ ประเทศอินเดีย |
26 ธันวาคม 2562 วงแหวน | |
137 | 21 มิถุนายน 2563 วงแหวน |
142 | 14 ธันวาคม 2563 เต็มดวง | |
147 | 10 มิถุนายน 2564 วงแหวน |
152 | 4 ธันวาคม 2564 เต็มดวง |
แซรอส 137
[แก้]อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 137 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 70 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 1932 (ค.ศ. 1389) สุริยุปราคาเต็มดวงเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2076 (ค.ศ. 1533) จนถึงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2238 (ค.ศ. 1695) สุริยุปราคาผสมชุดแรกเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2256 (ค.ศ. 1713) จนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347 (ค.ศ. 1804) สุริยุปราคาวงแหวนชุดแรกเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) จนถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) สุริยุปราคาผสมชุดที่สองเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1894) จนถึงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) สุริยุปราคาวงแหวนชุดที่สองเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) จนถึงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 3050 (ค.ศ. 2507) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วนวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 3176 (ค.ศ. 2633) โดยคราสเต็มดวงนานที่สุดของชุดแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) ที่ระยะเวลา 2 นาที 55 วินาที แซรอสนี้มีสุริยุปราคาที่เงามืดสัมผัสพื้นผิวโลกจำนวนทั้งสิ้น 55 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2076 จนถึงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 3050 กินระยะเวลา 973.62 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาเกือบ 1 สหัสวรรษ ส่วนระยะเวลารวมทั้งสิ้นของแซรอสนี้คือ 1,244.08 ปี[4]
สมาชิกของชุดแซรอสลำดับที่ 30–40 ระหว่างปี พ.ศ. 2444 ถึง 2643 | ||
---|---|---|
30 | 31 | 32 |
17 เมษายน 2455 |
28 เมษายน 2473 |
9 พฤษภาคม 2491 |
33 | 34 | 35 |
20 พฤษภาคม 2509 |
30 พฤษภาคม 2527 |
10 มิถุนายน 2545 |
36 | 37 | 38 |
21 มิถุนายน 2563 |
2 กรกฎาคม 2581 |
12 กรกฎาคม 2599 |
39 | 40 | |
24 กรกฎาคม 2617 |
3 สิงหาคม 2635 |
ชุดอีเนกซ์
[แก้]อุปราคานี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบอีเนกซ์คาบยาว ซึ่งเกิดเหตุการณ์ซ้ำที่โหนดอันสลับกัน ทุก ๆ 358 เดือนจันทรคติ (≈ 10,571.95 วัน หรือ 29 ปี ลบ 20 วัน) การปรากฎและลองจิจูดของพวกมันไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากขาดการประสานกันกับเดือนแอโนมาลิสติก (เดือนที่ยาวกว่าเดือนดาราคติ เพราะจุดใกล้ที่สุดเคลื่อนไปในทางเดียวกันกับวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก) อย่างไรก็ตาม การจับกลุ่มของวงรอบอีเนกซ์ 3 วงรอบ (≈ 87 ปี ลบ 2 เดือน) ที่เข้ามาใกล้กัน (≈ 1,151.02 เดือนแอโนมาลิสติก) ทำให้อุุปราคาจะมีลักษณะที่คล้ายกันในกลุ่มเหล่านี้ ในศตวรรษที่ 18:
- แซรอสดวงอาทิตย์ที่ 127: สุริยุปราคาเต็มดวง 8 มกราคม 2274
- แซรอสดวงอาทิตย์ที่ 128: สุริยุปราคาวงแหวน 19 ธันวาคม 2302
