ข้ามไปเนื้อหา

สุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2558
แผนที่
ประเภท
ประเภทเต็มดวง
แกมมา0.9454
ความส่องสว่าง1.0445
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา2 นาที 47 วินาที
พิกัด64.4N 6.6W
ความกว้างของเงามืด463 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
บดบังมากที่สุด9:46:47
แหล่งอ้างอิง
แซรอส120
บัญชี # (SE5000)9541

เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 สุริยุปราคาเกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ฉะนั้นจึงขวางภาพดวงอาทิตย์ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่ผู้สังเกตบนโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงจันทร์ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงอาทิตย์ จึงสกัดแสงอาทิตย์โดยตรงทั้งหมด แล้วทำให้ความมืดปกคลุม คราสเต็มดวง (totality) เกิดในวิถีแคบผ่านพื้นผิวโลกโดยสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้เหนือภูมิภาคโดยรอบกว้างหลายพันกิโลเมตร

มีโชติมาตร (magnitude) 1.045 ช่วงเวลาคราสเต็มดวงนานที่สุด คือ 2 นาที 47 วินาที นอกหมู่เกาะแฟโร เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงสุดท้ายที่เห็นได้ในทวีปยุโรปจนอุปราคา 12 สิงหาคม พ.ศ. 2569[1]

การสังเกต

[แก้]

สุริยุปราคาเริ่มเกิดขึ้นในเวลา 08:30 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช ในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ และเคลื่อนต่อไปยังยุโรปตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ยังคงอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนใหญ่จะสังเกตเห็นได้จากทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอาร์กติก, กรีนแลนด์, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร, หมู่เกาะแฟโร, ทางตอนเหนือของนอร์เวย์ และเมอร์แมนสกายา บอลาสท์ โดยเงามืดจะเริ่มเคลื่อนผ่านทางชายฝั่งทางใต้ของกรีนแลนด์ จากนั้นจะเคลื่อนไปทางทางตะวันออกเฉียงเหนือผ่านระหว่างไอซ์แลนด์และสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะเคลื่อนผ่านหมู่เกาะแฟโรและหมู่เกาะทางตอนเหนือสุดของนอร์เวย์ เงาของคราสปรากฏอยู่ในองศาที่แตกต่างกันไปทั่วทวีปยุโรป[2] ตัวอย่างเช่น ลอนดอนเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน 85% ขณะที่จุดทางตอนเหนือสุดของหมู่เกาะแฟโรในทะเลนอร์วิเจียน เห็นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่สมบูรณ์[3]

ผลกระทบ

[แก้]

ในสหภาพยุโรป มีการส่งออกพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 90 กิกะวัตต์ ผลจากสุริยุปราคาทำให้การผลิดลดลงชั่วคราวได้ถึง 34 กิกะวัตต์ ขึ้นอยู่กับความชัดเจนของท้องฟ้า นี่เป็นครั้งแรกที่อุปราคามีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับระบบไฟฟ้าและภาคการผลิตไฟฟ้า

ความบังเอิญของเหตุการณ์

[แก้]

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558 เป็นวันวิษุวัตประจำเดือนมีนาคม (หรือรู้จักกันว่าฤดูใบไม้ผลิหรือวสันตวิษุวัตในซีกโลกเหนือ) นอกจากนี้วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558 ยังมีปรากฏการณ์ซูเปอร์มูน ครั้งที่สามจากหกครั้ง ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 อย่างไรก็ตามขณะนั้นเป็นจันทร์ดับ (หันด้านที่อยู่ใกล้ออกจากดวงอาทิตย์) และสามารถเห็นได้แค่เงาของมัน[4]

แบบจำลอง

[แก้]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. F. Espenak and Xavier Jubier. "NASA - Total Solar Eclipse of 2026 August 12". สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
  2. "Solar eclipse 2015 live: Britain to plunge into morning twilight as Moon blocks out Sun". Daily Telegraph. 20 March 2015. สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
  3. "Solar Eclipse: live updates". Guardian. 20 March 2015. สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
  4. "In 2015, first of six supermoons comes on January 20". สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]