สุริยุปราคา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
คราสเต็มดวงจากลาเซเรนา ประเทศชิลี
แผนที่
ประเภท
ประเภทเต็มดวง
แกมมา-0.6466
ความส่องสว่าง1.0459
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา273 วินาที (4 นาที 33 วินาที)
พิกัด17°24′S 109°00′W / 17.4°S 109°W / -17.4; -109
ความกว้างของเงามืด201 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
บดบังมากที่สุด19:24:08
แหล่งอ้างอิง
แซรอส127 (58 จาก 82)
บัญชี # (SE5000)9551

สุริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ด้วยแมกนิจูด 1.0459 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร แนวคราสจะมองเห็นได้ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกของนิวซีแลนด์ ไปจนถึงแคว้นโกกิมโบในชิลีและอาร์เจนตินาขณะดวงอาทิตย์ตก ซึ่งจุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยจะเห็นเป็นเวลา 4 นาที 32 วินาที

ภาพ[แก้]

ภาพเคลื่อนไหวแนวเส้นทาง
มุมมองการเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้จากดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า โดยดาวเทียม GOES-16 ของ NOAA นอกจากนั้นยังมีพายุเฮอริเคนบาร์บาราซึ่งปรากฏบริเวณซีกโลกเหนือด้วย

สภาพมองเห็นได้[แก้]

สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร

สืบเนื่องจากสุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ในทวีปอเมริกาเหนือ องค์กรนักดาราศาสตร์ไร้พรมแดน (Astronomers Without Borders) ได้รวบรวมแว่นสำหรับการสังเกตการณ์อุปราคาเพื่อแจกจ่ายไปยังละตินอเมริกาและเอเชียสำหรับสุริยุปราคาในปี 2562[1]

คราสเต็มดวงเดินทางผ่านในพื้นที่ที่มีความชื้นและมลภาวะทางแสงในระดับต่ำ ซึ่งทำให้เอื้อต่อการสังเกตการณ์อย่างดีเยี่ยม หอดูดาวหลายขนาดใหญ่แห่งอยู่ในแนวคราสเต็มดวง รวมไปถึงหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปด้วย[2][3]

เกาะโออีโน[แก้]

พื้นผิวแผ่นดินแรกและแห่งเดียวในบรรดาเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกที่สามารถสังเกตคราสเต็มดวงได้ คือ เกาะโออีโน ซึ่งเป็นอะทอลล์ไม่มีคนอยู่อาศัยในหมู่เกาะพิตแคร์น[3]

ชิลี[แก้]

คราสเต็มดวงส่วนใหญ่สามารถสังเกตเห็นได้ในแคว้นโกกิมโบและส่วนเล็ก ๆ ของแค้วนอาตากามา เมืองในแนวเส้นทางประกอบด้วยลาเซเรนาและลาอีเกรา โดยมีผู้เข้าร่วมชมปรากฏการณ์ในเมืองลาเซเรนาถึงประมาณ 300,000 คน[2] ขณะที่หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปจำหน่ายตั๋วสำหรับเข้าชมสุริยุปราคาในราคา 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน[3]

อาร์เจนตินา[แก้]

คราสเต็มดวงสามารถมองเห็นได้ในรัฐซานฆวน รัฐลาริโอฆา รัฐซานลุยส์ รัฐกอร์โดบา รัฐซานตาเฟ รัฐบัวโนสไอเรส[3]

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

สุริยุปราคา พ.ศ. 2561–2564[แก้]

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[4]

หมายเหตุ: สุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 และ 11 สิงหาคม 2561 เกิดขึ้นระหว่างชุดเทอมก่อนหน้า

ซารอส 127[แก้]

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 127 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 82 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1534 (ค.ศ. 991) ชุดแซรอสนี้มีสุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 1895 (ค.ศ. 1352) จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2634 (ค.ศ. 2091) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2995 (ค.ศ. 2452) คราสเต็มดวงนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2075 (ค.ศ. 1532) ที่เวลา 5 นาที 40 วินาที[5]

ชุดเมตอน[แก้]

ชุดเมตอนการวนซ้ำของอุปราคาทุก ๆ 19 ปี (6939.69 วัน) สุดท้ายประมาณ 5 วัฏจักร โดยอุปราคาเกิดขึ้นในวันอันใกล้เคียงกันในปฏิทิน ในการเพิ่มขึ้นของตัวรองอนุกรมออคตอน ซึ่งวนซ้ำ 1/5 ของนั้นหรือทุก ๆ 3.8 ปี (1387.94 วัน)

อ้างอิง[แก้]

  1. Cooper, Gael (2017-08-22). "Wait! Dig those eclipse glasses out of the garbage Here comes the sun. Astronomers Without Borders will be collecting the protective eyewear for use in future eclipses worldwide". สืบค้นเมื่อ 2017-08-27.
  2. 2.0 2.1 "Total solar eclipse: thousands in Chile and Argentina marvel at 'something supreme'". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-07-02. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-07-02.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Total solar eclipse hits South America". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-07-02. สืบค้นเมื่อ 2019-07-02.
  4. van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  5. http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros127.html
สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
6 มกราคม 2562
(สุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาบางส่วน)
สุริยุปราคา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
26 ธันวาคม 2562
(สุริยุปราคาวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวน)
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งก่อนหน้า:
21 สิงหาคม 2560
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป:
14 ธันวาคม 2563