- แซรอสดวงอาทิตย์ที่ 129: สุริยุปราคาวงแหวน 27 พฤศจิกายน 2331
สมาชิกชุดอีเนกซ์ระหว่างปี 2344 ถึง 2743: | ||
---|---|---|
ใกล้จุดใกล้โลกสุดของดวงจันทร์ | หลังจุดใกล้โลกสุดของดวงจันทร์ | ก่อนจุดไกลโลกสุดของดวงจันทร์ |
9 พฤศจิกายน 2360 (แซรอสที่ 130) |
20 ตุลาคม 2389 (แซรอสที่ 131) |
29 กันยายน 2418 (แซรอสที่ 132) |
9 กันยายน 2447 (แซรอสที่ 133) |
21 สิงหาคม 2476 (แซรอสที่ 134) |
31 กรกฎาคม 2505 (แซรอสที่ 135) |
11 กรกฎาคม 2534 (แซรอสที่ 136) |
21 มิถุนายน 2563 (แซรอสที่ 137) |
31 พฤษภาคม 2592 (แซรอสที่ 138) |
11 พฤษภาคม 2621 (แซรอสที่ 139) |
23 เมษายน 2650 (แซรอสที่ 140) |
1 เมษายน 2679 (แซรอสที่ 141) |
12 มีนาคม 2708 (แซรอสที่ 142) |
21 กุมภาพันธ์ 2737 (แซรอสที่ 143) |
ในศตวรรษที่ 23:
- แซรอสดวงอาทิตย์ที่ 144: สุริยุปราคาวงแหวน 1 กุมภาพันธ์ 2766
- แซรอสดวงอาทิตย์ที่ 145: สุริยุปราคาวงแหวน 12 มกราคม 2795
- แซรอสดวงอาทิตย์ที่ 146: สุริยุปราคาวงแหวน 22 ธันวาคม 2823
ชุดเมตอน
[แก้]ชุดเมตอนการวนซ้ำของอุปราคาทุก ๆ 19 ปี (6939.69 วัน) สุดท้ายประมาณ 5 วัฏจักร โดยอุปราคาเกิดขึ้นในวันอันใกล้เคียงกันในปฏิทิน ในการเพิ่มขึ้นของตัวรองอนุกรมออคตอน ซึ่งวนซ้ำ 1/5 ของนั้นหรือทุก ๆ 3.8 ปี (1387.94 วัน) ทุกอุปราคาในตารางนี้เกิดขึ้นที่โหนดขึ้นของดวงจันทร์
21 เหตุการณ์อุปราคา ระหว่าง 21 มิถุนายน 2525 ถึง 21 มิถุนายน 2601 | ||||
---|---|---|---|---|
21 มิถุนายน | 8-9 เมษายน | 26 มกราคม | 13-14 พฤษภาคม | 1-2 กันยายน |
117 | 119 | 121 | 123 | 125 |
21 มิถุนายน 2525 |
8 เมษายน 2529 |
26 มกราคม 2533 |
13 พฤศจิกายน 2536 |
2 กันยายน 2540 |
127 | 129 | 131 | 133 | 135 |
21 มิถุนายน 2544 |
8 เมษายน 2548 |
26 มกราคม 2552 |
13 พฤศจิกายน 2555 |
1 กันยายน 2559 |
137 | 139 | 141 | 143 | 145 |
21 มิถุนายน 2563 |
8 เมษายน 2567 |
26 มกราคม 2571 |
14 พฤศจิกายน 2574 |
2 กันยายน 2578 |
147 | 149 | 151 | 153 | 155 |
21 มิถุนายน 2582 |
9 เมษายน 2586 |
26 มกราคม 2590 |
14 พฤศจิกายน 2593 |
2 กันยายน 2597 |
157 | ||||
21 มิถุนายน 2601 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Annular Solar Eclipse on June 21, 2020". www.timeanddate.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-26.
- ↑ สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2563
- ↑ van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
- ↑ http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros137.html
- solar-eclipse.de: The annular solar eclipse of 06/21/2020
- สถิติอุปราคาและแผนที่การมองเห็นบนโลก การทำนายอุปราคาโดยเฟรด เอสเปนาก นาซา/ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด
สุริยุปราคา | ||||
---|---|---|---|---|
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า: 26 ธันวาคม 2562 ( สุริยุปราคาวงแหวน) |
สุริยุปราคา 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | สุริยุปราคาครั้งถัดไป: 14 ธันวาคม 2563 ( สุริยุปราคาเต็มดวง) | ||
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งก่อนหน้า: 26 ธันวาคม 2562 |
สุริยุปราคาวงแหวน |
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งถัดไป: 10 มิถุนายน 2564 |